ดีครับดอทคอม

ดีครับดอทคอม

Python ตอนที่ 105 ลบข้อมูลที่ซ้ำกับ Set อื่น ด้วยเมธอด difference_update()

ลบข้อมูลที่ซ้ำกับ Set อื่น ด้วยเมธอด difference_update()

เราสามารถลบข้อมูลใน Set ที่ซ้ำกับข้อมูลในเซ็ทอื่นได้ด้วยเมธอด difference_update() ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ โดยเมธอด difference_update() จะทำการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง Set ต้นทางกับ Set ที่นำมาเปรียบเทียบ และลบข้อมูลที่ซ้ำกันออกจาก Set ต้นทาง ตัวอย่าง ผลลัพธ์ ข้อมูลใน set1 ที่ซ้ำกับข้อมูลใน set2 จะถูกลบออกไป คงเหลือเฉพาะข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน {‘Asus’, ‘Lenovo’}

Python ตอนที่ 104 หาค่าที่แตกต่างกันระหว่าง 2 เซ็ทขึ้นไป ด้วยเมธอด difference()

หาค่าที่แตกต่างกันระหว่าง 2 เซ็ทขึ้นไป ด้วยเมธอด difference()

ถ้าต้องการหาค่าที่แตกต่างกันระหว่าง Set ตั้งแต่ 2 เซ็ทขึ้นไป สามารถทำได้โดยใช้เมธอด difference() ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ โดยการใช้งานเมธอด difference() จะได้ข้อมูลเป็น Set ใหม่ ที่มีข้อมูลที่แตกต่างกันระหว่างเซ็ทต้ทางกับเซ็ทที่นำมาเปรียบเทียบ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ จะได้เซ็ทใหม่ที่มีข้อมูลที่แตกต่างกันระหว่าง set1 กับ set2 {‘Lenovo’, ‘Asus’} เปรียบเทียบมากกว่า 2 เซ็ท ถ้าต้องการเปรียบเทียบมากกว่า 2 เซ็ทก็สามารถทำได้โดยระบุเซ็ทสำหรับเปรียบเทียบเข้าไปมากกว่า 2 เซ็ท แต่ต้องคั่นแต่ละเซ็ทด้วยเครื่องหมายคอมม่า , ผลลัพธ์ จะได้เซ็ทใหม่ที่มีข้อมูลใน set1 แต่ไม่มีใน set2 และ set3 {‘Lenovo’,…

Python ตอนที่ 103 คัดลอกข้อมูลใน Set ด้วยเมธอด copy()

คัดลอกข้อมูลใน Set ด้วยเมธอด copy()

เราสามารถคัดลอก Set ได้โดยการใช้งานเมธอด copy() ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ ได้เซ็ทใหม่ที่มีข้อมูลเหมือนกันกันเซ็ทต้นทางทุกประการ {‘Lenovo’, ‘Acer’, ‘Asus’}

Python ตอนที่ 102 ลบข้อมูลทั้งหมดใน Set ด้วยเมธอด clear()

ลบข้อมูลทั้งหมดใน Set ด้วยเมธอด clear()

ถ้าต้องการลบข้อมูลทั้งหมดใน Set สามารถทำได้โดยใช้เมธอด clear() โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ จะเหลือเพียงเซ็ทว่างเท่านั้น set()

Python ตอนที่ 101 เพิ่มข้อมูลใน Set ด้วยเมธอด add()

เพิ่มข้อมูลใน Set ด้วยเมธอด add()

เราสามารถเพิ่มข้อมูลใหม่เข้าไปในข้อมูลแบบ Set ได้โดยการใช้งานเมธอด add() ซึ่งเมธอดนี้จะเพิ่มข้อมูลใหม่เข้าไปใน Set แต่ถ้าข้อมูลที่เพิ่มเข้าไปใหม่มีค่าซ้ำกันกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ใน Set แล้ว ข้อมูลใหม่จะไม่ถูกเพิ่ม รูปแบบการใช้งานเมธอด add() มีดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ {‘Lenovo’, ‘Apple’, ‘Acer’, ‘Asus’} ถ้าข้อมูลที่เพิ่มใหม่ซ้ำกันกับข้อมูลที่มีอยู่เดิมใน Set ข้อมูลใหม่จะไม่ถูกเพิ่มเข้าไป ผลลัพธ์ ข้อมูลที่เพิ่มใหม่ซ้ำกันกับข้อมูลที่มีอยู่เดิมใน Set จึงไม่มีการเพิ่มข้อมูลใด ๆ {‘Lenovo’, ‘Acer’, ‘Asus’}

