ดีครับดอทคอม

ดีครับดอทคอม

การติดตั้ง WordPress ผ่าน DirectAdmin

การติดตั้ง WordPress ผ่าน DirectAdmin

ในปัจจุบันการสร้างเว็บไซต์ด้วย CMS เช่น WordPress หรือ Joomla เป็นที่นิยมมาก ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งส่วนใหญ่ก็อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถติดตั้ง CMS ดังกล่าวได้ง่าย ๆ ผ่าน Web Control Panel และใน DerectAdmin ก็สามารถทำได้เช่นกัน การติดตั้ง WordPress ใน DirectAdmin ใน DirectAdmin เราสามารถติดตั้ง WordPress ได้ง่าย ๆ ดังนี้ครับ ในส่วน Advanced Features ให้คลิกที่ Inw Installer (ในโฮสติ้งของแต่ละผู้ให้บริการ ส่วนนี้อาจมีชื่อไม่เหมือนกัน) ให้เลือก WordPress ที่ต้องการติดตั้ง…

DirectAdmin การสร้างและจัดการฐานข้อมูล MySQL

DirectAdmin การสร้างและจัดการฐานข้อมูล MySQL

ระบบฐานข้อมูล MySQL เป็นระบบฐานข้อมูลยอดนิยมที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้งานได้ฟรี และสำหรับผู้ที่ใช้ DirectAdmin สามารถสร้างฐานข้อมูล MySQL ได้ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ หากต้องการสร้างฐานข้อมูล MySQL สามารถทำได้โดยคลิกที่ MySQL Management เพื่อเข้าสู่หน้าจัดการฐานข้อมูล หลังจากนั้นคลิกที่ Create new Database เพื่อสร้างฐานข้อมูลใหม่ ให้ตั้งค่าต่าง ๆ ดังนี้ เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้วให้คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างฐานข้อมูลได้เลย ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ระบบจะแสดงรายละเอียดสรุปการสร้างฐานข้อมูลให้เราทราบ ซึ่งประกอบด้วย การลบฐานข้อมูล ใน DirectAdmin ถ้าต้องการลบฐานข้อมูลที่ได้สร้างไว้ ให้ทำดังนี้ ติ๊กเลือกที่เช็คบ๊อกในคอลัมน์ Select ในแถวรายการฐานข้อมูลที่ต้องการลบ แล้วคลิกที่ปุ่ม Delete คลิก…

DirectAdmin การสร้าง Subdomain

DirectAdmin การสร้าง Subdomain

Subdomain คือโดเมนย่อยที่อยู่ภายใต้โดเมนหลักอีกชั้นหนึ่ง มีไว้เพื่อแบ่งโดเมนออกเป็นหลาย ๆ ส่วน เปรียบเสมียนว่าเรามีหลาย ๆ เว็บไซต์ภายใต้โดเมนเดียวกัน ซึ่งโดเมนหนึ่ง ๆ อาจมีโดเมนย่อยได้หลาย ๆ โดเมน สมมติว่าเรามีโดเมนชื่อว่า example.com และต้องการแบ่งการทำงานของโดเมนนี้ออกเป็นหลาย ๆ ส่วน ส่วนหนึ่งแสดงเนื้อหาด้าน IT ส่วนหนึ่งแสดงเนื้อหาด้านความรู้ทั่วไป เป็นต้น เราสามารถสร้างโดเมนย่อยมารองรับงานของเราดังนี้ it.example.com และ knowledge.example.com นี่คือประโยชน์ของ Subdomain ใน DirectAdmin เราสามารถสร้าง Subdomain มาใช้งานได้ง่าย ๆ ดังนี้ เมื่อล๊อกอินเข้ามาใน DirectAdmin เรียบร้อยแล้ว ถ้ามีหลายโดเมนให้เลือกโดเมนที่ต้องการสร้าง Subdomain…

