
เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 5 การใช้ฟังก์ชัน print
ในภาษา Python เมื่อต้องการแสดงข้อมูลออกทางหน้าจอ จะใช้ฟังก์ชัน print() พร้อมระบุข้อมูลที่ต้องการแสดง เช่น print(ข้อมูลที่ต้องการแสดง) หรือ print(ข้อมูล, ข้อมูล, ข้อมูล, …) โดยมีรายละเอียดที่ควรรู้ดังนี้
ข้อมูลที่จะแสดงด้วยฟังก์ชัน print()
ถ้าเป็นสตริง (ข้อความ) ให้เขียนไว้ในเครื่องหมาย ” ” หรือ ‘ ‘
ข้อมูลที่จะแสดงด้วยฟังก์ชัน print()
ถ้าเป็นตัวเลข สามารถเขียนลงไปได้โดยตรงเลย
ถ้าจะแสดงค่าจากตัวแปร ไม่ว่าตัวแปรนั้นจะเก็บข้อมูลชนิดใดก็ตาม สามารถเขียนตัวแปรลงไปได้โดยตรง
เมื่อใช้ฟังก์ชัน print()
หลังจากแสดงข้อความแล้วจะขึ้นบรรทัดใหม่โดยอัตโนมัติ
การใช้ฟังก์ชัน print()
แสดงข้อมูลหลายค่าในครั้งเดียว จะเป็นการแสดงข้อมูลเหล่านั้นในบรรทัดเดียวกัน
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน print()
name = 'Lucy' sirname = 'Johnson' print('Hello', 'My name is', name, sirname) #ผลลัพธ์ : Hello My name is Lucy Johnson
การใช้ฟังก์ชัน print() แบบซับซ้อน
นอกจากการใช้ฟังก์ชัน print() ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เรายังสามารถกำหนดตัวเลือกเพิ่มเติมขณะใช้ฟังก์ชัน print() ได้อีกด้วย ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
print(data, data, data, ..., sep=...)
print(data, data, data, ..., end=...)
print(data, data, data, ..., sep=..., end=...)
- data คือข้อมูล หรือตัวแปรที่เก็บค่าข้อมูลที่ต้องการนำมาแสดง ซึ่งจะมีจำนวนเท่าไหร่ก็ได้
- sep และ end เรียกว่า Keyword Argument เป็นตัวเลือกเพิ่มเติม จะระบุหรือไม่ก็ได้
sep มาจากคำว่า separator ใช้ระบุว่าเราต้องการคั่นระหว่างข้อมูลแต่ละตัวด้วยอะไร โดยค่าที่จะกำหนดให้ sep ต้องอยู่ในรูปแบบของสตริง ครอบด้วยเครื่องหมาย ” ” หรือ ‘ ‘ ซึ่ง sep นี้เราจะระบุหรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่ระบุ ข้อมูลจะถูกคั่นด้วยช่องว่าง
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชัน print แบบระบุ sep และไม่ระบุ sep
a = 'Lucy' b = 'Johnson' # ไม่ระบุ sep print('Wanchai', 'Wanida', a, b) # ผลลัพธ์ : Wanchai Wanida Lucy Johnson # ระบุ sep print('Wanchai', 'Wanida', a, b, sep=",") # ผลลัพธ์ : Wanchai,Wanida,Lucy,Johnson
end คือสิ่งที่จะเขียนต่อท้ายข้อมูลที่นำมาแสดงในฟังก์ชัน print() โดยค่าของ end ต้องอยู่ในรูปแบบของสตริง ครอบด้วยเครื่องหมาย ‘ ‘ หรือ ” ”
โดยปกติ เมื่อใช้ฟังก์ชัน print()
ถ้าไม่ระบุคีย์เวิร์ด end ข้อมูลที่แสดงจะถูกต่อท้ายด้วย ‘\n’ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำหรับการขึ้นบรรทัดใหม่