Python ตอนที่ 92 การรวม Tuple เข้าด้วยกัน

การรวม Tuple เข้าด้วยกัน

เราสามารถรวม Tuple หลาย ๆ อันเข้าด้วยกันโดยใช้ตัวดำเนินการ + ผลลัพธ์ จะได้ Tuple ใหม่ที่มีข้อมูลจาก tuple1 และ tuple2 รวมกัน (‘Asus’, ‘Lenovo’, ‘Acer’, ‘Dell’, ‘Intel’, ‘Microsoft’) การคูณ Tuple นอกจากการนำ Tuple มารวมกันด้วยโอเปอเรเตอร์ + แล้ว เรายังสามารถคูณค่าใน Tuple ได้ด้วย โดยใช้โอเปอเรเตอร์ * ผลลัพธ์ จะได้ Tuple ใหม่ ที่มีค่าข้อมูลซ้ำตามจำนวนตัวเลขที่นำมาคูณ (‘Asus’, ‘Lenovo’, ‘Acer’,…

Python ตอนที่ 91 เข้าถึงข้อมูลใน Tuple ด้วยลูป

เข้าถึงข้อมูลใน Tuple ด้วยลูป

เราสามารถเข้าถึงข้อมูลใน Tuple ทีละลำดับจนครบทุกค่าด้วยลูป for ผลลัพธ์ AsusLenovoAcerDellIntelMicrosoft เราสามารถวนลูปเพื่อเข้าถึงข้อมูลใน Tuple โดยการระบุค่า Index ก็ได้เช่นกัน โดยใช้ฟังก์ชัน range() และ len() เข้ามาช่วยด้วย ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ AsusLenovoAcerDellIntelMicrosoft เข้าถึงข้อมูลใน Tuple ด้วยลูป while นอกจากลูป for แล้ว เรายังสามารถใช้ลูป while เพื่อเข้าถึงข้อมูลใน Tuple ได้ด้วย โดยใช้ฟังก์ชัน len() หาความยาวของ Tuple แล้ววนลูปเข้าไปยังค่าใน Tuple ทีละตัวด้วยการระบุ Index เริ่มจากอินเด็กซ์…

Python ตอนที่ 90 การแยกข้อมูลใน Tuple

การแยกข้อมูลใน Tuple

ในขณะที่เราสร้างตัวแปรประเภท Tuple ขึ้นมาและกำหนดข้อมูลให้กับตัวแปรดังกล่าว เรียก Packing เหมือนแพ็กสินค้ายังไงยังงั้น แต่ในกรณีของ Tuple เป็นการแพ็กข้อมูล จากโค้ดด้านบนนั้นเป็นการประกาศตัวแปรข้อมูลแบบ Tuple พร้อมทั้งกำหนดข้อมูลให้มัน นี่แหละที่เรียกว่า Packing a tuple ใน Python เราสามารถแยกข้อมูลแต่ละตัวออกมาเก็บลงในตัวแปรได้ วิธีนี้เรียกว่า “unpacking” ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ ตัวแปรแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับค่าใน Tuple เรียงตามลำดับ AsusLenovoAcer จำนวนของตัวแปรต้องเท่ากันกับจำนวนของค่าใน Tuple ถ้าจำนวนของตัวแปรน้อยกว่าค่าใน Tuple ต้องกำหนดเครื่องหมาย * ไว้หน้าตัวแปรตัวสุดท้ายเพื่อรวมค่าที่เหลือทั้งหมดใน Tuple เป็นข้อมูลแบบ List ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ ค่าใน…

Python ตอนที่ 89 การแก้ไขข้อมูลใน Tuple

การแก้ไขข้อมูลใน Tuple

Tuple เป็นชนิดข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ คือเมื่อสร้างข้อมูลประเภท Tuple ขึ้นมาแล้ว เราจะเพิ่ม ลบ หรือแก้ไขข้อมูลใน Tuple นั้นโดยตรงไม่ได้ แต่ก็ไม่ต้องกังวล เมื่อทำโดยตรงไม่ได้ เราก็ทำอ้อม ๆ เอา โดยการแปลง Tuple ให้กลายเป็น List หลังจากนั้นจะแก้ไขข้อมูล ลบ หรือเพิ่ม ก็ทำได้ตามปรารถนา เสร็จแล้วก็แปลง List นั้นให้เป็น Tuple แค่นี้ก็เรียบร้อย ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ จะได้ Tuple ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเรียบร้อยแล้ว (ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนค่าใน Tuple โดยตรง) (‘Intel’, ‘Lenovo’, ‘Acer’, ‘Dell’,…

