ดีครับดอทคอม

ดีครับดอทคอม

HTML Attributes แอททริบิวต์ในภาษาเอชทีเอ็มแอล

HTML Attributes แอททริบิวต์ในภาษาเอชทีเอ็มแอล

Attributes แอททริบิวต์ คือส่วนที่เราจะสามารถกำหนดข้อมูลเพิ่มเติมบางอย่างให้กับอีลิเมนต์ได้ โดยแอททริบิวต์จะอยู่ในแท็กเปิด Start Tag เสมอ และจะมาในรูปแบบ ชื่อแอททริบิวต์ตามด้วยค่าที่กำหนด เช่น name=”value” แอททริบิวต์ href การกำหนดลิงค์ให้ข้อความใน HTML จะใช้แท็ก <a> และจะกำหนดลิงค์ไว้ในแอททริบิวต์ href เช่น แอททริบิวต์ src, width, height, alt การแสดงรูปภาพใน HTML จะใช้แท็ก <img> และรูปภาพที่จะแสดงจะถูกกำหนดไว้ในแอททริบิวต์ src ความกว้างของรูปภาพจะถูกกำหนดไว้ในแอททริบิวต์ width ส่วนความสูงของรูปภาพจะถูกกำหนดไว้ในแอททริบิวต์ height ส่วนแอททริบิวต์ alt ใช้สำหรับระบุข้อความ alternative text…

HTML Elements อีลิเมนต์ของภาษาเอชทีเอ็มแอล

HTML Elements อีลิเมนต์ของภาษาเอชทีเอ็มแอล

โดยปกติ อีลิเมนต์ในภาษา HTML จะเริ่มต้นด้วยแท็กเปิด (start tag) และจบด้วยแท็กปิด (end tag) โดยจะแทรกเนื้อหา content ไว้ในระหว่างแท็กทั้งสอง ดังนี้ อีลิเมนต์ในภาษา HTML สามารถซ้อนกันได้ คืออีลิเมนต์หนึ่ง สามารถเป็นเนื้อหาของอีกอีลิเมนต์ได้ เช่น Empty Elements อีลิเมนต์เปล่าๆ อีลิเมนต์ที่ไม่มีเนื้อหาใด ๆ อยู่ภายใน เรียกว่า Empty Elements เช่น อิลิเมนต์ <br> (สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่) Empty Element อาจจะเป็นทั้งแท็กเปิดและแท็กปิดภายในแท็กเดียวกันได้ เช่น <br />

HTML Basic ภาษา HTML เบื้องต้น

HTML Basic ภาษา HTML เบื้องต้น

ทุกหน้าเว็บเพจจะต้องเริ่มต้นด้วยแท็ก <!DOCTYPE html> สำหรับประกาศว่าเอกสารนี้เป็นเอกสาร HTML เสมอ ต่อจากนั้นคือแท็ก <html> เป็นแท็กเริ่มต้น และสุดท้ายจะต้องปิดด้วย </html> เนื้อหาที่จะแสดงให้ผู้ใช้เห็นจะอยู่ระหว่างแท็ก <body> และ </body> ตัวอย่าง HTML Headings ส่วนหัวเรื่อง ส่วนหัวเรื่องในเนื้อหาของ HTML จะกำหนดด้วยแท็ก <h1> ถึง <h6> <h1> คือหัวเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด <h6> คือหัวเรื่องที่มีความสำคัญน้อยที่สุด HTML Paragraphs ย่อหน้าในเอชทีเอ็มแอล การขึ้นย่อหน้าใหม่ใน HTML จะใช้แท็ก <p></p> ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ HTML Links การแสดงลิงค์…

ทำความรู้จักกับภาษา HTML

ทำความรู้จักกับภาษา HTML

HTML คือภาษามาร์กอัปมาตรฐาน ( standard markup language ) สำหรับการสร้างเว็บไซต์ ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ ตัวอย่าง HTML Document HTML Tags HTML Tags ก็คือชื่อของอีลิเมนต์ ซึ่งจะครอบด้วยเครื่องหมาย angle brackets <> เช่น <tagname>content</tagname> เวอร์ชันของภาษา HTML ภาษา HTML ถูกพัฒนามาโดยลำดับ โดยมีลำดับเวอร์ชันดังนี้ เวอร์ชัน ปี (ค.ศ.) HTML 1991 HTML 2.0 1995 HTML 3.2 1997…