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชัน print() แบบระบุคีย์เวิร์ด end และไม่ระบุ
a = 'Lucy' b = 'Johnson' print('Wanchai', 'Wanida', a, b) print('Wanchai', 'Wanida', a, b, end="**") print('Wanchai', 'Wanida', a, b, end="")
ผลลัพธ์
Wanchai Wanida Lucy Johnson
Wanchai Wanida Lucy Johnson**Wanchai Wanida Lucy Johnson
ผลลัพธ์ของโค้ดบรรทัดที่ 3 (Wanchai Wanida Lucy Johnson) แสดงข้อมูลแล้วขึ้นบรรทัดใหม่ เพราะไม่ได้ระบุคีย์เวิร์ด end ตัวแปลภาษาจึงใส่ค่าตั้งต้นให้เป็น end=’\n’ โดยอัตโนมัติ ทำให้มีการขึ้นบรรทัดใหม่
ผลลัพธ์ของโค้ดบรรทัดที่ 4 และ 5 (Wanchai Wanida Lucy Johnson**Wanchai Wanida Lucy Johnson) ถูกแสดงผลในบรรทัดเดียวกัน เพราะโค้ดบรรทัดที่ 4 ระบุคีย์เวิร์ด end เป็น “**” ทำให้มีเครื่องหมาย ** ต่อท้ายข้อมูลและไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ดังนั้น ผลลัพธ์ของโค้ดบรรทัดที่ 5 จึงถูกแสดงออกมาในบรรทัดเดียวกันกับผลลัพธ์ของโค้ดในบรรทัดที่ 4 และไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ เพราะระบุคีย์เวิร์ด end แต่ไม่ได้ใส่ค่าใด ๆ เข้าไปนั่นเอง
เขียนโปรแกรมภาษา Python
- ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับภาษาไพธอน Python
- ตอนที่ 2 เตรียมเครื่องมือ
- ตอนที่ 3 Python Syntax
- ตอนที่ 4 การเขียนคอมเม้นต์
- ตอนที่ 5 การใช้ฟังก์ชัน print
- ตอนที่ 6 ตัวแปร
- ตอนที่ 7 การตั้งชื่อตัวแปร
- ตอนที่ 8 การกำหนดค่าให้ตัวแปรทีละหลายตัว
- ตอนที่ 9การแสดงค่าจากตัวแปร
- ตอนที่ 10 ตัวแปรประเภท Global
- ตอนที่ 11 ชนิดข้อมูล
- ตอนที่ 12 ข้อมูลชนิดตัวเลข
- ตอนที่ 13 การแปลงชนิดข้อมูล
- ตอนที่ 14 ข้อมูลชนิด String
- ตอนที่ 15 slice syntax
- ตอนที่ 16 การเปลี่ยนแปลงข้อมูล String
- ตอนที่ 17 การต่อข้อมูลชนิด String
- ตอนที่ 18 การจัดรูปแบบ String
- ตอนที่ 19 Escape Character
- เตอนที่ 20 เมธอด zfill()
- ตอนที่ 21 เมธอด upper()
- ตอนที่ 22 เมธอด title()
- ตอนที่ 23 เมธอด swapcase()
- ตอนที่ 24 เมธอด strip()
- ตอนที่ 25 เมธอด startswith()
- ตอนที่ 26 เมธอด splitlines()
- ตอนที่ 27 เมธอด split()
- ตอนที่ 28 เมธอด rstrip()
- ตอนที่ 29 เมธอด rsplit()
- ตอนที่ 30 เมธอด rpartition()
- ตอนที่ 31 เมธอด rjust()
- ตอนที่ 32 เมธอด rindex()
- ตอนที่ 33 เมธอด rfind()
- ตอนที่ 34 เมธอด replace()
- ตอนที่ 35 เมธอด partition()
- ตอนที่ 36 เมธอด lstrip()
- ตอนที่ 37 เมธอด lower()
- ตอนที่ 38 เมธอด ljust()
- ตอนที่ 39 เมธอด join()
- ตอนที่ 40 เมธอด isupper()
- ตอนที่ 41 เมธอด istitle()
- ตอนที่ 42 เมธอด isspace()
- ตอนที่ 43 เมธอด isprintable()
- ตอนที่ 44 เมธอด isnumeric()
