ดีครับดอทคอม

ดีครับดอทคอม

วิธีลบข้อมูลที่ซ้ำกันอย่างรวดเร็วใน Excel ด้วยคำสั่ง Remove Duplicates

วิธีลบข้อมูลที่ซ้ำกันอย่างรวดเร็วใน Excel ด้วยคำสั่ง Remove Duplicates

ใน Excel เราสามารถใช้คำสั่ง Remove Duplicates เพื่อลบข้อมูลที่ซ้ำกันได้อย่างรวดเร็ว จากรูปด้านบน เรามีข้อมูลซ้ำกันอยู่จำนวนหนึ่ง เราสามารถให้ Excel ลบข้อมูลที่ซ้ำกันออกได้ด้วยวิธีดังนี้ หน้าต่าง Remove Duplicates จะถูกเปิดขึ้นมา Excel แจ้งว่า มีข้อมูลซ้ำอยู่กี่แถวและได้ลบออกไปแล้ว คงเหลือข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันอยู่กี่แถว คลิกปุ่ม OK ไป ก็จะเหลือเฉพาะข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน

วิธีรวมข้อมูลจากหลาย ๆ เซลล์มาไว้ในเซลล์เดียวกัน ใน Excel

วิธีรวมข้อมูลจากหลาย ๆ เซลล์มาไว้ในเซลล์เดียวกัน ใน Excel

เราสามารถเชื่อมข้อมูลหลาย ๆ เซลล์เข้าด้วยกัน โดยการใชัเครื่องหมาย & โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่างการใช้งาน จากรูปตัวอย่าง เราต้องการน้ำข้อมูล ปีที่เข้าทำงาน และ หมายเลข มาต่อกัน โดยคั่นด้วย – เช่น 2010-1452 โดยแสดงผลที่คอลัมน์ G สามารถทำได้โดยการเขียนสูตรดังนี้ จากสูตร หมายความว่า ให้เอาข้อมูลจากเซลล์ E2 มาต่อด้วยเครื่องหมาย – แล้วก็ต่อด้วยข้อมูลจากเซลล์ F2 ผลลัพธ์ เมื่อคัดลอกสูตรไปยังทุกเซลล์ที่ต้องการก็จะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์

ตัดเอาเฉพาะข้อมูลด้านขวาของเซลล์ด้วยฟังก์ชัน RIGHT() ใน Excel

ตัดเอาเฉพาะข้อมูลด้านขวาของเซลล์ด้วยฟังก์ชัน RIGHT() ใน Excel

เราสามารถตัดเอาเฉพาะข้อมูลด้านขวาของเซลล์ โดยการใช้ฟังก์ชัน RIGHT() โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่างการใช้งาน จากภาพตัวอย่าง ข้อมูล 4 ตัวหลัง เป็นหมายเลขพนักงาน เราต้องการนำข้อมูล 4 ตัวนี้มาแสดงที่คอลัมน์ F (หมายเลข) สามารถทำได้โดยเขียนสูตรดังนี้ จากสูตร เป็นการใช้ฟังก์ชัน RIGHT() เพื่อดึงเอาข้อมูลทางขวาของเซลล์ B2 โดยเอามาเพียง 4 ตัวอักษร ก็คือเอาข้อมูล 4 ตัวสุดท้ายมานั่นเอง ผลลัพธ์ เมื่อคลิกลากคัดลอกสูตรให้ครบทุกเซลล์ก็จะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์

ตัดเอาเฉพาะข้อมูลด้านซ้ายของเซลล์ใน Excel ด้วยฟังก์ชัน LEFT()

ตัดเอาเฉพาะข้อมูลด้านซ้ายของเซลล์ใน Excel ด้วยฟังก์ชัน LEFT()

