ดีครับดอทคอม

ดีครับดอทคอม

วิธีตั้งค่าธีมสำหรับ Microsoft Office

วิธีตั้งค่าธีมสำหรับ Microsoft Office

เราสามารถตั้งค่าธีม Theme ให้กับชุดโปรแกรม Microsoft Office ได้ ผ่านโปรแกรมตัวใดตัวหนึ่งในชุด โดยการตั้งค่าจะมีผลกับชุดโปแกรมทั้งหมดใน Microsoft Office เช่น ถ้าเราตั้งค่าธีมในโปรแกรม Excel การตั้งค่าธีมดังกล่าวจะมีผลกับโปรแรม Word, PowerPoint และโปรแกรมอื่น ๆ ในชุดด้วย สำหรับตัวอย่างในบทความนี้ จะทำผ่านโปรแกรม Excel ซึ่งมีวิธีดังนี้ ลำดับแรกให้คลิกที่เมนู File คลิกคำสั่ง Options หน้าต่าง Excel Options จะถูกเปิดขึ้นมา โปรแกรมจะนำชุดธีมที่เราเลือกมาใช้ทันที สำหรับตัวอย่างของธีมต่าง ๆ มีดังนี้ Colorful Dark Gray Black White

Python ตอนที่ 68 การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน List

การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน List

ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน List สามารถทำได้โดยการระบุอินเด็กซ์ของข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยน เช่น หมายถึง การกำหนดค่าให้ข้อมูลตัวแรก (อินเด็กซ์ 0) ใน List มีค่าเท่ากับ “iPod” มาดูตัวอย่างกันดีกว่า ผลลัพธ์ ข้อมูลก่อนการเปลี่ยนแปลง :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iPod’, ‘Samsung’, ‘Vivo’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Oppo’]ข้อมูลหลังการเปลี่ยนแปลง :[‘iPhone’, ‘iPad’, ‘iPod’, ‘Samsung’, ‘Asus’, ‘Wiko’, ‘Nokia’, ‘Oppo’] การเปลี่ยนแปลงข้อมูลแบบช่วง นอกจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทีละตัวแล้ว เรายังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน List ทีละหลาย ๆ ตัวได้โดยการเปลี่ยนแปลงแบบกำหนดอินเด็กซ์เป็นช่วง ซึ่งมีขั้นตอนคือ ดังแนวทางต่อไปนี้…

Python ตอนที่ 67 การเข้าถึงข้อมูลใน List

การเข้าถึงข้อมูลใน List

เราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เก็บอยู่ใน List โดยการระบุอินเด็กซ์ โดยอินเด็กซ์ของ List จะเริ่มจาก 0 ดังนั้น ถ้าเราต้องการเข้าถึงข้อมูลตัวแรกใน List เราสามารถเข้าถึงได้โดยการอ้างอิงอินเด็กซ์ลำดับ 0 ดังนี้ ผลลัพธ์ iPhone การระบุอินเด็กซ์ติดลบ การเข้าถึงสมาชิกข้อมูลใน List โดยใช้ตัวเลขจำนวนเต็มตามปกติ จะเป็นการเข้าถึงข้อมูลโดยนับเริ่มจากข้อมูลตัวแรกใน List ถ้าเราต้องการเข้าถึงข้อมูลโดยเริ่มจากข้อมูลลำดับสุดท้าย เราสามารถทำได้โดยการระบุอินเด็กซ์เป็นจำนวนติดลบ เช่น ข้อมูลตัวแรกนับจากท้ายสุด อินเด็กซ์เป็น -1 ข้อมูลตัวที่ 2 จากลำดับท้ายสุด อินเด็กซ์เป็น -2 ตามลำดับ ผลลัพธ์ iPod จากตัวอย่าง ระบุอินเด็กซ์เป็น -1 หมายถึง เอาข้อมูลตัวที่…