DirectAdmin การสร้าง FTP Account ไว้รับส่งข้อมูล

DirectAdmin การสร้าง FTP Account ไว้รับส่งข้อมูล

FTP (File Transfer Protocol) คือโพรโทคอลที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการรับส่งไฟล์ระหว่าง Client และ Server โดยจะมีพอร์ตที่ใช้งานอยู่ 2 พอร์ต คือ พอร์ต 20 ใช้ในการรับส่งไฟล์ ส่วนอีกพอร์ตคือ พอร์ต 21 ใช้ในการควบคุมหรือส่งคำสั่ง FTP เช่น ตรวจสอบการเข้าถึงโปรแกรมจากผู้ใช้งาน เป็นต้น และในปัจจุบัน ผู้ให้บริการ Web hosting โดยส่วนใหญ่มักจะให้บริการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่าน FTP Server เพราะการติดตั้งระบบและการบริหารจัดการไฟล์ทำได้ง่าย สำหรับ Web Hosting ที่ใช้ DirectAdmin เป็น Web Control Panel…

DirectAdmin การเพิ่ม ลบ แก้ไข เว็บไซต์ (โดเมนเนม)

DirectAdmin การเพิ่ม ลบ แก้ไข เว็บไซต์ (โดเมนเนม)

DirectAdmin เป็น Web Control Panel ยอดนิยมอีกตัวหนึ่งที่ใช้งานง่าย มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้เราจัดการกับเว็บไซต์ของเราได้อย่างง่ายดาย การเพิ่ม ลบ และแก้ไขที่อยู่เว็บไซต์หรือ Domain Name ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่นเดียวกัน การเพิ่มเว็บไซต์ใน DirectAdmin เมื่อต้องการเพิ่มเว็บไซต์ (Domain Name) เข้ามาในโฮสติ้งที่จัดการด้วย DirectAdmin สามารถทำได้ดังนี้ครับ เมื่อล๊อกอินเข้ามาในระบบ DirectAdmin เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่ Domain Administration คลิกที่ลิงค์ Add Another Domain เพื่อเพิ่มโดเมนเข้ามาในระบบ เมื่อเข้าสู่หน้า Create Domain ให้ตั้งค่าต่าง ๆ ดังนี้…

DirectAdmin เปิดใช้งาน SSL ฟรี ด้วย Let’s Encrypt

DirectAdmin เปิดใช้งาน SSL ฟรี ด้วย Let’s Encrypt

Let’s Encrypt คือ Certificate Authority ที่อนุญาตให้เราเปิดใช้งาน SSL เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ให้เว็บไซต์ของเราได้ฟรี ๆ และสามารถเปิดใช้งานได้ไม่ยาก ในปัจจุบันผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งต่าง ๆ ได้อนุญาตให้เราเปิดใช้งาน SSL จาก Let’s Encrypt ได้ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ซึ่งวิธีเปิดใช้งานก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เราใช้บิการอยู่นั้น ใช้ Web Control Panel ตัวใด สำหรับบทความนี้จะแนะนำวิธีเปิดใช้งาน SSL จาก Let’s Encrypt บน DirectAdmin ครับ 1. อันดับแรกก็ให้ล๊อกอินเข้าสู่ DirectAdmin ของเราให้เรียบร้อย 2. ถ้าเรามีหลายโดเมนเนม ให้คลิกเลือกโดเมนเนมที่ต้องการก่อน…

Python ตอนที่ 5 การใช้ฟังก์ชัน print

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 5 การใช้ฟังก์ชัน print

ในภาษา Python เมื่อต้องการแสดงข้อมูลออกทางหน้าจอ จะใช้ฟังก์ชัน print() พร้อมระบุข้อมูลที่ต้องการแสดง เช่น print(ข้อมูลที่ต้องการแสดง) หรือ print(ข้อมูล, ข้อมูล, ข้อมูล, …) โดยมีรายละเอียดที่ควรรู้ดังนี้ ข้อมูลที่จะแสดงด้วยฟังก์ชัน print() ถ้าเป็นสตริง (ข้อความ) ให้เขียนไว้ในเครื่องหมาย ” ” หรือ ‘ ‘ ข้อมูลที่จะแสดงด้วยฟังก์ชัน print() ถ้าเป็นตัวเลข สามารถเขียนลงไปได้โดยตรงเลย ถ้าจะแสดงค่าจากตัวแปร ไม่ว่าตัวแปรนั้นจะเก็บข้อมูลชนิดใดก็ตาม สามารถเขียนตัวแปรลงไปได้โดยตรง เมื่อใช้ฟังก์ชัน print() หลังจากแสดงข้อความแล้วจะขึ้นบรรทัดใหม่โดยอัตโนมัติ การใช้ฟังก์ชัน print() แสดงข้อมูลหลายค่าในครั้งเดียว จะเป็นการแสดงข้อมูลเหล่านั้นในบรรทัดเดียวกัน ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน print()…

