ดีครับดอทคอม

ดีครับดอทคอม

Python ตอนที่ 83 ลบข้อมูลออกจากลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ระบุ ด้วยเมธอด pop()

ลบข้อมูลออกจากลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ระบุ ด้วยเมธอด pop()

เมธอด pop() ใช้สำหรับลบข้อมูลออกจากลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ระบุ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ คำว่า “Honda” จะหายไป เพราะคำนี้อยู่ในตำแหน่ง 1 ของลิสต์ [‘Toyota’, ‘Suzuki’, ‘Benz’] เมธอด pop() จะคืนค่ากลับมาเป็นข้อมูลที่ถูกลบ ดังนี้ ผลลัพธ์จะเป็น “Honda” เพราะเป็นข้อมูลที่ถูกลบไป Honda ถ้าไม่ระบุตำแหน่ง ค่าเริ่มต้นจะเป็น -1 ซึ่งหมายถึงข้อมูลลำดับสุดท้าย ผลลัพธ์ Benz

Python ตอนที่ 82 เพิ่มข้อมูลเข้าไปในลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยเมธอด insert()

เพิ่มข้อมูลเข้าไปในลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยเมธอด insert()

เมธอด insert() ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลเข้าไปในลิสต์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ [‘Toyota’, ‘Honda’, ‘BMW’, ‘Suzuki’, ‘Benz’]

Python ตอนที่ 81 ตรวจสอบตำแหน่งของค่าที่ระบุที่ปรากฏครั้งแรกในลิสต์ ด้วยเมธอด index()

ตรวจสอบตำแหน่งของค่าที่ระบุที่ปรากฏครั้งแรกในลิสต์ ด้วยเมธอด index()

เมธอด index() ใช้สำหรับตรวจสอบว่าค่าที่ระบุปรากฏอยู่ในตำแหน่งใดในลิสต์ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์จะเป็น 1 เพราะคำว่า “Honda” ปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ 2 ในลิสต์ (เริ่มนับจาก 0) เมธอด index() จะคืนค่าเป็นตำแหน่งของสมาชิกที่มีค่าตรงกับคำค้นหาที่ปรากฏเพียงครั้งแรกเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีสมาชิกที่มีค่าตรงกับคำค้นหามากกว่า 1 ก็ตาม ดังตัวอย่าง จากตัวอย่าง ผลลัพธ์จะเป็น 1 เพราะเป็นตำแหน่งแรกที่เจอคำว่า “Honda” ถึงแม้จะมีคำเดียวกันนี้ถึง 2 ที่ก็ตาม

Python ตอนที่ 80 เพิ่มข้อมูลจากลิสต์หนึ่งไปยังอีกลิสต์หนึ่งด้วยเมธอด extend()

เพิ่มข้อมูลจากลิสต์หนึ่งไปยังอีกลิสต์หนึ่งด้วยเมธอด extend()

เมธอด extend() ใช้สำหรับนำเอาข้อมูลสมาชิกในลิสต์หนึ่งไปต่อท้ายข้อมูลของอีกลิสต์หนึ่ง หรือนำเอาสมาชิกของข้อมูลประเภท iterable อื่น ๆ ไปต่อท้ายข้อมูลในลิสต์ปลายทาง มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ [‘Toyota’, ‘Handa’, ‘Mitsubishi’, ‘Mazda’, ‘MG’, ‘Benz’]

Python ตอนที่ 79 นับจำนวนรายการในลิสต์ที่มีค่าตามที่ระบุด้วยเมธอด count()

นับจำนวนรายการในลิสต์ที่มีค่าตามที่ระบุด้วยเมธอด count()

เมธอด count() ใช้สำหรับนับจำนวนสมาชิกในลิสต์ที่มีค่าตามที่ระบุว่ามีจำนวนเท่าไหร่ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์จะเป็น 2 เพราะมีคำว่า “Toyota” ปรากฏอยู่ในลิสต์ 2 ครั้ง คือมี 2 รายการนั่นเอง