ถ้าเราต้องการข้อมูลเพียงบางส่วนจากเซลล์ เช่น ต้องการข้อมูล 4 ตัวอักษรแรกของเซลล์ เราสามารถใช้ฟังก์ชัน LEFT() มาช่วยในการตัดเอาข้อความเฉพาะด้านซ้ายของเซลล์ได้ โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่างการใช้งาน จากภาพตัวอย่าง รหัสพนักงาน 4 ตัวแรก เป็นปีที่เข้าทำงาน เราต้องการดึงเอาข้อมูล 4 ตัวแรกนี้ไปไว้ในคอลัมน์ ปีที่เข้าทำงาน สามารถทำได้ดังนี้ เขียนสูตรที่เซลล์ E2 ดังนี้ จากสูตร เป็นการใชัฟังก์ชัน LEFT() ไปดึงเอาข้อความจากเซลล์ B2 โดยเอามาแค่ 4 ตัวแรกเท่านั้น ผลลัพธ์ เมื่อคลิกลากคัดลอกสูตรก็จะได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์

วิธีแบ่งข้อมูลในคอลัมน์เดียวออกเป็นหลาย ๆ คอลัมน์ ด้วยคำสั่ง Text to Columns ใน Excel

วิธีแบ่งข้อมูลในคอลัมน์เดียวออกเป็นหลาย ๆ คอลัมน์ ด้วยคำสั่ง Text to Columns ใน Excel

ถ้ามีข้อมูลยาว ๆ อยู่ในคอลัมน์เดียว แต่มีการแยกข้อมูลชัดเจน เช่น แยกด้วยการเคาะเว้นวรรค แยกด้วยเครื่องหมายคอมม่า เป็นต้น เราสามารถแยกข้อมูลเหล่านั้นไปไว้ในคอลัมน์อื่นเพื่อความชัดเจนได้อย่างรวดเร็วด้วยคำสั่ง Text to Columns ดังตัวอย่าง เรามีข้อมูล ชื่อ สกุล อยู่ในคอลัมน์ B โดยข้อมูลชื่อและนามสกุล ถูกคั่นด้วยการเคาะเว้นวรรค เราต้องการแยกชื่อและนามสกุลออกไปอยู่คนละคอลัมน์ สามารถใช้คำสั่ง Text to Columns ช่วยได้ ดังนี้ หน้าต่าง Convert Text to Columns Wizard จะถูกเปิดขึ้นมา ข้อมูลตัวอย่างของเราคั่นด้วยการเคาะเว้นวรรค เพียงเท่านี้ ข้อมูลก็จะถูกแยกตามที่เราต้องการ

วิธีแยกข้อมูลใน Excel ด้วย Flash Fill

วิธีแยกข้อมูลใน Excel ด้วย Flash Fill

ถ้ามีข้อมูลยาว ๆ อยู่ในคอลัมน์เดียว แต่มีการแยกข้อมูลชัดเจน เช่น แยกด้วยการเคาะเว้นวรรค เราสามารถแยกข้อมูลเหล่านั้นไปไว้ในคอลัมน์อื่นเพื่อความชัดเจนได้อย่างรวดเร็วด้วยความสามารถของ Flash Fill ดังตัวอย่าง เรามีข้อมูลที่เป็นชื่อ-นามสกุล อยู่ในคอลัมน์ B แต่ต้องการแยกชื่อและนามสกุลไว้คนละคอลัมน์ สามารถใช้ความสามารถของ Flash Fill เข้ามาช่วยได้ดังนี้ ไม่กี่ขั้นตอนเราก็สามารถแยกข้อมูล ชื่อ ออกมาได้แล้ว ทีนี้ก็ทำเช่นเดียวกับคอลัมน์ นามสกุล แป๊บเดียวก็ได้ข้อมูล ชื่อ และ นามสกุล อยู่คนละคอลัมน์แล้วครับ

วิธีรวมข้อมูลอย่างรวดเร็วด้วย Flash Fill ใน Excel

วิธีรวมข้อมูลอย่างรวดเร็วด้วย Flash Fill ใน Excel

ถ้ามีข้อมูลที่แยก ๆ กันอยู่ในหลายคอลัมน์ และเราต้องการรวมข้อมูลเหล่านั้นไว้ในคอลัมน์เดียวกัน สามารถใช้ความสามารถของ Flash Fill กรอกข้อมูลอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ดังนี้ ในตัวอย่าง เรามีข้อมูล ชื่อ อยู่ในคอลัมน์ B และข้อมูลนามสกุล อยู่ในคอลัมน์ C และเราต้องการรวมชื่อและนามสกุลมาไว้ด้วยกันในคอลัมน์ D สามารถทำได้ดังนี้ เพียงแค่นี้เราก็จะได้ข้อมูลที่รวมอยู่ในคอลัมน์เดียวกันตามที่ต้องการ