Python ตอนที่ 65 ตัวดำเนินการ

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 65 ตัวดำเนินการ

Operator หรือตัวดำเนินการ ใช้สำหรับดำเนินการกับตัวแปรหรือค่าต่าง ๆ เช่น บวก ลบ คูณ หาร กำหนดค่า เปรียบเทียบค่า เป็นต้น ภาษา Python แบ่งตัวดำเนินการออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ Arithmetic operators ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ Arithmetic operators ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ใช้สำหรับดำเนินการด้านคณิตศาสตร์พื้นฐานกับค่าที่เป็นตัวเลข มีตัวดำเนินการในกลุ่ม 7 ตัว ดังนี้ ตัวดำเนินการ + ( Addition ) สำหรับเพิ่มค่าให้กับตัวแปรหรือจำนวนใด ๆ เช่น ตัวดำเนินการ – (…

Python ตอนที่ 64 ข้อมูลชนิด Boolean

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 64 ข้อมูลชนิด Boolean

Boolean คือข้อมูลที่มีค่าเพียง 2 ค่า คือ จริง (True) และ เท็จ (False) ซึ่งในการเขียนโปรแกรม บ่อยครั้งที่เราจำเป็นต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขบางอย่างว่าเป็นจริงหรือไม่ เพื่อการตัดสินใจว่าจะทำสิ่งใดต่อไป และเราจะได้ผลลัพธ์กลับมาเป็น จริงหรือเท็จ เช่น x is not greater than y การตรวจสอบตัวแปรและค่าต่าง ๆ ด้วยฟังก์ชัน bool() เราสามารถใช้ฟังก์ชัน bool() ตรวจสอบตัวแปร และค่าต่าง ๆ ได้ โดยจะได้ผลลัพธ์กลับมาเป็นค่า True หรือ False เช่น อย่างไรก็ตาม ค่าข้อมูลเกือบทั้งหมดจะเป็น True…

การเข้าร่วมชั้นเรียนใน Google Classroom

การเข้าร่วมชั้นเรียนใน Google Classroom การที่นักเรียนจะสามารถเข้าร่วมชั้นเรียนใน Google Classroom ได้นั้น นักเรียนจะต้องได้รับอีเมลคำเชิญให้เข้าร่วมชั้นเรียนจากครูผู้สอนเสียก่อน เมื่อได้รับอีเมลคำเชิญให้เข้าร่วมชั้นเรียน ให้คลิกที่ปุ่ม “เข้าร่วม” ในอีเมล จะเข้าสู่หน้าให้ยืนยันการเข้าร่วม ให้คลิกปุ่ม “เข้าร่วม” เพื่อยืนยันการเข้าร่วมชั้นเรียน คลิกปุ่ม “ทำต่อ” จะเข้าสู่หน้าของชั้นเรียน หลังจากนี้ให้รอครูผู้สอนส่ง Class Code สำหรับการเข้าร่วมชั้นเรียนมาให้อีกที เมื่อครูผู้สอนได้ส่ง Class Code มาให้ทางอีเมลแล้ว ให้นักเรียนเปิดเข้าไปในอีเมลและทำการคัดลอก Class Code ที่ครูส่งมาให้ เพื่อใช้ในการเข้าร่วมชั้นเรียนต่อไป ที่หน้าแรกของ Google Classroom ให้นักเรียนคลิกที่เครื่องหมาย ➕ ที่มุมขวาด้านบน แล้วคลิกที่ “เข้าร่วมชั้นเรียน”…