Python ตอนที่ 78 คัดลอก List ด้วยเมธอด copy()

คัดลอก List ด้วยเมธอด copy()

เมธอด copy() ใช้สำหรับคัดลอกข้อมูลทั้งหมดในลิสต์ไปเก็บไว้ในตัวแปรอื่น โดยจะคืนค่ากลับมาเป็นลิสต์ที่กำหนด มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่าง ผลลัพธ์ ตัวแปร mycar จะมีข้อมูลเหมือนกันกับตัวแปร car [‘Toyota’, ‘Handa’, ‘Mitsubishi’]

Python ตอนที่ 75 การ join ข้อมูลประเภท List เข้าด้วยกัน

การ join ข้อมูลประเภท List เข้าด้วยกัน

ถ้าต้องการรวมข้อมูลประเภท List หลาย ๆ อันเข้าด้วยกัน สามารถทำได้โดยการใช้โอเปอเรเตอร์ + เพื่อเชื่อมลิสต์เข้าด้วยกัน ดังนี้ ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Asus’, ‘iPhone’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Sony’] วิธีรวมลิสต์อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ลูปเข้าถึงข้อมูลในลิสต์หนึ่งทีละรายการ แล้วนำข้อมูลนั้นมาต่อท้ายอีกลิสต์หนึ่งด้วยเมธอด append() ทำไปทีละรายการจนครบ ดังนี้ ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Asus’, ‘iPhone’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Sony’] นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้เมธอด extend() เพื่อนำข้อมูลจากลิสต์หนึ่งไปต่อท้ายอีกลิสต์หนึ่ง ดังนี้ ผลลัพธ์…

Python ตอนที่ 74 การคัดลอก List

การคัดลอก List

ถ้าต้องการคัดลอกข้อมูลประเภท List เราสามารถใช้ built-in method ของ List นั่นก็คือเมธอด copy() ดังนี้ ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Asus’, ‘iPhone’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Sony’] อีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้เมธอด list() ดังนี้ ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Asus’, ‘iPhone’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Sony’]

Python ตอนที่ 73 การเรียงข้อมูลใน List

การเรียงข้อมูลใน List

ข้อมูลประเภท List มีเมธอด sort() ซึ่งใช้เรียงข้อมูลตามตัวอักษรและตัวเลขจากน้อยไปหามากเป็นค่าเริ่มต้น ผลลัพธ์ [‘Asus’, ‘Nokia’, ‘Oppo’, ‘Samsung’, ‘Sony’, ‘Vivo’, ‘Wiko’, ‘iPhone’] [2, 6, 10, 15, 20, 50] ถ้าต้องการเรียงข้อมูลจากมากไปน้อย ก็สามารถทำได้โดยการใช้คีย์เวิร์ด reverse = True โดยมีรูปแบบดังนี้ [‘Wiko’, ‘Vivo’, ‘Sony’, ‘Samsung’, ‘Oppo’, ‘Nokia’, ‘Asus’, ‘Apple’] [50, 20, 15, 10, 6, 2]…

Python ตอนที่ 72 List Comprehension

List Comprehension

List comprehension คือวิธีการเขียน Syntax ให้สั้นลงเมื่อต้องการสร้าง List ใหม่ขึ้นมาและเก็บข้อมูลเฉพาะรายการที่มีข้อมูลที่เราต้องการจากลิสต์ที่มีอยู่เดิม โดยปกติถ้าเราต้องการดึงข้อมูลจากลิสต์ใด ๆ ก็ตามโดยให้คัดเอาเฉพาะรายการที่มีข้อมูลที่เราต้องการ แล้วเอารายการเหล่านั้นมาสร้างเป็นลิสต์ใหม่ เราจะใช้ลูป for ในการวนเข้าไปในรายการของลิสต์นั้นทีละตัวและตรวจสอบว่าแต่ละรายการมีข้อมูลที่เราต้องการหรือไม่ วนเข้าไปจนครบทุกรายการ ดังตัวอย่าง จากโค้ดตัวอย่าง เราต้องการค้นหารายการจากลิสต์ที่มีตัวอักษร “i” แล้วนำมาสร้างเป็นลิสต์ใหม่ จึงเขียนโค้ดได้ดังตัวอย่าง ผลลัพธ์ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Wiko’, ‘Nokia’] จากตัวอย่างด้านบนนั้น ถ้าใช้วิธีแบบ list comprehension เราจะสามารถเขียนโค้ดให้สั้นลงได้ดังนี้ ผลลัพธ์ก็จะได้เหมือนกันกับโค้ดก่อนหน้านี้ที่เขียนด้วยวิธีปกติ [‘iPhone’, ‘Vivo’, ‘Wiko’, ‘Nokia’] จะเห็นได้ว่า การใช้ list comprehension…