วิธีสร้างลิสต์รายการ (Drop Down List) ใน Excel (แบบที่ 2)

วิธีสร้างลิสต์รายการ (Drop Down List) ใน Excel

วิธีสร้างลิสต์รายการ (Drop Down List) ใน Excel ในหัวข้อนี้จะใช้วิธีพิมพ์รายการตัวเลือกเข้าไปใน Source ตรง ๆ แทนที่จะสร้างลิสต์ไว้ในชีทเหมือนในหัวข้อก่อนหน้านี้ วิธีการทำมีดังนี้ เลือกพื้นที่ที่จะนำลิสต์รายการมาใช้ หน้าต่าง Data Validation จะถูกเปิดขึ้นมา พื้นที่ที่เราเลือกไว้ก็จะสามารถใช้งานลิสต์รายการ (Drop Down List) ตามต้องการ

วิธีสร้างลิสต์รายการ (Drop Down List) ใน Excel (แบบที่ 1)

วิธีสร้างลิสต์รายการ (Drop Down List) ใน Excel

ใน Excel เราสามารถสร้างลิสต์รายการ (Drop Down List) ไว้กรอกข้อมูลที่ต้องกรอกซ้ำบ่อย ๆ ได้ โดยมีวิธีการดังนี้ สร้างลิสต์รายการไว้ก่อน (สามารถสร้างไว้ที่ชีทอื่นได้) เลือกพื้นที่ที่จะนำลิสต์รายการมาใช้ หน้าต่าง Data Validation จะถูกเปิดขึ้นมา หน้าต่าง Data Validation จะถูกย่อให้เล็กลง หน้าต่าง Data Validation จะขยายใหญ่เท่าเดิม สังเกตที่หัวข้อ Source จะมีช่วงข้อมูลซึ่งอ้างอิงถึงข้อมูลในพื้นที่ที่เราได้สร้างไว้สำหรับการทำลิสต์รายการ ในพื้นที่ที่เรากำหนดไว้จะมีลิสต์รายการ (Drop Down List) ให้เราคลิกเลือกข้อมูลได้แล้ว

วิธีป้อนข้อมูลทีละหลายชีทพร้อมกันใน Excel

วิธีป้อนข้อมูลทีละหลายชีทพร้อมกันใน Excel

ถ้าเรามีข้อมูลที่ต้องการป้อนพร้อมกันทีละหลาย ๆ ชีท โดยทุก ๆ ชีทเป็นข้อมูลเดียวกัน เราสามารถพิมพ์ข้อมูลในชีทหนึ่งก่อนแล้วค่อยคัดลอกไปวางในชีทอื่น หรือคัดลอกชีทก็ทำได้ แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้นั่นคือการป้อนข้อมูลพร้อมกันทีละหลายชีท โดยมีวิธีการดังนี้ การทำแบบนี้เป็นการจัดกลุ่มชีท สังเกตบนแถบชื่อไฟล์จะมีคำว่า [Group] กำกับอยู่ เพียงแค่นี้เราก็จะได้ข้อมูลที่เหมือนกันในทุก ๆ ชีทที่เลือก

วิธีป้อนข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ เซลล์ ใน Excel

วิธีป้อนข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ เซลล์ ใน Excel

ถ้าเรามีข้อมูลที่ต้องการป้อนลงในหลาย ๆ เซลล์ โดยในทุก ๆ เซลล์เป็นข้อมูลเดียวกัน เราสามารถทำได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องไปคัดลอกข้อมูลให้เสียเวลา วิธีกรอกข้อมูลหลายเซลล์พร้อมกัน เพียงแค่นี้เราก็จะได้ข้อมูลเหมือนกันในทุก ๆ เซลล์ที่เลือกตามที่ต้องการ