วิธีกำหนดฟอนต์เริ่มต้นใน Excel

วิธีกำหนดฟอนต์เริ่มต้นใน Excel

โดยปกติเมื่อเราสร้าง Workbook ขึ้นมา Excel จะกำหนดฟอนต์และขนาดฟอนต์ไว้ให้เราเป็นค่าเริ่มต้นแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า มันต้องไม่ตรงกับฟอนต์ที่เราใช้ประจำเป็นแน่แท้ ในที่ทำงานของเรา อาจกำหนดตายตัวแล้วว่า ต้องใช้ฟอนต์นี้เท่านั้น และขนาดฟอนต์ต้องเท่านี้ เป็นต้น เช่น ในหน่วยงานราชการ อาจกำหนดให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 16 เป็นต้น ถ้าเราต้องการกำหนดให้ Excel ใช้ฟอนต์ที่เราต้องการเสียเลยตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ย ก็ย่อมจะสามารถทำได้เช่นกัน โดยมีวิธีการดังนี้ คลิกที่เมนู File จากนั้นคลิกคำสั่ง Options หน้าต่าง Excel Options จะถูกเปิดขึ้นมา ให้ทำดังนี้ จะมีป๊อปอัพแจ้งว่า ให้ปิดและเปิดโปรแกรม Microsoft Excel ก่อน…

วิธีกำหนดจำนวน Worksheet เริ่มต้นใน Excel

วิธีกำหนดจำนวน Worksheet เริ่มต้น ใน Excel

ใน Excel 2021 เมื่อเราสร้าง Workbook ขึ้นมาใหม่ Excel จะสร้าง Worksheet สำหรับทำงานให้เราแค่ 1 ชีทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เราสามารถตั้งค่าใหม่ได้ โดยกำหนดให้ Excel สร้าง Worksheet เริ่มต้นให้เรามากกว่า 1 ชีทเมื่อสร้าง Workbook ใหม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ คลิกที่เมนู File คลิกที่คำสั่ง Options หน้าต่าง Excel Options จะถูกเปิดขึ้นมา เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย หลังจากนั้น เมื่อเราสร้าง Workbook ขึ้นมาใหม่ จะมี Worksheet ถูกสร้างมาให้อัตโนมัติตามจำนวนที่เรากำหนด

วิธีเพิ่ม Worksheet ใหม่ ใน Excel

วิธีเพิ่ม Worksheet ใหม่ ใน Excel

ใน Excel เมื่อเราสร้างเวิร์คบุ๊คขึ้นมาใหม่ Excel จะสร้าง Worksheet ให้อัตโนมัติ 1 Worksheet (สามารถตั้งค่าให้มากกว่านี้ได้) หากเราต้องการให้ใน 1 Workbook มีหลาย Worksheet เราสามารถเพิ่ม Worksheet ใหม่ได้เรื่อย ๆ โดยมีวิธีการดังนี้ หน้าต่าง Insert จะถูกเปิดขึ้นมา Worksheet ใหม่จะถูกเพิ่มเข้ามาด้านหน้า Worksheet ปัจจุบัน (Worksheet ที่เราคลิกขวา) เราสามารถคลิกที่ Worksheet ค้างไว้แล้วลากไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อเรียงลำดับใหม่ได้ตามต้องการ หรือวิธีที่เร็วที่สุดในการเพิ่ม Worksheet ใหม่ก็คือ คลิกที่สัญลักษณ์ ที่แถบ Worksheet Worksheet…

วิธีบันทึก Workbook ใน Excel

วิธีบันทึก Workbook ใน Excel

หลังจากที่เราทำงานเช่น เพิ่มข้อมูล ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ใน Workbook แล้ว สิ่งที่เราจะต้องทำแน่ ๆ คือ การบันทึก ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ คลิกที่สัญลักษณ์ ที่มุมซ้ายด้านบน หรือคลิกที่เมนู File หรือวิธีที่เร็ว ๆ อีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้คีย์ลัด โดยคลิกปุ่ม Ctrl + S บนคีย์บอร์ด หลังจากนั้น ในกรณีเป็นการบันทึกครั้งแรก ให้คลิกที่คำสั่ง Save หรือ Save As ก็ได้ ที่หัวข้อ Save As จะมีตัวเลือก 4 ตัวเลือก…