การเชิญนักเรียนเข้าร่วมชั้นเรียน ใน Google Classroom

การเชิญนักเรียนเข้าร่วมชั้นเรียน ใน Google Classroom

การเชิญนักเรียนเข้าร่วมชั้นเรียน ใน Google Classroom การที่นักเรียนหรือใครก็ตามจะสามารถเข้าร่วมชั้นเรียนที่เราได้สร้างไว้ใน Google Classroom ได้นั้น นักเรียนจะต้องมีบัญชี gmail และส่งบัญชี gmail นั้้นให้ครูผู้สอน ก็คือผู้สอนต้องมีรายการบัญชี gmail ของนักเรียนแต่ละคนนั่นเอง โดยครูหรือผู้สอนจะใช้ gmail นี้ในการเชิญนักเรียนเข้าร่วมชั้นเรียน โดยมีวิธีการดังนี้ ที่หน้าแรกของ Google Classroom ในส่วนของชั้นเรียน ให้คลิกที่ลิงค์ นักเรียน (เลขจำนวนนักเรียนในชั้น) คน ที่ส่วนนักเรียน ให้คลิกสัญลักษณ์ (เชิญนักเรียน) ให้พิมพ์ชื่อหรืออีเมล์ของนักเรียนลงในช่อง “พิมพ์ชื่อหรืออีเมล” ระบบจะทำการค้นหาว่ามีชื่อหรืออีเมลนั้นอยู่ในระบบหรือไม่ เมื่อปรากฏชื่อหรืออีเมลแบบเต็มขึ้นมาให้คลิกเลือกได้เลย ถ้ามีนักเรียนหลายคน ให้พิมพ์อีเมลนักเรียนคนอื่น ๆ ต่อจนครบ เสร็จแล้วคลิกที่…

การสร้างชั้นเรียนใน Google Classroom

การสร้างชั้นเรียนใน Google Classroom

การลงชื่อเข้าใช้ Google Classroom การลงชื่อเข้าใช้ Google Classroom สามารถทำได้โดย ไปที่ จากนั้นคลิกที่ Sign in แล้วเลือก Google Classroom จะเข้าสู่หน้าลงชื่อเข้าใช้ ถ้าเรามีบัญชี G Suite Education ที่ทำการยืนยันโดเมนเรียบร้อยแล้ว ให้ลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีนั้นได้เลย แต่ถ้ายังไม่มี ให้ลงชื่อเข้าใช้ด้วย gmail แล้วคลิกปุ่ม “ทำต่อ” การสร้างชั้นเรียนใน Google Classroom เมื่อล็อกอินเข้าใช้งาน Google Classroom เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในหน้าแรก ให้คลิกที่ปุ่มเครื่องหมาย ➕ แล้วเลือก “สร้างชั้นเรียน” กรอกรายละเอียดแล้วคลิก…

สมัครใช้งาน G Suite Education เพื่อใช้บริการ Google Classroom

สมัครใช้งาน G Suite Education เพื่อใช้บริการ Google Classroom

สมัครใช้งาน G Suite Education เพื่อใช้บริการ Google Classroom การที่เราจะใช้บริการ Google Classroom ได้นั้น เราจะต้องสมัครใช้งาน G Suite Education เสียก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการสมัครดังนี้ สำดับแรก ให้เปิดไปที่ ลิงค์สำหรับสมัคร G Suite Education จะเข้าสู่หน้าดังภาพด้านล่าง ให้คลิกปุ่ม “ถัดไป” กรอกชื่อสถานศึกษา และระบุว่าสถาบันการศึกษาของเราเปิดสอนในระดับใด เสร็จแล้วคลิกปุ่ม “ถัดไป” ระบุเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา หรือถ้าเราไม่ใช่บุคลากรของสถาบันการศึกษาใด ๆ ก็ระบุเว็บไซต์ส่วนตัวไปก็ได้ หลังจากนั้นคลิกเลือกจำนวนนักเรียนและเจ้าหน้าที่ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม “ถัดไป” ระบุที่ตั้ง และเบอร์โทรศัพท์ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม…

การลบข้อมูลและรูปแบบข้อมูลใน Excel

การลบข้อมูลและรูปแบบข้อมูลใน Excel

ใน Excel ถ้าเราได้ทำการจัดรูปแบบการแสดงผลข้อมูลไว้ในเซลล์ เช่น สีฟ้อนต์ รูปแบบวันที่ รูปแบบการแสดงผลตัวเลข เป็นต้น หากเราทำการลบข้อมูลในเซลล์นั้น ๆ โดยการปกปุ่ม Delete จะเป็นการลบเพียงข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้ลบการจัดรูปแบบทิ้งไปด้วย เมื่อเราพิมพ์ข้อมูลใหม่ลงไป รูปแบบเดิมที่เราได้กำหนดไว้จะถูกนำมาใช้อัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลบข้อมูลพร้อมทั้งการจัดรูปแบบได้ หรือจะลบเฉพาะการจัดรูปแบบโดยไม่ลบข้อมูล ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยวิธีการดังนี้ ลำดับแรก ให้คลิกลากคลุมเพื่อเลือกเซลล์ที่ลบ คลิกที่ปุ่ทคำสั่ง Clear โดยจะมีตัวเลือกให้เลือกได้ดังนี้ ในตัวอย่าง เลือก Clear Formats คือลบเฉพาะการจัดรูปแบบ การจัดรูปแบบจะถูกลบทิ้งไป ส่วนข้ออมูลยังคงอยู่ ดังภาพ