วิธีกำหนดทิศทางการเลือกเซลล์เมื่อกดปุ่ม Enter ใน Excel

วิธีกำหนดทิศทางการเลือกเซลล์เมื่อกดปุ่ม Enter ใน Excel

โดยปกติใน Excel เมื่อเรากรอกข้อมูลที่เซลล์ใด ๆ แล้วกดปุ่ม Enter จะเป็นการเลื่อนไปยังเซลล์ถัดไปทางด้านล่างเพื่อรอรับการกรอกข้อมูล คือกดปุ่ม Enter แล้ว จะเป็นการเลื่อนไปยังเซลล์ด้านล่างเสมอนั่นเอง แต่เราสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าตรงนี้ได้ เช่น เราต้องการให้เลื่อนไปยังเซลล์ด้านซ้าย ด้านบน ด้านขวา หรือไม่ให้เลื่อนไปไหนเลยก็ทำได้ โดยมีวิธีการดังนี้ หน้าต่าง Excel Options จะถูกเปิดขึ้นมา ทีนี้เมื่อเรากดปุ่ม Enter ก็จะเป็นการเลื่อนไปยังเซลล์ด้านขวาถัดจากเซลล์ปัจจุบัน ถ้าไม่ต้องการให้เลื่อนไปที่เซลล์ไหนเลยหลังจากกดปุ่ม Enter ก็เพียงแค่ติ๊กเครื่องหมาย ✔ ออกจากตัวเลือก After pressing enter…

วิธีกำหนดรูปแบบการแสดงผล วัน เดือน ปี เป็นแบบไทย ใน Excel

วิธีกำหนดรูปแบบการแสดงผล วัน เดือน ปี เป็นแบบไทย ใน Excel

ใน Excel รูปแบบวันที่ (รวมทั้งตัวเลข) จะใช้ตามรูปแบบที่ถูกตั้งค่าไว้ใน Windows แต่เราสามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลของวันที่ตามที่เราต้องการได้ เช่น ต้องการให้แสดงผลวันที่แบบไทย สามารถทำได้ดังนี้ หน้าต่าง Format Cells จะถูกเปิดขึ้นมา จะได้ข้อมูลวันที่ที่แสดงผลตามรูปแบบที่ต้องการ แต่การตั้งค่าแบบนี้จะมีผลเฉพาะกับการแสดงผลเท่านั้นนะครับ เวลาแก้ไข เราต้องกรอกข้อมูลตามรูปแบบที่ใช้ใน Windows เหมือนเดิม ถ้าต้องการให้ Excel ใช้รูปแบบวันที่เป็นแบบไทยตั้งแต่เริ่มต้น ต้องไปตั้งค่ารูปแบบวันที่ใน Windows

วิธีซ่อนเส้นกริด Gridlines ใน Excel

วิธีซ่อนเส้นกริด Gridlines ใน Excel

ใน Excel จะมีเส้นกริด Gridlines สำหรับแบ่งแต่ละเซลล์แสดงให้เราเห็น เพื่อให้เราดูออกว่าข้อมูลอันไหนอยู่ในเซลล์ไหน แต่อาจมีบางกรณีที่เราไม่ต้องการให้เส้นกริดดังกล่าวแสดง เช่น เมื่อต้องการตรวจงานโดยที่ไม่มีเส้นกริดมาทำให้ตาลาย เป็นต้น เราสามาถซ่อนเส้นกริดได้ ด้วยวิธีดังนี้ เพียงแค่นี้เส้นกริดก็จะหายไปแล้ว และยังทำให้เราเห็นเซลล์ที่เราได้กำหนด Border เอาไว้แล้วจัดเจนขึ้นอีกด้วย ถ้าต้องการให้แสดงเส้นกริดเหมือนเดิม ก็ทำตามวิธีเดิม แล้วติ๊กเครื่องหมาย ✔ ที่หน้าตัวเลือก Gridlines เพียงแค่นี้เส้นกริดก็จะกลับมาแสดงเหมือนเดิมแล้วครับ