วิธีสร้าง Workbook ใหม่ ใน Excel

วิธีสร้าง Workbook ใหม่ ใน Excel

ใน Excel เมื่อต้องการสร้าง Workbook ใหม่ สามารถทำได้ดังนี้ คลิกที่เมนู File หลังจากนั้นคลิกที่ Blank workbook เพื่อสร้างเวิร์คบุ๊คว่าง ๆ ขึ้นมาทำงานได้ทันที เวิร์คบุ๊คว่าง ๆ จะถูกเปิดขึ้นมา ให้เราสามารถทำงานได้ตามสะดวก สร้าง Workbook จากเท็มเพลท วิธีที่สำเสนอด้านบนนั้น เป็นการสร้างเวิร์คบุ๊คแบบว่าง ๆ ขึ้นมาใช้งาน แต่ถ้าเราต้องการความรวดเร็ว เราสามารถสร้างเวิร์คบุ๊คจากเท็มเพลทที่ทางไมโครซอฟต์เตรียมไว้ให้ก็ได้ โดยวิธีการดังนี้ หลังจากคลิกที่เมนู File แล้ว ให้คลิกที่คำสั่ง New หรือคำสั่ง More templates ก็ได้เช่นกัน จะเข้าสู่หน้า New เราสามารถ…

Python ตอนที่ 61 การจัดรูปแบบ String ด้วยเมธอด format_map()

การจัดรูปแบบ String ด้วยเมธอด format_map()

เมธอด format_map() เป็นเมธอดสำหรับจัดรูปแบบสตริง คล้าย ๆ กับเมธอด format() มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ตัวอย่างการใช้งานเมธอด format_map() ผลลัพธ์ Python and Django are very good. Python จะนำค่าของคีย์ที่อยู่ใน Dictionary มาแทรกในสตริงตามตำแหน่งที่เราได้ระบุคีย์เอาไว้ {a} {b} ถ้าเราต้องการสร้างตัวแปรเก็บข้อมูลสตริงเอาไว้ก่อนก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น str = ‘{a} and {b} are very good.’ แล้วค่อยมาเรียกใช้เมธอด format_map() ภายหลัง ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน Python and Django…

Python ตอนที่ 63 การแทนที่ String ด้วยเมธอด translate()

การแทนที่ String ด้วยเมธอด translate()

เมธอด translate() เป็นเมธอดสำหรับแทนที่อักขระในสตริง โดยใช้งานร่วมกับเมธอด maketrans() ซึ่งเป็นเมธอดสำหรับสร้าง Mapping Table กำหนดรูปแบบการแทนที่อักขระ หรือใช้งานร่วมกับ Dictionary ที่กำหนดรูปแบบการแทนที่อักขระ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ใช้เมธอด translate() ร่วมกับ Dictionary Good morning Pim ใช้เมธอด translate() ร่วมกับ Mapping Table การใช้งานเมธอด translate() ร่วมกับ Mapping Table ต้องสร้าง Mapping Table ขึ้นมาก่อน โดยใช้เมธอด maketrans() แล้วเรียกใช้เมธอด translate() โดยส่ง Mapping…

Python ตอนที่ 62 การใช้งานเมธอด maketrans()

การใช้งานเมธอด maketrans()

maketrans() เป็นเมธอดสำหรับสร้าง Mapping Table เพื่อนำไปใช้กับเมธอด translate() เพื่อแทนที่สตริง มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ สำหรับพารามิเตอร์ทั้ง 3 ตัว มีรายละเอียดดังนี้ ตัวอย่างการใช้งานเมธอด maketrans() ร่วมกับเมธอด translate() Kotlin Is Fantastic สร้าง Mapping Table เพื่อแทนที่อักขระทีละหลายตัว Hi Karn! กำหนดอักขระที่ต้องการลบออกจากสตริง ถ้ามีอักขระใด ๆ ที่ต้องการให้ลบออกจากสตริง สามารถทำได้ด้วยการกำหนดอักขระเพิ่มเข้าไปในพารามิเตอร์ตัวที่ 3 Karn! เมธอด maketrans() ถ้าไม่ได้ใช้ร่วมกับเมธอด translate() จะคืนค่ากลับมาเป็น Dictionary ที่ประกอบด้วย Unicode…

Python ตอนที่ 19 Escape Character

Escape Character

มีอักขระพิเศษบางตัวที่เราไม่สามารถแทรกเข้ามาใน String โดยตรงได้ เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาด เช่น ถ้าเราครอบสตริงด้วยเครื่องหมาย Double Quote “” เราจะไม่สามารถแทรกเครื่องหมาย Double Quote ภายในสตริงนั้นได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เราสามารถแก้ปัญหาได้โดยการใช้งาน Escape Character คือการใช้เครื่องหมาย Backslash \ ตามด้วยอักขระพิเศษที่เราต้องการแทรกเข้าไปในสตริง เช่น ผลลัพธ์ You can call me “John”My name’s John