Blogger การตั้งค่าให้บทความของบล็อก

Blogger การตั้งค่าให้บทความของบล็อก

เราสามารถตั้งค่าต่าง ๆ ให้บทความที่เขียนด้วย Blogger ได้หลากหลาย เช่น แสดงชื่อผู้เขียนบทความ แสดงวันเวลาที่เขียนบทความ กำหนดข้อความอ่านต่อ เป็นต้น โดยมีขั้นตอนดังนี้ ในหน้า “ตั้งค่าบทความบล็อก” สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ได้ดังนี้

Blogger การสร้างเมนูให้บล็อก

เมนู เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับการทำเว็บไซต์หรือทำบล็อก เพราะเมนูจะเป็นตัวนำทางผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์หรือบล็อก ไปยังส่วนต่าง ๆ ในเว็บไซต์หรือบล็อกของเรา การสร้างเมนูให้บล็อก ใน Blogger จะทำทีแก็ตเจ็ต “หน้าเว็บ” โดยมีวิธีการทำดังนี้ ในหน้า “กำหนดค่ารายการหน้าเว็บ” ให้ดำเนินการดังนี้ เมื่อเข้าไปดูในหน้าบล็อก จะเห็นว่า มีเมนูตามที่เรากำหนดในหน้าบล็อกเรียบร้อยแล้ว

Blogger การปรับแต่งส่วนหัวของบล็อก

Blogger การปรับแต่งส่วนหัวของบล็อก

ส่วนหัวของบล็อก เช่น การเปลี่ยนชื่อบล็อก, การเพิ่มคำอธิบายเพิ่มเติม, การกำหนดให้แสดงหรือไม่แสดงส่วนหัว เป็นต้น สามารถทำได้ดังนี้ หน้า “กำหนดค่าส่วนหัว” จะปรากฏขึ้นมา ให้เรากำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้ เมื่อกำหนดค่าต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม “บันทึก” เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย เมื่อเข้าไปดูในหน้าบล็อก จะเห็นว่าการตั้งค่าที่เราทำไป ได้ถูกนำไปใช้เรียบร้อยแล้ว จากตัวอย่าง เป็นการเพิ่มคำอธิบายเกี่ยวกับบล็อก

Blogger การเปลี่ยนไอคอนประจำบล็อก Favicon

Blogger การเปลี่ยนไอคอนประจำบล็อก Favicon

Favicon คือไอคอนประจำเว็บไซต์หรือบล็อก ซึ่งจะแสดงอยู่ด้านหน้า Title ด้านบนแท็บของเบราว์เซอร์ ซึ่งเป็นเหมือนโลโก้ประจำเว็บไซต์หรือบล็อก ใช้แสดงตัวตนของเว็บไซต์หรือบล็อกได้เป็นอย่างดี โดยปกติ Favicon ของบล็อกที่สร้างด้วย Blogger จะเป็นรูปโลโก้ของ Blogger ซึ่งใครสร้างบล็อกด้วย Blogger ก็จะได้ Favicon ที่เหมือนกันหมด ทำให้แลดูซ้ำ ๆ กัน ไม่น่าสนใจ แต่เราสามารถเปลี่ยน Favicon ดังกล่าว ให้เป็นรูปโลโก้ของเราเองได้ ด้วยวิธีดังนี้ คลิกปุ่ม Browse… เพื่อเลือกรูปภาพ คลิกเลือกรูปภาพแล้วคลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม “บันทึก” เมื่อเข้าไปดูที่หน้าบล็อกของเรา จะเห็นว่า Favicon ได้เปลี่ยนตามที่เราตั้งค่าแล้ว