วิธีซ่อนหัวคอลัมน์ใน Excel

วิธีซ่อนหัวคอลัมน์ใน Excel

ใน Excel จะแสดงข้อมูลในรูปแบบ แถว และ คอลัมน์ ด้านบนจะมีพื้นที่สำหรับแสดงหัวคอลัมน์ โดยจะแทนชื่อคอลัมน์ด้วยตัวอักษร A, B, C ไปเรื่อย ๆ ส่วนด้านหน้าจะมีพื้นที่สำหรับแสดงตัวเลขลำดับของแถว โดยจะแสดงตั้งแต่เลข 1,2,3 ไปเรื่อย ๆ โดยพื้นที่ดังกล่าว เราสามารถซ่อนไปก่อนก็ได้ ในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงแถวและคอลัมน์ เพื่อเพิ่มพื้นที่ทำงานให้กับ Worksheet ของเรา โดยมีวิธีการทำดังนี้ เพียงแค่นี้หัวคอลัมน์ก็จะถูกซ่อนไปแล้ว เราจะได้พื้นที่การทำงานเพิ่มขึ้นมาอีกนิด ถ้าต้องการให้แสดงหัวคอลัมน์เหมือนเดิม ก็แค่ทำตามวิธีเดิม แล้วติ๊กเครื่องหมาย ✔ หน้าตัวเลือก Headings แค่นั้นเอง

วิธีซ่อนแถบสูตร Formula Bar ใน Excel

วิธีซ่อนแถบสูตร Formula Bar ใน Excel

Excel จะมีแถบสูตร Formula Bar อยู่ภายใต้แถบริบบอน เอาไว้สำหรับเขียนสูตรหรือแสดงสูตร ซึ่งบางครั้งงานของเราอาจไม่มีสูตรหรือไม่จำเป็นต้องใช้สูตรเลยก็ได้ เราสามารถสั่งให้ Excel ซ่อนแถบสูตรนี้ก่อนได้ เพื่อจะได้พื้นที่ทำงานเพิ่มขึ้นมาอีกสักเล็กน้อย โดยมีวิธีการทำดังนี้ เพียงแค่นี้แถบสูตรก็หายไปแล้ว เราจะได้พื้นที่ทำงานเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย คราวหน้าถ้าต้องการให้แถบสูตรแสดง ก็ทำตามขั้นตอนเดิม แล้วก็ติ๊กเครื่องหมาย ✔ ที่หน้าตัวเลือก Formula Bar แถบสูตรก็จะกับมาเหมือนเดิม

วิธีเติมข้อมูลประเภท วัน/เดือน/ปี อัตโนมัติ ใน Excel

วิธีเติมข้อมูลประเภท วัน/เดือน/ปี อัตโนมัติ ใน Excel

ข้อมูลประเภทวันที่ เราสามารถให้ Excel เติมข้อมูลประเภทนี้อัตโนมัติได้ การเติมข้อมูลประเภทวันที่ จะเติมได้ทั้งแบบวันในสัปดาห์ 7 วัน, เดือน และ วัน เดือน ปี โดยมีวิธีการดังนี้ จะได้ข้อมูลตามที่ต้องการ ถ้าข้อมูลเริ่มต้นเป็นชื่อวัน Excel ก็จะเติมข้อมูลวันต่อ ๆ ไปให้ เช่น ข้อมูลเริ่มต้นเป็น Sunday เมื่อคลิกลากเพื่อเติมข้อมูลก็จะได้ข้อมูลวัน ต่อจากข้อมูลเริ่มต้น ถ้าข้อมูลเริ่มต้นเป็นชื่อเดือน เช่น January เมื่อคลิกลากเพื่อเติมข้อมูลก็จะได้รายชื่อเดือน (ต่อจากเดือนเริ่มต้น) ตัวเลือกการเติมข้อมูล เมื่อเราทำการคลิกลากเพื่อเติมข้อมูลตามวิธีด้านบนแล้ว หลังจากปล่อยเมาส์จะมีกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปรากฏขึ้นมาที่มุมขวาด้านล่างของเซลล์สุดท้ายที่ถูกเติมข้อความ ถ้านำเมาส์ไปคลิกจะมีตัวเลือกสำหรับการเติมข้อความปรากฏขึ้นมาใหเราเลือก ดังนี้