Python ตอนที่ 18 การจัดรูปแบบข้อมูลชนิด String

การจัดรูปแบบข้อมูลชนิด String

ใน Python เราสามารถนำข้อมูลชนิด String มาต่อกันด้วยเครื่องหมาย + ได้ แต่เราไม่สามารถนำข้อมูลชนิด String และ Number มาต่อกันด้วยเครื่องหมาย + ได้ เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดทันที อย่างไรก็ตาม เราสามารถแก้ปัญหาด้วยการใช้เมธอด format() โดยหลักการคร่าว ๆ มีดังนี้ My score is 100 เมธอด format() สามารถรับอากิวเมนต์ได้ไม่จำกัด ดังนั้น เราจะนำข้อมูลอื่น ๆ ทั้งตัวเลขและตัวอักษรเข้ามาแทรกในสตริงเท่าไหร่ก็ได้ โดยการวางวงเล็บปีกกา {} ไว้ ณ ตำแหน่งที่ต้องการแทรกค่าในสตริง ที่สำคัญคือ เวลาผ่านอากิวเมนต์เข้าไป ต้องเรียงลำดับให้ถูก…

Python ตอนที่ 17 การต่อข้อมูลชนิด String

การต่อข้อมูลชนิด String

ถ้ามีข้อมูลชนิด String หลายชุด และต้องการนำสตริงเหล่านั้นมาต่อกัน เราสามารถใช้เครื่องหมาย + เพื่อต่อสตริงเหล่านั้นได้ทันที PythonIsVeryGood ถ้าต้องการให้ชุดข้อมูลสตริงที่นำมาต่อกันมีการเว้นวรรค ก็สามารถเพิ่มสตริงว่างเข้าไปได้เลย โดยใช้เครื่องหมาย + เช่นเดิม Python Is Very Good

Python ตอนที่ 16 การเปลี่ยนแปลงข้อมูลชนิด String

การเปลี่ยนแปลงข้อมูลชนิด String

Python มี built-in methods สำหรับจัดการกับข้อมูลชนิด String จำนวนมาก ในบทความนี้จะแนะนำสักเล็กน้อย เปลี่ยนตัวอักษรพิมพ์เล็กให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เราสามารถเปลี่ยนตัวอักษรพิมพ์เล็กให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้ โดยใช้เมธอด upper() ผลลัพธ์ที่ได้คือ ตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมดในสตริง จะถูกแปลงให้กลายเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ PYTHON IS FANTASTIC เปลี่ยนตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ให้เป็นตัวพิมพ์เล็ก เราสามารถเปลี่ยนตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ให้กลายเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็กได้ โดยใช้เมธอด lower() โดยผลลัพธ์ที่ได้ ตัวอักษรทั้งหมดที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวพิมพ์เล็ก python is fantastic ลบช่องว่าง Whitespace ด้านหน้าและด้านหลังสตริง Whitespace คือช่องว่างที่อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังของข้อความ บ่อยครั้งที่เราเผลอเคาะ Spacebar เวลาพิมพ์ข้อความ อาจทำให้เกิด Whitespace ดังกล่าวได้ แต่เราสามารถลบ…

Python ตอนที่ 15 การตัดข้อมูชนิด String ด้วย slice syntax

การตัดข้อมูชนิด String ด้วย slice syntax

ในภาษา Python เมื่อเราต้องการตัดเอาข้อความเฉพาะบางส่วนจากตัวแปรที่เก็บข้อมูลประเภท String เราสามารถทำได้โดยการใช้ slice syntax ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ หมายเหตุ : อินเด็กซ์ของอักขระในสตริง เริ่มต้นที่ตำแหน่ง 0 จากโค้ดตัวอย่าง หมายถึง ให้ตัดเอาอักขระลำดับที่ 0 ถึงลำดับที่ 6 ลบ 1 คือ 0 1 2 3 4 5 เท่ากับคำว่า Python ตัดสตริงเริ่มจากตำแหน่งแรกสุด เราสามารถเว้นการระบุตำแหน่ง start เพื่อให้ตัดสตริงเริ่มจากอินเด็กซ์ลำดับแรก ก็ได้เช่นกัน จากตัวอย่าง ไม่ได้ระบุตำแหน่ง start ไพธอนจะรู้เองว่า ต้องเริ่มตัดสตริงจากตำแหน่งแรก…