Python ตอนที่ 88 การเข้าถึงข้อมูลใน Tuple

การเข้าถึงข้อมูลใน Tuple

การเข้าถึงข้อมูลหรือสมาชิกใน Tuple สามารถทำได้โดยการอ้างอิงหมายเลขอินเด็กซ์ โดยระบุไว้ภายในเครื่องหมายวงเล็บสี่เหลี่ยม square brackets (อินเด็กซ์เริ่มที่ 0) โดยมีรูปบแบบดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ Dell ระบุอินเด็กซ์ติดลบ เราสามารถอ้างอิงถึงข้อมูลใน Tuple โดยการระบุอินเด็กซ์เป็นตัวเลขติดลบได้ ซึ่งจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลโดยเริ่มจากลำดับสุดท้าย เช่น ถ้าระบุอินเด็กซ์เป็น -1 ก็จะเป็นการอ้างถึงข้อมูลลำดับที่ 1 เรียงจากลำดับสุดท้าย ก็คือข้อมูลลำดับสุดท้ายนั่นเอง ผลลัพธ์ Acer การเข้าถึงข้อมูลเป็นช่วง เราสามารถเข้าถึงข้อมูลใน Tuple โดยการระบุช่วงข้อมูลได้ คือระบุว่าต้องการข้อมูลลำดับที่เท่าไหร่ถึงลำดับที่เท่าไหร่ โดยค่าที่ได้กลับมาจะเป็น Tuple ใหม่ ที่ประกอบด้วยช่วงข้อมูลตามที่เราระบุ โดยมีรูปแบบดังนี้ ผลลัพธ์ จะได้เป็นทูเพิลใหม่ที่ประกอบด้วยข้อมูลตามที่ระบุ (‘Dell’, ‘HP’,…

Python ตอนที่ 86 เรียงลำดับข้อมูลใน List ด้วยเมธอด sort()

เรียงลำดับข้อมูลใน List ด้วยเมธอด sort()

เมธอด sort() ใช้สำหรับเรียงลำดับข้อมูลในลิสต์ โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ โดยค่าเริ่มต้น เมธอด sort() จะเรียงลำดับข้อมูลในลิสต์จากน้อยไปมาก ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ [‘Benz’, ‘Honda’, ‘Suzuki’, ‘Toyota’] ถ้าต้องการเรียงลำดับจากมากไปน้อย ให้ระบุคีย์เวิร์ด reverse=True [‘Toyota’, ‘Suzuki’, ‘Honda’, ‘Benz’] เราสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการเรียงลำดับนอกเหนือจากการเรียงลำดับตามปกติได้ โดยการสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใช้งาน และเมื่อเรียกใช้เมธอด sort() ให้กำหนดฟังก์ชันดังกล่าวให้กับคีย์เวิร์ด key ตัวอย่าง ผลลัพธ์คือข้อมูลในลิสต์จะถูกเรียงลำดับโดยพิจารณาจากความยาวของค่าแต่ละค่า ค่าที่มีความยาวน้อยกว่าจะถูกเรียงไว้ก่อน [‘Benz’, ‘Honda’, ‘Toyota’, ‘Suzuki’] ถ้าต้องการให้เรียงแบบกลับด้านก็ระบุคีย์เวิร์ด reverse=True เพิ่มเข้าไปอีก ผลลัพธ์ [‘Toyota’, ‘Suzuki’,…

Python ตอนที่ 85 สลับลำดับข้อมูลในลิสต์ด้วยเมธอด reverse()

สลับลำดับข้อมูลในลิสต์ด้วยเมธอด reverse()

เมธอด reverse() ใช้สำหรับสลับลำดับข้อมูลในลิสต์แบบกลับด้าน มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ ข้อมูลในลิสต์จะเรียงลำดับแบบกลับด้าน [‘Benz’, ‘Suzuki’, ‘Honda’, ‘Toyota’]

Python ตอนที่ 84 ลบข้อมูลที่ต้องการออกจากลิสต์ด้วยเมธอด remove()

ลบข้อมูลที่ต้องการออกจากลิสต์ด้วยเมธอด remove()