Python ตอนที่ 71 การเข้าถึงข้อมูลใน List ด้วย loop

การเข้าถึงข้อมูลใน List ด้วย loop

เราสามารถวนลูปเข้าถึงข้อมูลแต่ละตัวใน List ได้หลากหลายวิธี ลูป for การใช้ลูป for จะเป็นการเข้าถึงข้อมูลใน List ตั้งแต่ตัวแรกไปจนถึงตัวสุดท้าย ผลลัพธ์ SamsungAppleOppoVivo เราสามารถวนลูปเข้าถึงข้อมูลใน List ด้วยการระบุหมายเลขอินเด็กซ์ โดยการใช้ฟังก์ชัน range() ร่วมกับ len() ก็ได้เช่นกัน SamsungAppleOppoVivo ลูป while นอกจากลูป for แล้ว เรายังสามารถใช้ลูป while เข้าถึงข้อมูลใน List ได้ด้วย SamsungAppleOppoVivo การใช้งาน List Comprehension List Comprehension ก็คือการใช้ลูป for แบบสั้น…

Bootstrap 5 การสร้าง Dropdown Menu

Bootstrap 5 การสร้าง Dropdown Menu

Dropdown Menu คือเมนูที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถคลิกเลือกรายการ 1 เมนู จากรายการเมนูทั้งหมดที่บราจุอยู่ด้านใน ถ้าต้องการสร้างตัวคั่นระหว่างรายการเมนู สามารถทำได้โดยใช้คลาส .dropdown-divider ร่วมกับแท็ก <hr> การสร้างหัวเมนู ถ้าต้องการสร้างหัวเมนูเป็นรายการที่คลิกไม่ได้ เช่น เพื่อจะบอกว่าเมนูต่อไปนี้อยู่หมวดไหน เป็นต้น สามารถทำได้โดยใช้คลาส .dropdown-header ร่วมกับแท็กประเภท Heading ในตัวอย่าง มี Dropdown Header 2 จุด คือ “รายการอาหาร” และ “รายการเครื่องดื่ม” กำหนดสถานะ Active หรือ Disabled ถ้าต้องการไฮไลต์ให้รู้ว่าขณะนี้เมนูไหนกำลัง Active อยู่ สามารถทำได้โดยใช้งานคลาส .active ในเอลิเมนต์…

Bootstrap 5 การใช้งาน Card

Bootstrap 5 การใช้งาน Card

Card คือกล่องที่ประกอบไปด้วยส่วนหัว Header ส่วนเนื้อหา Body และส่วนท้าย Footer แสดงผลเป็นกล่องแบบมีกรอบและ Padding สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์และสวยงามดูดี ทั้งนี้ เราอาจสร้าง Card ที่มีแต่ส่วนเนื้อหา Body เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีส่วนหัวและส่วนท้ายก็ได้ การสร้าง Card สามารถทำได้โดยใช้แท็ก <div> พร้อมระบุคลาส .card เป็น Container และสร้างแท็ก <div> อีกตัวไว้ภายใน พร้อมระบุคลาส .card-body สำหรับบรรจุเนื้อหาที่ต้องการแสดง ถ้าต้องการเพิ่มส่วนหัว Header ให้ใช้แท็ก <div> พร้อมระบุคลาส .card-header และถ้าต้องการเพิ่มส่วนท้าย Footer ก็ให้ใช้แท็ก…