Python ตอนที่ 10 ตัวแปรประเภท Global

ตัวแปรประเภท Global

ตัวแปรแบบ Global คือตัวแปรใด ๆ ที่สร้างไว้นอกฟังก์ชัน ซึ่งจะสามารถเรียกใช้ได้ทั้งในฟังก์ชันและนอกฟังก์ชัน Python is goodJava is good จะเห็นได้ว่า ตัวแปร quality สามารถเรียกใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกฟังก์ชัน เพราะเป็นตัวแปรแบบ Global นั่นเอง ถ้าเราสร้างตัวแปรที่มีชื่อเดียวกันทั้งภายในและภายนอกฟังก์ชัน ตัวแปรทั้ง 2 ตัว จะถือว่าเป็นคนละตัวแปรกัน ถึงแม้จะมีชื่อเดียวกันก็ตาม โดย Python is bestPython is good การใช้คีย์เวิร์ด global อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการสร้างตัวแปรแบบ Global ไว้ภายในฟังก์ชัน ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยการระบุคีย์เวิร์ด global ไว้ข้างหน้าตัวแปร…

Python ตอนที่ 9 การแสดงค่าจากตัวแปร

การแสดงค่าจากตัวแปร

ฟังก์ชัน print() เป็นฟังก์ชันสำหรับใช้แสดงค่าจากตัวแปรใน Python I love Python เราสามารถใช้ฟังก์ชัน print() แสดงค่าจากตัวแปรพร้อมกันทีละหลายตัว โดยคั่นตัวแปรแต่ละตัวด้วยเครื่องหมายคอมม่า , I love Python หรือจะใช้เครื่องหมาย + เพื่อแสดงค่าจากตัวแปรทีละหลายตัวพร้อมกันก็ได้เช่นกัน (แต่ผลลัพธ์จากแต่ละตัวแปรจะแสดงติดกันเป็นพรืดไปหมด) ILovePython การใช้เครื่องหมาย + ร่วมกับฟังก์ชัน print() กับตัวแปรประเภทตัวเลข จะเป็นการแสดงผลรวมของตัวแปรเหล่านั้น เช่น ข้อควรระวังคือ ห้ามใช้เครื่องหมาย + เพื่อเชื่อมตัวแปรที่เป็นชนิดตัวเลขกับตัวอักษร เพราะจะทำให้เกิด Error ดังนั้น ถ้าต้องการแสดงค่าจากตัวแปรทีละหลาย ๆ ค่า ควรคั่นตัวแปรแต่ละตัวด้วยเครื่องหมายคอมม่า , จะดีกว่า…

Python ตอนที่ 8 การกำหนดค่าให้ตัวแปรทีละหลายตัว

การกำหนดค่าให้ตัวแปรทีละหลายตัว

นอกจากการกำหนดค่าให้ตัวแปรทีละตัวตามปกติอย่างที่เราทำอยู่โดยทั่วไปในทุก ๆ ภาษาแล้ว Python ยังอนุญาตให้เราสามารถกำหนดค่าให้กับตัวแปลทีละหลาย ๆ ตัวพร้อมกันได้ โดยการประกาศตัวแปรหลาย ๆ ตัว โดยคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า , ตามด้วยเครื่องหมายเท่ากับ ตามด้วยค่าที่ต้องการกำหนดให้ตัวแปรแต่ละตัวตามลำดับ คั่นด้วยคอมม่าเช่นกัน มีรูปแบบดังนี้ ApplePapayaBananaOrange ทั้งนี้มีข้อที่ต้องระวังก็คือ จำนวนตัวแปรกับจำนวนค่าที่จะกำหนดให้ตัวแปร ต้องเท่ากัน ไม่เช่นนั้นจะเกิด Error กำหนดค่าค่าเดียวให้กับตัวแปรหลายตัว เราสามารถสร้างตัวแปรหลายตัวพร้อมกันและกำหนดค่าเดียวกันให้กับตัวแปรทุกตัวก็ได้ โดยการใช้รูปแบบดังนี้ ตัวแปรทุกตัวจะมีค่าเหมือนกัน AppleAppleAppleApple นำค่าจากคอลเล็คชั่นมากำหนดให้ตัวแปรหลายตัว ถ้าเรามีข้อมูลที่เก็บไว้ในรูปแบบ Collection เช่น List, Tuple เป็นต้น เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมากำหนดให้กับตัวแปรทีละหลายตัวได้ วิธีนี้เรียกว่า unpacking ApplePapayaBananaOrange ข้อที่ต้องระวังก็คือ จำนวนสมาชิกในคอลเล็กชัน…