Python ตอนที่ 4 การเขียนคอมเม้นต์

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 4 การเขียนคอมเม้นต์

Comment หรือคำอธิบายโค้ด คือข้อความที่ Programmer มักเขียนแทรกไว้ในโค้ดเพื่อกลับมาดูทีหลังจะได้รู้ว่าโค้ดส่วนนั้นเอาไว้ทำอะไร หรือเอาไว้ให้ผู้ที่รับช่วงพัฒนาโปรแกรมต่อดู เพื่อจะได้รู้ความหมายหรือจุดมุ่งหมายในการเขียนโค้ดส่วนนั้น ๆ ซึ่งการเขียนคอมเม้นต์หรือคำอธิบายโค้ดในภาษา Python มี 2 รูปแบบ ดังนี้ Line Comment Line Comment คือการเขียนคำอธิบายแบบบรรทัดเดียว โดยใช้เครื่องหมาย Hash (#) ซึ่งข้อความตัวอักษรนับตั้งแต่เครื่องหมาย # เป็นต้นไปจนถึงตัวอักษรสุดท้ายในบรรทัดนั้น จะถือว่าเป็นคอมเม้นต์ทั้งหมด จะไม่ถูกนำมาประมวลผล ลักษณะการเขียน Line Comment เช่น Block Comment เป็นการเขียน Comment หรือคำอธิบายที่มีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ซึ่งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของ Comment นี้จะใช้เครื่องหมาย Single…

Python ตอนที่ 3 Python Syntax

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 3 Python Syntax

การเขียนโปรแกรมภาษา Python มีรูปแบบที่แตกต่างกับการเขียนโปรแกรมในภาษาอื่น ๆ อยู่พอสมควร เช่น ไม่ต้องมีเซมิโคลอน ; ปิดท้ายคำสั่ง ให้ความสำคัญกับการจัดย่อหน้า เป็นต้น Python Indentation การจัดย่อหน้าในภาษาไพธอน โดยปกติ ในภาษาโปรแกรมอื่น ๆ เราจัดย่อหน้าเพียงเพื่อให้เกิดความสวยงาม อ่านโค้ดง่าย โดยไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรมเลย แต่สำหรับภาษา Python นั้นไม่ใช่ ในภาษา Python การจัดย่อหน้ามีความสำคัญมากกว่าเรื่องความสวยงาม เพราะไพธอนใช้การจัดย่อหน้าเพื่อบ่งบอกขอบเขตของโค้ด (Block of code) ตัวอย่างการใช้ย่อหน้าเพื่อกำหนดขอบเขตของโค้ดใน Python จากโค้ดตัวอย่างด้านบน บรรทัดที่ 2 เราเขียนคำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขด้วย if โค้ดบรรทัดถัดมาที่เป็นคำสั่งทำงานตามเงื่อนไข ต้องย่อหน้าเข้ามา 1…