Bootstrap 5 การสร้าง List Groups

Bootstrap 5 การสร้าง List Groups

โดยปกติ การสร้าง List รายการทั่วไป เราจะใช้เอลิเมนต์ <ul> ครอบเอลิเมนต์ <li> ดังนี้ เราสามารถใช้ Bootstrap 5 สร้างกลุ่มรายการ List Group สวย ๆ ได้ โดยการระบุคลาส .list-group ในเอลิเมนต์ <ul> และระบุคลาส .list-group-item ในเอลิเมนต์ <li> ถ้าต้องการแสดงสถานะ Active ให้ระบุคลาส .active ในเอลิเมนต์ <li> List Group ที่เป็นลิงก์ ถ้าต้องการสร้าง List Group ที่เป็นลิงก์สำหรับคลิกได้ ให้ใช้เอลิเมนต์…

Bootstrap 5 กับการแบ่งหน้า

Bootstrap 5 กับการแบ่งหน้า

ถ้าเราสร้างเว็บเพจที่ต้องมีการแบ่งหน้าเว็บออกเป็นหลาย ๆ หน้า Bootstrap 5 สามารถช่วยเราตกแต่ง Pagination ให้สวยงามได้ การสร้างการแบ่งหน้า หรือ Pagination ด้วย Bootstrap 5 สามารถทำได้โดยใช้งานคลาส .pagination ร่วมกับเอลิเมนต์ <ul> และภายในเอลิเมนต์ <ul> ให้ใช้งานคลาส .page-item ร่วมกับเอลิเมนต์ <li> และใช้งานคลาส .page-link ร่วมกับเอลิเมนต์ <a> ที่อยู่ภายในเอลิเมนต์ <li> นอกจากนี้เรายังสามารถใช้คลาส .active ภายในเอลิเมนต์ <li> เพื่อแสดงสถานะหน้าปัจจุบันได้ด้วย ถ้าต้องการให้หน้าใด ๆ ไม่สามารถคลิกได้ เราสามารถใช้คลาส .disabled…

Bootstrap 5 การสร้าง Spinner

Bootstrap 5 การสร้าง Spinner

Spinner คือสัญลักษณ์วงกลมที่หมุนไปเรื่อย ๆ สำหรับแสดงสถานะว่าระบบกำลังทำงาน กำลังโหลด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้ว่าเว็บไซต์ของเราทำงานอยู่นะ ไม่ได้ค้างหรืออะไร ให้รอหน่อย เป็นต้น การสร้าง Spinner สามารถทำได้โดยใช้คลาส .spinner-border ร่วมกับเอลิเมนต์ <div> ถ้าต้องการกำหนดสีสันให้กับ Spinner เพื่อความสวยงาม ก็สามารถทำได้โดยใช้คลาสสำหรับกำหนดสีข้อความ เพื่อกำหนดสีสัน ดังนี้ Spinner แบบขยายขึ้น การใช้คลาส .spinner-border Spinner จะแสดงผลแบบหมุนตามเข็มนาฬิกาไปเรื่อย ๆ แต่เราสามารถกำหนดให้ Spinner แสดงผลแบบขยายใหญ่ขึ้น โดยการใช้คลาส .spinner-grow การกำหนดขนาด Spinner ถ้าเห็นว่า Spinner ขนาดปกติมีขนาดใหญ่เกิดนไป ก็สามารถทำให้เล็กลงได้…