Blogger การเปลี่ยนธีม Theme ให้บล็อก

Blogger การเปลี่ยนธีม Theme ให้บล็อก

Blogger ได้จัดเตรียมธีมพื้นฐานให้เราเลือกใช้ได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งหากเราไม่ชอบธีมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็สามารถเปลี่ยนธีมได้ง่าย ๆ ดังนี้ ที่หน้า Dashboard ให้คลิกที่เมนู “ธีม” จะมีธีมพื้นฐานของ Blogger ให้เราเลือกใช้จำนวนหนึ่ง คลิกที่ธีมที่ต้องการใช้งาน จะปรากฏตัวอย่างหน้าตาของเว็บไซต์ให้เห็น ถ้าต้องการใช้งานธีม ให้คลิกปุ่ม “ใช้กับบล็อก” เมื่อเข้าไปดูในหน้าบล็อกของเรา ก็จะเห็นว่าธีมใหม่ถูกนำไปใช้งานกับบล็อกแล้ว การปรับแต่งธีม นอกจากเลือกเปลี่ยนธีมแล้ว เรายังสามารถปรับแต่งธีมได้อีกด้วย โดยให้คลิกที่เมนู “ธีม” และภายใต้ตัวอย่างธีมให้คลิกปุ่ม “ปรับแต่ง” ปรับแต่งธีมได้ตามต้องการ เช่น เปลี่ยนภาพพื้นหลัง กำหนดแก็ตเจ็ต เป็นต้น การเปลี่ยนภาพพื้นหลัง เมื่อต้องการเปลี่ยนภาพพื้นหลัง ให้คลิกที่เมนู “พื้นหลัง” Blogger ได้เตรียมภาพพื้นหลังไว้ให้เราเลือกใช้จำนวนมาก หลังจากนั้นคลิกปุ่ม “ใช้กับบล็อก”…

Python ตอนที่ 14 ข้อมูลชนิด String

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 14 ข้อมูลชนิด String

Python Strings ข้อมูลชนิดสตริงหรือสายอักขระในภาษาไพธอน สามารถกำหนดด้วยเครื่องหมาย single quotation ‘ ‘ หรือ double quotation ” ” ก็ได้ จะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน เช่น ‘Hello World.’ หรือ “Hello World.” และเราสามารถแสดงค่าของสตริงออกมาโดยการใชัฟังก์ชัน print() ดังตัวอย่าง การกำหนดค่าข้อมูลประเภท String ให้กับตัวแปร เราสามารถกำหนดค่าข้อมูลชนิด String ให้กับตัวแปรได้โดยการสร้างตัวแปรขึ้นมา ตามด้วยเครื่องหมาย = และข้อความที่ต้องการกำหนดให้ตัวแปร ซึ่งต้องอยู่ภายในเครื่องหมาย ‘ ‘ หรือ ” ” การกำหนดค่าข้อมูลประเภท…

Blogger การสร้างหน้าเว็บให้บล็อก

Blogger การสร้างหน้าเว็บให้บล็อก

เพจ หน้าเพจ หรือ หน้าเว็บ ก็คือหน้าเว็บไซต์หน้าหนึ่งที่สามารถแสดงเนื้อหาต่าง ๆ ได้เหมือนกันกับบทความทั่ว ๆ ไป เพียงแต่หน้าเว็บนี้จะเป็นเอกเทศ ไม่ปะปนกับบทความทั่วไป และบทความต่าง ๆ ที่เราเขียนไปจะแสดงในหน้าแรกของบล็อกโดยอัตโนมัติ เรียงลำดับจากบทความใหม่ล่าสุดไปหาบทความเก่าสุดตามตำดับ และหน้าเว็บ หรือหน้าเพจ จะไม่แสดงให้เห็นในลักษณะนั้น ถ้าต้องการให้หน้าเว็บแสดง เราต้องสร้างเมนูเพื่อลิงค์ไปยังหน้าเว็บนั้น โดยปกติหน้าเว็บเราจะเอาไว้สำหรับแสดงเนื้อหาบางอย่างที่เป็นเอกเทศ เช่น หน้าติดต่อ หน้าเกี่ยวกับเรา เป็นต้น การสร้างหน้าเว็บใหม่ สามารถทำได้ดังนี้ จะเข้าสู่หน้าสำหรับเขียนเนื้อหาให้หน้าเว็บ เราสามารถเขียนเนื้อหาต่าง ๆ ลงไปได้เช่นเดียวกันกับการเขียนบทความ เมื่อเขียนหน้าเว็บและเผยแพร่หรือบันทึกเป็นที่เรียบร้อย หน้าเว็บที่เราสร้างไว้จะปรากฏอยู่ในหน้า “หน้าเว็บ” เราสามารถจัดการกับหน้าเว็บเหล่านี้ได้เช่นเดียวกันกับการจัดการบทความ ถ้าต้องการให้หน้าเว็บที่เราได้สร้างไว้แสดงต่อสาธารณชน เราต้องสร้างเมนูเพื่อลิงค์ไปยังหน้าเว็บนั้น ๆ