การอัพโหลดเว็บไซต์ WordPress ขึ้นสู่โฮสต์จริง

การอัพโหลดเว็บไซต์ WordPress ขึ้นสู่โฮสต์จริง

หลังจากที่เราได้สร้างและพัฒนาเว็บไซต์ด้วย WordPress จนเว็บไซต์ของเราสมบูรณ์พร้อมที่จะออนไลน์ในโลกกว้างแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการอัพโหลดเว็บไซต์ที่เราได้พัฒนามาด้วยความยากลำบากขึ้นสู่โฮสต์จริงนั่นเองครับ ซึ่งขั้นตอนในการอัพโหลดเว็บไซต์ขึ้นสู่โฮสต์จริง มีดังนี้ครับ ปล. สมมติว่าทุกท่านได้ทำการเช่าโฮสต์เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ ติดตั้งปลั๊กอิน Duplicator Duplicator เป็นปลั๊กอินสำหรับก๊อปปี้เว็บไซต์ของเรามาสร้างเป็นแพ็กเกจเพื่อนำไปติดตั้งในโฮสต์จริงได้อย่างสะดวกสบาย สำหรับการติดตั้งปลั๊กอิน Duplicator มีขั้นตอนดังนี้ การสร้างแพ็กเกจ (Package) สำหรับติดตั้งเว็บไซต์ เมื่อติดตั้งปลั๊กอิน Duplicator และเปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการสร้างแพ็กเกจ (Package) สำหรับติดตั้งเว็บไซต์ของเรา โดยมีขั้นตอนดังนี้ เมื่อสร้างแพ็กเกจเรียบร้อยแล้วจะมีปุ่มให้เราดาวน์โหลดแพ็กเกจและไฟล์ตัวติดตั้ง จะได้ไฟล์มา 2 ไฟล์ คือ การอัพโหลดแพ็กเกจและตัวติดตั้งไปไว้ในโฮสต์จริง เมื่อผ่านขั้นตอนการสร้างแพ็กเกจและดาวน์โหลดแพ็กเกจพร้อมทั้งไฟล์ติดตั้งมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการอัพโหลดไฟล์แพ็กเกจและไฟล์ติดตั้งไปไว้ในโฮสต์ของเรา โดยจะแนะนำการอัพโหลดด้วยโปรแกรม FileZilla Client นะครับ ถ้ายังไม่มีก็ไปดาวน์โหลดมาติดตั้งให้เรียบร้อย โปรแกรมนี้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีครับ เมื่อติดตั้งโปรแกรม…

WordPress การตั้งค่าหน้าแรก Home Page

WordPress การตั้งค่าหน้าแรก Home Page

WordPress อนุญาตให้เราตั้งค่าหน้าแรกหรือหน้า Homepage ของเว็บไซต์ได้ว่าจะให้โชว์อะไร ซึ่งเราสามารถเลือกได้ 2 อย่างคือ 1. โพสต์ล่าสุด หรือบทความล่าสุดของเรานั่นเอง 2. Static Page ซึ่งก็คือหน้าเว็บเพจหน้าใดหน้าหนึ่ง ซึ่งเราสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ ซึ่งโดยปกติแล้ว WordPress จะตั้งค่าให้หน้าเว็บไซต์ของเราแสดงบทความล่าสุดที่หน้า Homepage เป็นค่าเริ่มต้น การตั้งค่าหน้าแรกใน WordPress สำหรับวิธีการตั้งค่าหน้าแรกหรือหน้า Homepage ใน WordPress นั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ขออธิบายเป็น 2 หัวข้อ ดังนี้ การตั้งค่าให้หน้าแรกแสดงบทความล่าสุด ถ้าต้องการให้หน้าแรกหรือหน้า Homepage ของเราแสดงบทความล่าสุด ให้ทำดังนี้ เมื่อเข้าไปดูในหน้าแรกของเว็บไซต์ของเราก็จะพบว่า หน้าแรกนั้นแสดงโพสต์ล่าสุด…

Python ตอนที่ 2 เตรียมเครื่องมือ

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 2 เตรียมเครื่องมือ

ปัจจุบันภาษา Python ได้รับความนิยมอย่างสูงมาก เครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ก็มีมากด้วยเช่นกัน บทความนี้จะแนะนำเครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python 2 ตัวคือ Python IDLE และ PyCharm การติดตั้งและใช้งาน Python IDLE Python IDLE เป็นเครื่องมือเขียนโปรแกรมของ Python เอง ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีที่ ดาวน์โหลด Python เมื่อเข้าไปตามลิงค์แล้วให้คลิกที่ Download Python x.x.x (x.x.x หมายถึงเลขเวอร์ชัน) เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้ทำการติดตั้ง สำหรับการติดตั้งก็เหมือนการติดตั้งโปรแกรมทั่ว ๆ ไป ให้ติ๊กที่เช็กบ๊อกซ์หน้า Add Python x.x to…