Bootstrap 5 การสร้าง Progress Bar

Bootstrap 5 การสร้าง Progress Bar

Progress Bar ก็คือ แถบสถานะที่บ่งบอกความคืบหน้าของงานหรือกิจกรรมบางอย่าง เพื่อให้รู้ว่างานนั้น ๆ คืบหน้าไปแล้วเท่าไหร่ ใกล้เสร็จหรือยัง เป็นต้น เราสามารถใช้ Bootstrap 5 สร้าง Progress Bar ได้ โดยการสร้างเอลิเมนต์ <div> ขึ้นมา 1 อัน เพื่อทำหน้าที่เป็น Container และกำหนดคลาส .progress ให้กับเอลิเมนต์ดังกล่าว หลังจากนั้น สร้างเอลิเมนต์ <div> ขึ้นมาอีกหนึ่งอัน ภายในเอลิเมนต์ <div> ที่สร้างไว้ทีแรก และกำหนดคลาส .progress-bar และในเอลิเมนต์เดียวกันนี้ ให้กำหนด style width เป็นเปอร์เซ็นต์…

Bootstrap 5 การสร้าง Badge

Bootstrap 5 การสร้าง Badge

Badge มีไว้สำหรับแสดงข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากข้อมูลหลัก เช่น แสดงจำนวนตัวเลขการแจ้งเตือนใหม่ เป็นต้น หรือใช้งานอย่างอื่นในลักษณะเป็นป้าย การสร้าง Badge สามารถทำได้โดยการใช้คลาส .badge ร่วมกับเอลิเมนต์ <span> นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดสีพื้นหลังให้ Badge โดยการใช้ contextual classes (.bg-*) เพื่อกำหนดสีพื้นหลังให้ Badge ได้อีกด้วย จากตัวอย่างด้านบน เราจะได้ป้าย Badge เป็นกรอบสี่เหลี่ยม แต่ถ้าต้องการให้ Badge เป็นแบบมุมมน ก็สามารถทำได้โดยเพิ่มคลาส .rounded-pill เข้าไป เราสามารถใช้งาน Badge ภายในเอลิเมนต์อื่นได้ เช่น ปุ่มกด เป็นต้น

Python ตอนที่ 70 การลบข้อมูลใน List

การลบข้อมูลใน List

ถ้าต้องการลบข้อมูลใน List สามารถทำได้โดยการใช้เมธอด remove() โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่างการลบข้อมูลออกจากลิสต์ด้วยเมธอด remove() ผลลัพธ์ ก่อนการลบข้อมูล :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iPod’]หลังการลบข้อมูล :[‘iPhone’, ‘iPod’] ลบข้อมูลในตำแหน่งที่ระบุด้วยเมธอด pop() เราสามารถลบข้อมูลออกจากลิสต์ โดยการระบุตำแหน่ง Index ที่ต้องการลบ โดยใช้เมธอด pop() ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่างการลบข้อมูลออกจากลิสต์ด้วยเมธอด pop() ผลลัพธ์ ก่อนการลบข้อมูล :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iPod’, ‘iMac’, ‘MacBook’]หลังการลบข้อมูล :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iMac’, ‘MacBook’] ถ้าเราใช้เมธอด pop() โดยไม่ระบุอินเด็กซ์ จะเป็นการลบข้อมูลลำดับสุดท้ายออกจากลิสต์…

Python ตอนที่ 69 การเพิ่มข้อมูลใน List

การเพิ่มข้อมูลใน List

การเพิ่มข้อมูลในลิสต์ สามารถทำได้โดยการใช้เมธอด append() โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่างการเพิ่มข้อมูลในลิสต์ด้วยเมธอด append() การเพิ่มข้อมูลในลิสต์ด้วยเมธอด append() ข้อมูลที่ถูกเพิ่มเข้าไป จะไปอยู่ต่อท้ายข้อมูลเดิมในลิสต์ ผลลัพธ์ ข้อมูลก่อนเพิ่ม :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iPod’]ข้อมูลหลังเพิ่ม :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iPod’, ‘iMac’] แทรกข้อมูลในลิสต์ด้วยเมธอด insert() ถ้าต้องการแทรกข้อมูลใหม่ ณ ตำแหน่งใด ๆ ในลิสต์ สามารถทำได้โดยการใช้เมธอด insert() ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่างการแทรกข้อมูลในลิสต์ด้วยเมธอด insert() ผลลัพธ์ ก่อนการแทรกข้อมูล :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iPod’]หลังการแทรกข้อมูล :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iMac’, ‘iPod’]…