วิธีเติมข้อมูลแบบข้อความอัตโนมัติใน Excel

วิธีเติมข้อมูลแบบข้อความอัตโนมัติใน Excel

ใน Excel ถ้าเราต้องการเติมข้อมูลซ้ำ ๆ กัน หลาย ๆ เซลล์ หรือคัดลอกข้อมูลจากเซลล์ไปยังเซลล์อื่นที่อยู่ติดกันหลาย ๆ เซลล์ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ความสามารถ Auto fill ของ Excel ดังนี้ จะได้ข้อมูลเหมือนกับเซลล์ต้นทางตามที่เราต้องการ ตัวเลือกการเติมข้อมูล เมื่อเราทำการคลิกลากเพื่อเติมข้อมูลตามวิธีด้านบนแล้ว หลังจากปล่อยเมาส์จะมีกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปรากฏขึ้นมาที่มุมขวาด้านล่างของเซลล์สุดท้ายที่ถูกเติมข้อความ ถ้านำเมาส์ไปคลิกจะมีตัวเลือกสำหรับการเติมข้อความปรากฏขึ้นมาใหเราเลือก ดังนี้

วิธีเติมข้อมูลตัวเลขต่อเนื่องอัตโนมัติใน Excel

วิธีเติมข้อมูลตัวเลขต่อเนื่องอัตโนมัติใน Excel

ในกรณีที่เราต้องการกรอกข้อมูลแบบลำดับตัวเลข เราสามารถใช้ความสามารถของ Excel ช่วยเติมข้อมูลแบบลำดับให้เราโดยอัตโนมัติได้ เช่น ต้องการกรอกข้อมูลเป็นตัวเลข 1 ถึง 100 แทนที่เราจะมากรอกเองทีละช่อง เราก็สามารถให้ Excel กรอกให้อัตโนมัติได้ โดยมีวิธีดังนี้ เราก็จะได้ข้อมูลที่เป็นลำดับตัวเลขตามที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ข้อมูลตัวเลขที่ได้จะมีการเพิ่มขึ้นตามสเต็ปตามตัวเลขในเซลล์ที่ 1 และ 2 ตามที่เรากรอก ในตัวอย่างเรากรอกเป็น 1 และ 2 ตามลำดับ เมื่อเราให้ Excel กรอกข้อมูลอัตโนมัติให้ เราก็จะได้ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 (เพราะ 1 กับ 2 ต่างกันอยู่ 1 ค่านั่นเอง) แต่ถ้าเราอยากได้ข้อมูลที่แตกต่างไปจากนี้ เช่น เพิ่มขึ้นทีละ…

วิธีขึ้นบรรทัดใหม่ใน Excel

วิธีขึ้นบรรทัดใหม่ใน Excel

โดยปกติ เวลาเราพิมพ์ข้อมูลใน Word หรือโปรแกรมอื่น ๆ ถ้าเราต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ เราจะกดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ด แค่นี้ก็ขึ้นบรรทัดใหม่ได้แล้ว แต่สำหรับการกรอกข้อมูลในเซลล์ของ Excel นั้นไม่เหมือนกัน เราไม่สามารถขึ้นบรรทัดใหม่โดยการกดปุ่ม Enter ได้ เพราะการกดปุ่ม Enter ในขณะกรอกข้อมูลใน Excel นั้นเป็นการเปลี่ยนเซลล์เพื่อไปรับค่าในเซลล์ด้านล่าง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถขึ้นบรรทัดใหม่ใน Excel ได้ ถ้าต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ในเซลล์เดียวกัน สามารถทำได้โดยกดปุ่ม Alt + Enter ครับ คือในขณะที่เราพิมพ์ข้อความไป เมื่อต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ในเซลล์เดิม ก็สามารถกดปุ่ม Alt และปุ่ม Enter พร้อมกันเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่แล้วก็พิมพ์ข้อความต่อได้เลย เราก็จะได้ข้อความหลายบรรทัดในเซลล์เดียวกันตามที่ต้องการ