การสร้างและจัดการเมนูใน WordPress

การสร้างและจัดการเมนูใน WordPress

Menu เมนู ถือเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับการสร้างเว็บไซต์ เพราะเมื่อเราพัฒนาเว็บไซต์ไปเรื่อย ๆ แน่นอนว่าข้อมูลของเราย่อมเพิ่มขึ้น เว็บไซต์ของเราก็จะมีขนาดใหญ่และซับซ้อนขึ้น เมนูจะเป็นผู้นำทางอย่างดีที่จะพาผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไปยังส่วนต่าง ๆ ในเว็บไซต์ของเรา ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้อย่างทั่วถึง การสร้างเมนูใน WordPress WordPress ได้จัดเตรียมระบบการจัดการกับเมนูไว้ให้เราใช้งานอย่างสะดวก เราสามารถสร้างและแก้ไขเมนูได้อย่างง่ายดายเมื่อไหร่ก็ได้ที่เราต้องการ สำกรับการสร้างเมนู สามารถทำได้ดังนี้ครับ เมื่อสร้างเมนู (เป็นการสร้างเมนูหลัก หรือสร้างชื่อเมนูขึ้นมาไว้ก่อน โดยยังไม่มีรายการเมนูใดๆอยู่ภายใน) เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเป็นการกำหนดรายการเมนูให้กับเมนูที่เราได้สร้างไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ครับ ที่แท็บ Edit Menus ให้ตั้งค่าดังนี้ Pages ส่วนนี้สำหรับการเพิ่มหน้าเพจที่เราได้สร้างไว้ เข้าไปเป็นรายการเมนู เช่น ถ้าต้องการสร้างเมนูไปยังเพจใด ให้ติ๊กที่เช็คบ๊อกซ์หน้าชื่อเพจนั้น แล้วคลิกปุ่ม Add to Menu รายการเพจก็จะไปปรากฏอยู่ในรายการเมนูทันที Posts…

จัดการกับระบบสมาชิกใน WordPress

จัดการกับระบบสมาชิกใน WordPress

WordPress มีระบบจัดการสมาชิกให้เราได้ใช้อย่างสะดวก เราสามารถเพิ่ม ลบ กำหนดสิทธิ์สมาชิกได้ตามต้องการ เราสามารถเพิ่มสมาชิกใหม่เข้ามาในเว็บไซต์ของเราได้ด้วยวิธีการดังนี้ จะมีรายชื่อผู้ใช้เพิ่มเข้ามาในหน้า Users การแก้ไขรายละเอียดสมาชิก เราสามารถแก้ไขรายละเอียดของสมาชิกได้ด้วยวิธีดังนี้ ที่หน้า Users ให้คลิกที่ชื่อสมาชิกที่ต้องการแก้ไขได้ทันที หรือเลื่อนเมาส์ไปวางในแถวของสมาชิกคนนั้นแล้วคลิกที่ Edit จะเข้าสู่หน้าแก้ไข สามารถแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ของสมาชิกได้ตามต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Update User เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง การลบสมาชิกออกจากระบบ ถ้าต้องการลบสมาชิกออกจากระบบ สามารถทำได้ดังนี้ การกำหนดสิทธิ์สมาชิกทีละหลายคน เราสามารถกำหนดสิทธิ์ใหสมาชิกทีละหลาย ๆ คนพร้อมกันได้โดยวิธีการดังนี้ การอนุญาตให้ผู้ใช้สมัครสมาชิกได้ ถ้าต้องการให้ผู้ใช้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราสามารถสมัครสมาชิกได้ สามารถทำได้ดังนี้ สร้างลิงค์สำหรับสมัครสมาชิก เมื่อได้กำหนดตั้งค่าให้ผู้ใช้สามารถสมัครสมาชิกได้ดังหัวข้อที่ผ่านมาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องทำก็คือ การสร้างเมนู หรือลิงค์สำหรับการสมัครสมาชิก ซึ่งลิงค์สำหรับไปยังหน้าเพจเพื่อสมัครสมาชิกของ WordPress…

การใช้งาน Widgets ใน WordPress

การใช้งาน Widgets ใน WordPress

Widgets วิดเจ็ท คือสคิปต์ขนาดเล็กที่มีไว้เพื่อแสดงผลบางอย่าง หรือเพื่อทำงานบางอย่าง สุดแล้วแต่ว่าผู้พัฒนาเขียนสคริปต์มาอย่างไร วิดเจ็ทช่วยให้เว็บไซต์ของเรามีสีสันมากขึ้น หรือมีความสามารถมากขึ้น เช่น สามารถแสดงปฏิทินในเว็บไซต์ของเราได้ แสดงบทความที่ได้รับความนิยม เป็นต้น พื้นที่แสดงวิดเจ็ท Widgets Area ในแต่ละธีมจะกำหนดพื้นที่แสดงวิดเจ็ทไว้ให้เราต่าง ๆ กันออกไป ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วมีดังนี้ Header ส่วนหัวของเว็บไซต์ โดยปกติจะเป็นพื้นที่วางเมนู ภาพส่วนหัวของเว็บไซต์ แต่ในบางธีมอาจสามารถวางวิดเจ็ทลงไปในส่วนนี้ได้ Body เป็นส่วนที่ใช้แสดงเนื้อหาของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นข้อความย่อหน้า รูปภาพ วิดีโอ หรืออื่น ๆ Sidebar พื้นที่สำหรับแสดงข้อมูลบางอย่างที่สำคัญรองลงมาจากเมนู เช่น หมวดหมู่บทความ บทความล่าสุด บทความยอดนิยม กล่องค้นหา เป็นต้น…