เมธอด remove() ใช้สำหรับลบข้อมูลออกจากลิสต์ โดยการระบุค่าที่ต้องการลบ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ [‘Toyota’, ‘Honda’, ‘Benz’] เมธอด remove() จะลบข้อมูลที่ตรงกับค่าที่ระบุ เฉพาะที่ปรากฏครั้งแรกเท่านั้น ออกจากลิสต์ ถ้ามีข้อมูลที่ตรงกันหลายตัว ข้อมูลที่อยู่หลัง ๆ จะไม่ถูกลบ ผลลัพธ์ คำว่า “Suzuki” จะหายไป 1 ตำแหน่ง (เฉพาะตำแหน่งที่ปรากฏก่อน) และยังคงเหลือข้อมูลคำว่า “Suzuki” ในลิสต์อีก 1 ตำแหน่ง [‘Toyota’, ‘Honda’, ‘Benz’, ‘Suzuki’]

Python ตอนที่ 83 ลบข้อมูลออกจากลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ระบุ ด้วยเมธอด pop()

ลบข้อมูลออกจากลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ระบุ ด้วยเมธอด pop()

เมธอด pop() ใช้สำหรับลบข้อมูลออกจากลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ระบุ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ คำว่า “Honda” จะหายไป เพราะคำนี้อยู่ในตำแหน่ง 1 ของลิสต์ [‘Toyota’, ‘Suzuki’, ‘Benz’] เมธอด pop() จะคืนค่ากลับมาเป็นข้อมูลที่ถูกลบ ดังนี้ ผลลัพธ์จะเป็น “Honda” เพราะเป็นข้อมูลที่ถูกลบไป Honda ถ้าไม่ระบุตำแหน่ง ค่าเริ่มต้นจะเป็น -1 ซึ่งหมายถึงข้อมูลลำดับสุดท้าย ผลลัพธ์ Benz

Python ตอนที่ 82 เพิ่มข้อมูลเข้าไปในลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยเมธอด insert()

เพิ่มข้อมูลเข้าไปในลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยเมธอด insert()

เมธอด insert() ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลเข้าไปในลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ [‘Toyota’, ‘Honda’, ‘BMW’, ‘Suzuki’, ‘Benz’]

Python ตอนที่ 81 ตรวจสอบตำแหน่งของค่าที่ระบุที่ปรากฏครั้งแรกในลิสต์ ด้วยเมธอด index()

ตรวจสอบตำแหน่งของค่าที่ระบุที่ปรากฏครั้งแรกในลิสต์ ด้วยเมธอด index()

เมธอด index() ใช้สำหรับตรวจสอบว่าค่าที่ระบุปรากฏอยู่ในตำแหน่งใดในลิสต์ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์จะเป็น 1 เพราะคำว่า “Honda” ปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ 2 ในลิสต์ (เริ่มนับจาก 0) เมธอด index() จะคืนค่าเป็นตำแหน่งของสมาชิกที่มีค่าตรงกับคำค้นหาที่ปรากฏเพียงครั้งแรกเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีสมาชิกที่มีค่าตรงกับคำค้นหามากกว่า 1 ก็ตาม ดังตัวอย่าง จากตัวอย่าง ผลลัพธ์จะเป็น 1 เพราะเป็นตำแหน่งแรกที่เจอคำว่า “Honda” ถึงแม้จะมีคำเดียวกันนี้ถึง 2 ที่ก็ตาม

Python ตอนที่ 80 เพิ่มข้อมูลจากลิสต์หนึ่งไปยังอีกลิสต์หนึ่งด้วยเมธอด extend()

เพิ่มข้อมูลจากลิสต์หนึ่งไปยังอีกลิสต์หนึ่งด้วยเมธอด extend()

เมธอด extend() ใช้สำหรับนำเอาข้อมูลสมาชิกในลิสต์หนึ่งไปต่อท้ายข้อมูลของอีกลิสต์หนึ่ง หรือนำเอาสมาชิกของข้อมูลประเภท iterable อื่น ๆ ไปต่อท้ายข้อมูลในลิสต์ปลายทาง มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ [‘Toyota’, ‘Handa’, ‘Mitsubishi’, ‘Mazda’, ‘MG’, ‘Benz’]

Python ตอนที่ 79 นับจำนวนรายการในลิสต์ที่มีค่าตามที่ระบุด้วยเมธอด count()

นับจำนวนรายการในลิสต์ที่มีค่าตามที่ระบุด้วยเมธอด count()

เมธอด count() ใช้สำหรับนับจำนวนสมาชิกในลิสต์ที่มีค่าตามที่ระบุว่ามีจำนวนเท่าไหร่ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์จะเป็น 2 เพราะมีคำว่า “Toyota” ปรากฏอยู่ในลิสต์ 2 ครั้ง คือมี 2 รายการนั่นเอง

Python ตอนที่ 78 คัดลอก List ด้วยเมธอด copy()