Python ตอนที่ 7 การตั้งชื่อตัวแปร

การตั้งชื่อตัวแปร

การตั้งชื่อตัวแปรในภาษา Python จะตั้งชื่อสั้น ๆ ด้วยตัวอักษรตัวเดียว เช่น a, b, c ก็ได้ หรือจะตั้งเป็นชื่อยาว ๆ ที่สื่อความหมาย มีหลายตัวอักษร เช่น car, human ก็ได้เช่นกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎดังต่อไปนี้ ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรที่ถูกต้องในภาษา Python การตั้งชื่อตัวแปรโดยใช้คำหลายคำประกอบกัน เราสามารถตั้งชื่อตัวแปรเป็นคำหลาย ๆ คำประกอบกัน เพื่อให้สื่อความหมาย เช่น mynameis แต่อาจจะอ่านยากหน่อย เพราะเดายากว่ามันมีคำไหนประกอบกันบ้าง แต่ก็มีเทคนิคหลายเทคนิคที่นิยมใช้ในการตั้งชื่อตัวแปรเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน เช่น การตั้งชื่อตัวแปรแบบ Camel Case, Pascal Case และ Snake Case…

Python ตอนที่ 100 การ Join ข้อมูลใน Set

การ Join ข้อมูลใน Set

ถ้ามีข้อมูลประเภท Set ตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป เราสามารถนำ Set เหล่านั้นมารวมกันได้หลายวิธีด้วยกัน การจอย Set ด้วยเมธอด union() หรือเมธอด update() เราสามารถจอยหรือรวม Set ตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปเข้าด้วยกัน ด้วยเมธอด union() ซึ่งจะได้ Set ใหม่ที่รวมเอาสมาชิกของ Set ทั้งหมดเข้าด้วยกัน {‘iPad’, ‘iPhone’, ‘iPod’, ‘Wiko’, ‘Vivo’, ‘Oppo’, ‘Mac OS’} ถ้าจอย 2 Set ขึ้นไป ให้ใช้เครื่องหมายคอมม่า ,…

Python ตอนที่ 98 การลบข้อมูลใน Set

การลบข้อมูลใน Set

เราสามารถลบข้อมูลใน Set ได้โดยใช้เมธอด remove() หรือ discard() ตัวอย่างการลบข้อมูลด้วยเมธอด remove() แต่ต้องระวังให้ดี เพราะการลบข้อมูลใน Set ด้วยเมธอด remove() ถ้าข้อมูลน้้นไม่มีอยู่ใน Set จะทำให้เกิด Error ขึ้น ตัวอย่างการลบข้อมูลด้วยเมธอด discard() การลบข้อมูลใน Set ด้วยเมธอด discard() นั้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ระบุให้ลบจะไม่มีอยู่ใน Set ก็จะไม่เกิด Error ใด ๆ การลบข้อมูลใน Set ด้วยเมธอด pop() เราสามารถลบข้อมูลใน Set ด้วยเมธอด pop() ได้ด้วย…

Python ตอนที่ 97 การเพิ่มข้อมูลใน Set

การเพิ่มข้อมูลใน Set

หลังจากสร้างตัวแปรหรือข้อมูลประเภท Set ขึ้นมาแล้ว เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าข้อมูลใด ๆ ภายใน Set ได้ แต่เราสามารถเพิ่มข้อมูลใหม่เข้าไปใน Set ได้ เราสามารถเพิ่มข้อมูลที่ละ 1 ข้อมูล เข้าไปใน Set ได้ โดยใช้เมธอด add() {False, ‘iPad’, ‘iPhone’, ‘iPod’, ‘iLoveU’, ‘Samsung’} นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มข้อมูลจาก Set อื่น ๆ เข้ามาในอีก Set หนึ่ง ก็ได้ โดยใช้เมธอด update() {‘Samsung’, ‘iPad’, ‘Oppo’, ‘iPod’, ‘Vivo’,…