การใช้งานปลั๊กอิน Plugins ใน WordPress

การใช้งานปลั๊กอิน Plugins ใน WordPress

Plugins ปลั๊กอิน คือส่วนเสริมที่จะทำให้เว็บไซต์ WordPress ของเรามีความสามารถเพิ่มขึ้น เช่น อยากจะให้ใช้เว็บไซต์ของเราใช้งาน Google Fonts ได้ ก็ติดตั้งปลั๊กอิน Easy Google Fonts อยากให้เว็บไซต์ของเรามีตัวจัดการด้าน SEO ก็ติดตั้งปลั๊กอิน All in One SEO เป็นต้น เรียกได้ว่า ปลั๊กอินคือตัวเพิ่มความสามารถให้เว็บไซต์ WordPress และที่สำคัญ WordPress มีปลั๊กอินฟรีให้เราเลือกใช้ตั้งมากมาย การติดตั้งปลั๊กอิน Plugins ก่อนที่จะใช้ปลั๊กอินใด ๆ ได้นั้น เราต้องทำการติดตั้งปลั๊กอินก่อน โดยมีวิธีการดังนี้ จะเข้าสู่หน้าสำหรับเลือกหรือค้นหาปลั๊กอินเพื่อติดตั้ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ เมื่อเราตัดสินใจแล้วว่าจะติดตั้งปลั๊กอินตัวไหน ให้คลิกที่ปุ่ม Install…

การใช้งาน Reusable Block (สร้างบล็อกไว้ใช้เอง) ใน WordPress

การใช้งาน Reusable Block (สร้างบล็อกไว้ใช้เอง) ใน WordPress

Reusable เป็นชื่อบล็อกตัวหนึ่งที่มีให้ใช้อยู่ใน Gutenberg Editor สำหรับเป้าหมายการใช้งานของบล็อกตัวนี้ก็ตามชื่อเลยครับ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อย่างไม่จำกัด นั่นก็หมายความว่า เราสามารถสร้างบล็อกเพียงครั้งเดียว แล้วนำไปใช้กับบทความหรือเพจอื่น ๆ ได้ทั่วทั้งเว็บไซต์เลยทีเดียว การสร้าง Reusable Block ไว้ใช้งาน สำหรับขั้นตอนการสร้าง Reusable Block ไว้ใช้งานในเว็บไซต์ของเรานั้นก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เหมือนสร้างบล็อกทั่ว ๆ ไปนั่นเองครับ โดยมีวิธีการดังนี้ อันดับแรกให้สร้างโพสต์หรือเพจ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อนครับ ต่อมา ในหน้าโพสต์หรือเพจนั้น ให้เราสร้างบล็อกตามที่ต้องการ สร้างบล็อกอะไรก็ได้ที่เราอยากจะทำเป็น Reusable เช่น รูปภาพ, ตาราง, วิดีโอ หรืออื่น ๆ ตามใจเลยทีเดียว วิธีสร้างก็ทำเหมือนการสร้างบล็อกทั่ว…