จัดการกับบทความใน Blogger

จัดการกับบทความใน Blogger

เมื่อเราเขียนบทความไปหลาย ๆ บทความ เราจะเห็นบทความเหล่านั้นปรากฏเรียงรายอยู่ในหน้า Dashboard โดยเรียงลำดับจากบทความที่ใหม่กว่าไปหาบทความที่เก่ากว่าตามลำดับ เราสามารถจัดการกับบทความเหล่านั้นได้อย่างสะดวกสบาย เมื่อเรานำเมาส์ไปชี้เหนือชื่อบทความใด ๆ จะมีคำสั่งย่อยปรากฏขึ้นมาที่ใต้ชื่อบทความนั้น ๆ ให้เราจัดการกับบทความนั้นได้อย่างสะดวก การจัดการทีละหลายบทความ เราสามารถจัดการกับบทความทีละหลายบทความได้ โดยการติ๊กเลือกที่หน้าบทความหลาย ๆ บทความ แล้วทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

Blogger การแทรกวิดีโอในบทความ

Blogger การแทรกวิดีโอในบทความ

เราสามารถแทรกวิดีโอเข้ามาในบทความใน Blogger ได้ง่ายมาก ๆ โดยสามารถอัพโหลดไฟล์วิดีโอจากเครื่องเราเอง หรือแทรก URL วิดีโอจาก Youtube ก็ได้เช่นกัน การอัปโหลดวิดีโอมาใช้งานในบทความ การอัปโหลดวิดีโอจากเครื่องคอมพ์พิวเตอร์ของเรามาใช้งานในบทความสามารถทำได้ดังนี้ ให้คลิกที่ตำแหน่งที่เราต้องการแทรกวิดีโอในบทความ แล้วคลิกที่สัญลักษณ์ (แทรกวิดีโอ) ที่แถบเครื่องมือด้านบน คลิกที่แท็บ “อัปโหลด” แล้วคลิกที่ปุ่ม “เลือกวิดีโอที่จะอัปโหลด” คลิกเลือกไฟล์วิดีโอที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม Open เพื่อเริ่มต้นการอัปโหลดวิดีโอ อีกวิธีหนึ่ง เราสามารถลากไฟล์วิดีโอจากเครื่องของเราเข้ามาวางในบริเวณกรอบเส้นประเลยก็ได้เช่นกัน วิดีโอของเราก็จะถูกอัปโหลดเข้ามาในบทความ ข้อเสียของการอัปโหลดวิดีโอจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามาไว้ในบทความก็คือ เราสามารถอัปโหลดไฟล์วิดีโอที่มีขนาดไม่เกิน 100 MB เท่านั้น ถ้าเราอัปโหลดไฟล์วิดีโอที่มีขนาดเกิน 100 MB จะเกิดข้อผิดพลาด และไม่สามารถอัปโหลดต่อได้ การแทรกวิดีโอจาก Youtube จากปัญหาเรื่องขนาดของไฟล์วิดีโอที่เราสามารถอัปโหลดได้ไม่เกิน 100…

Python ตอนที่ 13 การแปลงชนิดข้อมูล

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 13 การแปลงชนิดข้อมูล

บางทีเราอาจจะต้องการแปลงชนิดข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปเป็นชนิดหนึ่ง เช่น แปลงจาก int ไปเป็น float เป็นต้น ซึ่งในไพธอน สามารถทำได้ด้วยวิธีที่เรียกว่า Casting โดยจะใช้ Constructor functions ในการทำงาน ดังนี้ ตัวอย่างการใช้งาน int() int() ใช้สำหรับแปลงข้อมูลชนิดอื่น ๆ ให้เป็น integer โดยสามารถแปลงข้อมูลชนิด int, float, หรือ string ที่เป็นสตริงตัวเลข ดังตัวอย่าง จากโค้ดตัวอย่าง ค่าของตัวแปร a, b, c จะมีค่าเป็น 55, 72, 300 ตามลำดับ 5572300…