คัดลอก List ด้วยเมธอด copy()

เมธอด copy() ใช้สำหรับคัดลอกข้อมูลทั้งหมดในลิสต์ไปเก็บไว้ในตัวแปรอื่น โดยจะคืนค่ากลับมาเป็นลิสต์ที่กำหนด มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ ตัวแปร mycar จะมีข้อมูลเหมือนกันกับตัวแปร car [‘Toyota’, ‘Handa’, ‘Mitsubishi’]

Python ตอนที่ 75 การ join ข้อมูลประเภท List เข้าด้วยกัน

การ join ข้อมูลประเภท List เข้าด้วยกัน

ถ้าต้องการรวมข้อมูลประเภท List หลาย ๆ อันเข้าด้วยกัน สามารถทำได้โดยการใช้โอเปอเรเตอร์ + เพื่อเชื่อมลิสต์เข้าด้วยกัน ดังนี้ ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Asus’, ‘iPhone’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Sony’] วิธีรวมลิสต์อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ลูปเข้าถึงข้อมูลในลิสต์หนึ่งทีละรายการ แล้วนำข้อมูลนั้นมาต่อท้ายอีกลิสต์หนึ่งด้วยเมธอด append() ทำไปทีละรายการจนครบ ดังนี้ ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Asus’, ‘iPhone’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Sony’] นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้เมธอด extend() เพื่อนำข้อมูลจากลิสต์หนึ่งไปต่อท้ายอีกลิสต์หนึ่ง ดังนี้ ผลลัพธ์…

Python ตอนที่ 74 การคัดลอก List

การคัดลอก List

ถ้าต้องการคัดลอกข้อมูลประเภท List เราสามารถใช้ built-in method ของ List นั่นก็คือเมธอด copy() ดังนี้ ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Asus’, ‘iPhone’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Sony’] อีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้เมธอด list() ดังนี้ ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Asus’, ‘iPhone’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Sony’]

Python ตอนที่ 73 การเรียงข้อมูลใน List

การเรียงข้อมูลใน List

ข้อมูลประเภท List มีเมธอด sort() ซึ่งใช้เรียงข้อมูลตามตัวอักษรและตัวเลขจากน้อยไปหามากเป็นค่าเริ่มต้น ผลลัพธ์ [‘Asus’, ‘Nokia’, ‘Oppo’, ‘Samsung’, ‘Sony’, ‘Vivo’, ‘Wiko’, ‘iPhone’] [2, 6, 10, 15, 20, 50] ถ้าต้องการเรียงข้อมูลจากมากไปน้อย ก็สามารถทำได้โดยการใช้คีย์เวิร์ด reverse = True โดยมีรูปแบบดังนี้ [‘Wiko’, ‘Vivo’, ‘Sony’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Nokia’, ‘Asus’, ‘Apple’] [50, 20, 15, 10, 6, 2]…

Python ตอนที่ 72 List Comprehension

List Comprehension

List comprehension คือวิธีการเขียน Syntax ให้สั้นลงเมื่อต้องการสร้าง List ใหม่ขึ้นมาและเก็บข้อมูลเฉพาะรายการที่มีข้อมูลที่เราต้องการจากลิสต์ที่มีอยู่เดิม โดยปกติถ้าเราต้องการดึงข้อมูลจากลิสต์ใด ๆ ก็ตามโดยให้คัดเอาเฉพาะรายการที่มีข้อมูลที่เราต้องการ แล้วเอารายการเหล่านั้นมาสร้างเป็นลิสต์ใหม่ เราจะใช้ลูป for ในการวนเข้าไปในรายการของลิสต์นั้นทีละตัวและตรวจสอบว่าแต่ละรายการมีข้อมูลที่เราต้องการหรือไม่ วนเข้าไปจนครบทุกรายการ ดังตัวอย่าง จากโค้ดตัวอย่าง เราต้องการค้นหารายการจากลิสต์ที่มีตัวอักษร “i” แล้วนำมาสร้างเป็นลิสต์ใหม่ จึงเขียนโค้ดได้ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Wiko’, ‘Nokia’] จากตัวอย่างด้านบนนั้น ถ้าใช้วิธีแบบ list comprehension เราจะสามารถเขียนโค้ดให้สั้นลงได้ดังนี้ ผลลัพธ์ก็จะได้เหมือนกันกับโค้ดก่อนหน้านี้ที่เขียนด้วยวิธีปกติ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Wiko’, ‘Nokia’] จะเห็นได้ว่า การใช้ list comprehension…