การแทรกวิดีโอจาก YouTube ลงในบทความ ใน WordPress

การแทรกวิดีโอจาก YouTube ลงในบทความ ใน WordPress

YouTube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นที่จัดเก็บวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ เราสามารถอัพโหลดวิดีโอเข้าไปใน YouTube ได้อย่างไม่จำกัด และที่สำคัญคือสามารถใช้งานได้ฟรี ทำให้มีบุคคลจำนวนมากใช้บริการของ YouTube ในการเผยแพร่แจกจ่ายวิดีโอของตัวเอง ใน WordPress ถึงแม้ว่าเราจะสามารถแทรกไฟล์วิดีโอเข้ามาในบทความของเราได้ผ่านบล็อกที่ชื่อว่า Video แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดขนาดไฟล์วิดีโอที่สามารถอัพโหลดได้ในแต่ละครั้ง หรือพื้นที่จัดเก็บในโอสติ้งของเรามีจำนวนจำกัด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เรามีทางออกที่ดีกว่าในการแสดงวิดีโอในบทความของเรา นั่นก็คือ การอัพโหลดวิดีโอไว้ใน YouTube แล้วค่อยนำวิดีโอนั้นมาแสดงในบทความของเราผ่านบล็อกที่ชื่อว่า YouTube การแทรกวิดีโอจาก YouTube ในบทความ สำหรับวิธีการแทรกวิดีโอจาก YouTube ในบทความนั้นก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ บล็อก YouTube จะถูกเพิ่มเข้ามาในบทความของเราทันที หลังจากนั้นให้ทำดังนี้ เพียงแค่นี้เราก็จะได้วิดีโอจาก YouTube มาแสดงในบทความของเราแล้วครับ เราสามารถปร้บแต่งวิดีโอจาก…

Python ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับภาษาไพธอน Python

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับภาษาไพธอน Python

ภาษาไพธอน Python เป็นภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องด้วยรูปแบภาษาที่เรียนรู้ง่าย เรียบง่าย ใช้งานง่าย ประสิทธิภาพสูง ถูกพัฒนาขึ้นโดย Guido van Rossum ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งเป้าหมายของการใช้ภาษา Python มีดังนี้ Python ทำอะไรได้บ้าง ? ทำไมต้อง Python ?

การใช้งาน Google Fonts ใน WordPress ด้วยปลั๊กอิน Easy Google Fonts

การใช้งาน Google Fonts ใน WordPress ด้วยปลั๊กอิน Easy Google Fonts

Google Fonts เป็นบริการจาก Google ที่ให้เราสามารถเลือกฟอนต์สวย ๆ มาใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดฟอนต์มาติดตั้งที่ Server และใช้งานได้ฟรี (ฟรีเฉพาะการใช้งานในเว็บไซต์นะครับ) ซึ่งใน Google Fonts ก็มีฟอนต์ให้เราใช้งานได้หลากหลายทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีฟอนต์ไทยให้เราเลือกใช้ด้วยนะครับ ฟอนต์ไทยใน Google Fonts สำหรับฟอนต์ภาษาไทยที่มีให้ใช้ใน Google Fonts ในปัจจุบัน (ขณะเขียนบทความนี้ ต.ค. 62) ก็มีอยู่ 26 ฟอนต์ด้วยกัน ซึ่งมีรายชื่อฟอนต์และตัวอย่างดังนี้ ปล. ชื่อฟอนต์ที่เป็นภาษาไทย หากสะกดผิดก็ขออภัยด้วยนะครับ ผมก็สะกดไปตามที่คิดว่าใช่ ผิดพลาดประการใดขออภัยอย่างแรง (ถ้าผิดก็บอกด้วยครับจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง) อย่างที่ได้บอกไว้แต่ต้นว่า รายการฟอนต์ไทยที่นำมาแสดงในบทความนี้คือฟอนต์เท่าที่มีอยู่ในขณะเขียนบทความนี้ (ต.ค.…

WordPress การแทรกปุ่ม Button ในบทความ

WordPress การแทรกปุ่ม Button ในบทความ

Button เป็นบล็อกสำหรับเพิ่มปุ่มกดเข้ามาในบทความ โดยสามารถใส่ลิงค์ในปุ่ม กำหนดข้อความให้ปุ่ม กำหนดสีพื้นให้ปุ่ม กำหนดสีข้อความในปุ่ม เป็นต้น ในบางกรณีเมื่อเราเขียนบทความ เราอาจจะอยากเพิ่มปุ่มเข้ามาใช้งานในบทความของเรา เพื่อความดูดีมีสไตล์ก็ว่ากันไป ไม่ว่าเราจะสร้างปุ่มขึ้นมาด้วยเหตุผลใด เราสามารถทำได้ด้วยบล็อกที่ชื่อว่า Button การแทรกปุ่ม Button ในบทความ เราสามารถแรกปุ่ม Button เข้ามาใช้ในบทความด้วยวิธีดังนี้ บล็อก Button จะถูกเพิ่มเข้ามาในบทความของเราทันที หรือถ้าไม่ต้องการใส่ลิงค์ก็ให้ปล่อยว่างไว้ก็ได้ การตั้งค่าเพิ่มเติมให้ปุ่ม Button เราสามารถตั้งค่าต่าง ๆ เพิ่มเติมให้กับปุ่มที่เพิ่มเข้ามาในบทความได้ดังนี้