นับจำนวนไฟล์ด้วย Python

นับจำนวนไฟล์ด้วย Python

การนับจำนวนไฟล์ด้วยภาษา Python ลำดับแรก ให้อิมพอร์ตไลบรารี glob เข้ามาในโปรเจ็กต์ก่อน แล้วเรียกใช้เมธอด glob1() ซึ่งต้องการพารามิเตอร์ 2 ตัว มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ไดเร็คทอรีเป้าหมายมีไฟล์อยู่ 3 ไฟล์ ผลลัพธ์ ได้รายการไฟล์ทั้งหมดที่มีอยู่ในไดเร็คทอรีปลายทาง [‘file2.rtf’, ‘file3.txt’, ‘file4.rar’] ถ้าต้องการนับจำนวนไฟล์ ให้ใช้ฟังก์ชัน len() 3 หรือจะใช้เมธอด glob() ก็ได้ ดังตัวอย่าง ไดเร็คทอรีปัจจุบัน มีไฟล์แค่ 2 ไฟล์ ผลลัพธ์ [‘file1.txt’, ‘main.py’]มีไฟล์ทั้งหมด : 2 ไฟล์ ถ้าต้องการระบุไดเร็คทอรีปลายทาง ก็สามารถทำได้เช่นกัน…

ตรวจสอบความละเอียดหน้าจอด้วย Python

ตรวจสอบความละเอียดหน้าจอด้วย Python

การตรวจสอบความละเอียดหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา Python สามารถทำได้โดยใช้เมธอด get_monitors ของไลบรารี screeninfo ซึ่งเราต้องทำการติดตั้งไลบรารีตัวนี้ก่อน โดยใช้คำสั่ง pip install screeninfo เมื่อติดตั้งไลบรารี screeninfo เรียบร้อยแล้ว ในการเขียนโปรแกรม เราต้องทำการอิมพอร์ตเมธอด get_monitors เข้ามาก่อน หลังจากนั้นเราจะสามารถเรียกใช้งานเมธอด get_monitors() ได้ ซึ่งเมธอดนี้จะคืนค่ากลับมาเป็นรายการข้อมูลของจอทุกจอที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ตัวอย่างข้อมูลที่ได้จะเป็นประมาณนี้ [Monitor(x=0, y=0, width=1920, height=1080, width_mm=344, height_mm=194, name=’\\.\DISPLAY1′, is_primary=True), Monitor(x=1920, y=0, width=1920, height=1080, width_mm=480, height_mm=270, name=’\\.\DISPLAY5′, is_primary=False)] จากข้อมูลตัวอย่างด้านบน…

Python ตอนที่ 138 การใช้ while loop

การใช้ while loop

ใน Python เราสามารถใช้ while loop เพื่อวนรอบทำงานบางอย่างไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด การใช้ while loop เราต้องสร้างตัวแปรมาไว้เป็นเงื่อนไขเพื่อกำหนดว่าจะจบการวนลูปเมื่อไหร่ ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ จะได้เลข 1 – 9 เพราะลูปทำงาน 9 รอบ รอบที่ 1-9 ตัวแปร count ยังมีค่าน้อยกว่า 10 อยู่ ลูปจึงทำงานทุกรอบ หลังจากนั้น ตัวแปร count มีค่าเท่ากับ 10 ไม่ตรงตามเงื่อนไข ลูปจึงไม่ทำงาน 123456789 ออกจากลูปด้วย break statement…

Python ตอนที่ 137 การตรวจสอบเงื่อนไขด้วย If statement

ใน Python เราสามารถเขียนคำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขโดยการใช้ If statement เพื่อการตรวจสอบเงื่อนไขบางอย่างว่าเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่ ก่อนจะดำเนินการใด ๆ โดยการใช้คีย์เวิร์ด if สำหรับการตรวจสอบเงื่อนไข เราสามารถใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการตรวจสอบได้ดังนี้ ตัวอย่างการใช้ If statement การตรวจสอบเงื่อนไขด้วย If statement เราจะใช้คีย์เวิร์ด if ในการตรวจสอบ ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ x หน้อยกว่า y การย่อหน้า ใน Python จะใช้การย่อหน้า (โดยปกตินิยมใช้วิธีกดปุ่ม Tab บนคีย์บอร์ดเพื่อทำย่อหน้า) สำหรับการกำหนดขอบเขตของโค้ด ไม่เหมือนภาษาอื่น ๆ ที่โดยส่วนใหญ่จะใช้เครื่องหมายวงเล็บปีกกา {} ในการกำหนดขอบเขตของโค้ด ถ้าเราใช้…