วิธีเปลี่ยนภาษาเมนู ไทย/อังกฤษ ใน Excel

วิธีเปลี่ยนภาษาเมนู ไทย/อังกฤษ ใน Excel

ถ้าเราได้ติดตั้งภาษาสำหรับ Microsoft Office ไว้หลายภาษา เราสามารถตั้งค่าสลับภาษาของเมนูแสดงผลในชุดโปรแกรม Microsoft Office ได้ โดยการตั้งค่านี้ จะมีผลกับชุดโปรแกรมทั้งหมดในชุด Microsoft Office ในบทความนี้จะแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนภาษาเมนูจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย มีวิธีการทำดังนี้ คลิกที่เมนู File คลิกคำสั่ง Options หน้าต่าง Options จะถูกเปิดขึ้นมา ให้คลิกที่แท็บ Language จะมีส่วนของภาษาอยู่สองส่วน ดังนี้ ถ้ายังไม่มีภาษาที่เราต้องการ ให้คลิกที่ปุ่ม Add a Language เพื่อเพิ่มภาษา ในบทความนี้ เราจะเปลี่ยนภาษาสำหรับแสดงผล จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ดังนั้น ให้ทำดัวนี้ เมื่อภาษาไทยเลื่อนไปอยู่ด้านบนสุดแล้ว ให้คลิกปุ่ม OK จะมีป๊อปอัพปรากฏขึ้นมาแจ้งเตือนว่า…

วิธีตรวจสอบว่าไฟล์ Workbook ถูกบันทึกไว้ที่ไหน

วิธีตรวจสอบว่าไฟล์ Workbook ถูกบันทึกไว้ที่ไหน

บางทีเราบันทึกไฟล์ไปแล้ว แต่ลืมไปว่าบันทึกไว้ที่ไหน เราสามารถตรวจสอบได้ว่า ไฟล์ที่เปิดอยู่ในขณะนั้น ถูกบันทึกไว้ที่ไหน ด้วยวิธีดังนี้ คลิกที่เมนู File ที่คำสั่ง Home ให้สังเกตที่หัวข้อ Recent ที่หัวข้อ Recent จะแสดงไฟล์ Workbook ที่เราเปิดล่าสุด และแสดงพาธที่ไฟล์นั้น ๆ ถูกบันทึกอยู่ด้วย หรือจะคลิกที่คำสั่ง Info ก็ได้ โปรแกรมก็จะแสดงชื่อไฟล์และพาธที่ไฟล์นั้นถูกบันทึกอยู่ให้เราได้เห็น

วิธีตั้งค่าธีมสำหรับ Microsoft Office

วิธีตั้งค่าธีมสำหรับ Microsoft Office

เราสามารถตั้งค่าธีม Theme ให้กับชุดโปรแกรม Microsoft Office ได้ ผ่านโปรแกรมตัวใดตัวหนึ่งในชุด โดยการตั้งค่าจะมีผลกับชุดโปแกรมทั้งหมดใน Microsoft Office เช่น ถ้าเราตั้งค่าธีมในโปรแกรม Excel การตั้งค่าธีมดังกล่าวจะมีผลกับโปรแรม Word, PowerPoint และโปรแกรมอื่น ๆ ในชุดด้วย สำหรับตัวอย่างในบทความนี้ จะทำผ่านโปรแกรม Excel ซึ่งมีวิธีดังนี้ ลำดับแรกให้คลิกที่เมนู File คลิกคำสั่ง Options หน้าต่าง Excel Options จะถูกเปิดขึ้นมา โปรแกรมจะนำชุดธีมที่เราเลือกมาใช้ทันที สำหรับตัวอย่างของธีมต่าง ๆ มีดังนี้ Colorful Dark Gray Black White