WordPress การใช้งานบล็อก Media & Text

WordPress การใช้งานบล็อก Media & Text

Media & Text เป็นบล็อกอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะบล็อกตัวนี้ทำให้เราสามารถวางไฟล์สื่อ เช่น รูปภาพ เสียง หรือวิดีโอ เป็นต้น พร้อมกับข้อความบรรยายไว้ข้าง ๆ กัน เช่น วางรูปภาพไว้ด้านซ้าย และมีคำบรรยายอยู่ด้านขวา เป็นต้น ทำให้บทความของเราดูน่าสนใจขึ้นมาได้เหมือนกัน การใช้งานบล็อก Media & Text ในบทความ สำหรับการแทรกบล็อก Media & Text เข้ามาในบทความนั้น ก็สามารถทำได้เหมือนการแทรกบล็อกชนิดอื่น ๆ บล็อก Media & Text จะถูกเพิ่มเข้ามาในบทความของเราทันที โดยมีรายละเอียดดังนี้ จากรูปด้านบน ฝั่งซ้ายมือของเราเป็นส่วน Media area…

WordPress การเขียนบทความแบบหลายคอลัมน์

WordPress การเขียนบทความแบบหลายคอลัมน์

Columns เป็นบล็อกที่ทำให้เราสามารถเขียนเนื้อหาในบทความของเราแบบแยกเป็นหลาย ๆ คอลัมน์ได้ เหมือนที่เราเคยเห็นในนิตยสารหรือหนังสือ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ที่แยกเนื้อหาออกเป็น 2 คอลัมน์บ้าง 3 คอลัมน์บ้าง หรือมากกว่านั้น ใน WordPress เราสามารถทำได้ง่าย ๆ ครับ การแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายคอลัมน์ เราสามารถแทรกบล็อกที่ชื่อว่า Columns ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Layout Elements เข้ามาในบทความของเรา เพื่อเขียนเนื้อหาเป็นหลายคอลัมน์ได้ดังนี้ บล็อก Columns จะถูกเพิ่มเข้ามาในบทความของเราทันที โดยค่าเริ่มต้นจะมีคอลัมน์ให้ทำงานได้จำนวน 2 คอลัมน์ด้วยกัน การเพิ่มจำนวนคอลัมน์ เมื่อเราเพิ่มบล็อก Columns เข้ามาในบทความ จะมีคอลัมน์ให้เราใช้งานได้ 2 คอลัมน์เป็นค่าเริ่มต้น แต่ถ้าเราต้องการให้มีหลายคอลัมน์กว่านั้น…

WordPress การแทรกตาราง Table ในบทความ

WordPress การแทรกตาราง Table ในบทความ

ใน WordPress รุ่นก่อนเวอร์ชัน 5 การที่จะแทรกตารางลงในบทความนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องอาศัยปลั๊กอินเสริม แต่ใน WordPress 5 เป็นต้นมา ได้ใช้อีดิเตอร์ตัวใหม่ และยังมีบล็อกที่ชื่อว่า Table มาให้เราใช้แทรกตารางลงในบทความโดยเฉพาะ การสร้างตารางในบทความของ WordPress จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป การแรกตาราง Table ลงในบทความ การแทรกตารางลงในบทความของเวิร์ดเพรสนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านบล็อกที่ชื่อว่า Table ในกลุ่ม Formatting ซึ่งมีวิธีทำดังนี้ บล็อก Table จะถูกเพิ่มเข้ามาในบทความ และเราต้องตั้งค่าบางอย่างสำหรับการสร้างตาราง ดังนี้ เราจะได้ตารางเข้ามาใช้ในบทความตามที่ได้ตั้งค่าไว้ แถบเครื่องมือด้านบนมีไว้สำหรับจัดรูปแบบจองตาราง เช่น ตำแหน่งการวาง รูปแบบตาราง เพิ่ม/ลบ แถวและคอลัมน์ เป็นต้น…