Python ตอนที่ 12 ข้อมูลชนิดตัวเลข

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 12 ข้อมูลชนิดตัวเลข

Python Numbers ข้อมูลชนิดตัวเลขในภาษาไพธอน มีอยู่ 3 ชนิด้วยกัน ดังนี้ ตัวอย่างการใช้งานชนิดข้อมูลตัวเลขทั้ง 3 แบบ ชนิดข้อมูล int int (integer) เป็นชนิดข้อมูลที่เก็ฐค่าข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ (ไม่มีจุดทศนิยม) และไม่จำกัดความยาว ตัวอย่างเช่น ชนิดข้อมูล float float (floating point number) คือชนิดข้อมูลที่เก็บค่าตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ทั้งค่าบวกและค่าลบ เช่น ชนิดข้อมูลแบบ float สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางวิทยาศาสตร์ที่มีตัวอักษร ‘e’ หรือ ‘E’ อยู่ด้วย (exponential) เช่น ชนิดข้อมูล complex complex คือชนิดข้อมูลที่เก็บข้อมูลจำนวนจินตภาพ…

Python ตอนที่ 11 ชนิดข้อมูล

เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 11 ชนิดข้อมูล

Python Data Types ชนิดข้อมูลในภาษาไพธอน มีให้เลือกใช้งานหลากหลายเช่นเดียวกับภาษาโปรแกรมอื่น ๆ และชนิดข้อมูลแต่ละชนิดก็มีเป้าหมายในการใช้งานที่แตกต่างกัน ในภาษาไพธอน มีชนิดข้อมูลให้ใช้งานดังนี้ กลุ่มชนิดข้อมูล ชนิดข้อมูล ข้อมูลประเภทตัวอักษร str ข้อมูลประเภทตัวเลข int, float, complex ข้อมูลประเภท Sequence list, tuple, range ข้อมูลประเภท Mapping dict ข้อมูลประเภทเซ็ท Set set, frozenset ข้อมูลประเภทค่าความจริง bool ข้อมูลประเภทไบนารี่ bytes, bytearray, memoryview การตรวจสอบชนิดข้อมูลของตัวแปร เราสามารถตรวจสอบชนิดข้อมูลของตัวแปรโดยใช้ฟังก์ชัน type() ดังตัวอย่าง จากโค้ดตัวอย่าง…

Blogger การแทรกรูปภาพในบทความ

Blogger การแทรกรูปภาพในบทความ

ถ้าต้องการแทรกรูปภาพในบทความ สามารถทำได้โดยการคลิกเมาส์ ณ จุดที่ต้องการแทรกรูปภาพในบทความ แล้วคลิกที่ ที่แถบด้านบน จะมีหน้าจอสำหรับแทรกรูปภาพปรากฏขึ้นมา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ การอัพโหลดภาพจากคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการอัพโหลดรูปภาพเข้ามาใช้ในบล็อกเกอร์ ให้คิกที่แท็บ “อัพโหลด” แล้วคลิกที่ปุ่ม “เลือกไฟล์” เพื่อเข้าไปเลือกรูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เลือกรูปที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม “Open” รูปจะถูกอัพโหลดเข้ามาในบล็อกของเรา ให้คลิกเลือกรูปที่เพิ่งอัพโหลดเข้ามา แล้วคลิกที่ปุ่ม “เพิ่มรายการที่เลือก” แล้วรูปจะถูกแทรกเข้ามาในบทความ ณ ตำแหน่งที่เราคลิกไว้แต่แรก แทรกรูปภาพที่มีอยู่แล้วในบล็อก ถ้าต้องการแทรกรูปภาพที่มีอยู่แล้วในบล็อก ให้คลิกที่แท็บ “จากบล็อกนี้” จะปรากฏรูปภาพที่มีอยู่ในบล็อก ให้เลือกรูปภาพที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม “เพิ่มรายการที่เลือก” แทรกรูปภาพจากอัลบั้มของ Google ถ้าต้องการแทรกรูปภาพที่เก็บอยู่ในอัลบั้มของ Google ซึ่งเชื่อมต่อกับบัญชี Gmail ที่เราใช้ในการลงทะเบียน Blogger ให้คลิกที่แท็บ…