- ตอนที่ 45 เมธอด islower()
- ตอนที่ 46 เมธอด isidentifier()
- ตอนที่ 47 เมธอด isdigit()
- ตอนที่ 48 เมธอด isdecimal()
- ตอนที่ 49 เมธอด isalpha()
- ตอนที่ 50 เมธอด isalnum()
- ตอนที่ 51 เมธอด index()
- ตอนที่ 52 เมธอด format()
- ตอนที่ 53 เมธอด find()
- ตอนที่ 54 เมธอด expandtabs()
- ตอนที่ 55 เมธอด endswith()
- ตอนที่ 56 เมธอด encode()
- ตอนที่ 57 เมธอด count()
- ตอนที่ 58 เมธอด center()
- ตอนที่ 59 เมธอด casefold()
- ตอนที่ 60 เมธอด capitalize()
- ตอนที่ 61 เมธอด format_map()
- ตอนที่ 62 เมธอด maketrans()
- ตอนที่ 63 เมธอด translate()
- ตอนที่ 64 ข้อมูลชนิด Boolean
- ตอนที่ 65 ตัวดำเนินการ
- ตอนที่ 66 ข้อมูลประเภท List
- ตอนที่ 67 การเข้าถึงสมาชิกใน List
- ตอนที่ 68 การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน List
- ตอนที่ 69 การเพิ่มข้อมูลใน List
- ตอนที่ 70 การลบข้อมูลใน List
- ตอนที่ 71 การเข้าถึงข้อมูลใน List ด้วย loop
- ตอนที่ 72 List Comprehension
- ตอนที่ 73 การเรียงข้อมูลใน List
- ตอนที่ 74 การคัดลอก List
- ตอนที่ 75 การรวม List เข้าด้วยกัน
- ตอนที่ 76 เมธอด append()
- ตอนที่ 77 เมธอด clear()
- ตอนที่ 78 เมธอด copy()
- ตอนที่ 79 เมธอด count()
- ตอนที่ 80 เมธอด extend()
- ตอนที่ 81 เมธอด index()
- ตอนที่ 82 เมธอด insert()
- ตอนที่ 83 เมธอด pop()
- ตอนที่ 84 เมธอด remove()
- ตอนที่ 85 เมธอด reverse()
- ตอนที่ 86 เมธอด sort()
- ตอนที่ 87 ข้อมูลชนิด Tuple
- ตอนที่ 88 การเข้าถึงข้อมูลใน Tuple
- ตอนที่ 89 การแก้ไขข้อมูลใน Tuple
- ตอนที่ 90 การแยกข้อมูลใน Tuple
- ตอนที่ 91 เข้าถึงข้อมูลใน Tuple ด้วยลูป
- ตอนที่ 92 การรวม Tuple เข้าด้วยกัน
- ตอนที่ 93 เมธอด count()
- ตอนที่ 94 เมธอด index()
- ตอนที่ 95 ข้อมูลประเภท Set
- ตอนที่ 96 การเข้าถึงข้อมูลใน Set
- ตอนที่ 97 การเพิ่มข้อมูลใน Set
- ตอนที่ 98 การลบข้อมูลใน Set
- ตอนที่ 99 การเข้าถึงข้อมูลใน Set ด้วยลูป for
- ตอนที่ 100 การจอย Join ข้อมูลใน Set
- ตอนที่ 101 เมธอด add()
- ตอนที่ 102 เมธอด clear()
- ตอนที่ 103 เมธอด copy()
- ตอนที่ 104 เมธอด difference()
- ตอนที่ 105 เมธอด difference_update()
- ตอนที่ 106 เมธอด discard()
- ตอนที่ 107 เมธอด intersection()
- ตอนที่ 108 เมธอด intersection_update()
- ตอนที่ 109 เมธอด isdisjoint()
- ตอนที่ 110 เมธอด issubset()
- ตอนที่ 111 เมธอด issuperset()
- ตอนที่ 112 เมธอด pop()
- ตอนที่ 113 เมธอด remove()
- ตอนที่ 114 เมธอด symmetric_difference()
- ตอนที่ 115 เมธอด symmetric_difference_update()
- ตอนที่ 116 เมธอด union()
- ตอนที่ 117 เมธอด update()
- ตอนที่ 118 ข้อมูลประเภท Dictionary