
เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 89 การแก้ไขข้อมูลใน Tuple
Tuple เป็นชนิดข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ คือเมื่อสร้างข้อมูลประเภท Tuple ขึ้นมาแล้ว เราจะเพิ่ม ลบ หรือแก้ไขข้อมูลใน Tuple นั้นโดยตรงไม่ได้
แต่ก็ไม่ต้องกังวล เมื่อทำโดยตรงไม่ได้ เราก็ทำอ้อม ๆ เอา โดยการแปลง Tuple ให้กลายเป็น List หลังจากนั้นจะแก้ไขข้อมูล ลบ หรือเพิ่ม ก็ทำได้ตามปรารถนา เสร็จแล้วก็แปลง List นั้นให้เป็น Tuple แค่นี้ก็เรียบร้อย ดังตัวอย่าง
myTuple = ("Asus", "Lenovo", "Acer", "Dell", "HP", "Apple", "Microsoft", "MSI") myList = list(myTuple) myList[0] = "Intel" myTuple = tuple(myList) print(myTuple)
- บรรทัดที่ 1 สร้างข้อมูลประเภท Tuple ขึ้นมา 1 ชุด
- บรรทัดที่ 2 ใช้ฟังก์ชัน
list()
แปลง Tuple ให้กลายเป็น List - บรรทัดที่ 3 แก้ไขค่าข้อมูลลำดับแรกในลิสต์ที่แปลงมาเป็น “Intel”
- บรรทัดที่ 4 ใช้ฟังก์ชัน
tuple()
แปลงลิสต์ที่แก้ไขข้อมูลแล้วให้กลับไปเป็น Tuple เหมือนเดิม
ผลลัพธ์ จะได้ Tuple ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเรียบร้อยแล้ว (ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนค่าใน Tuple โดยตรง)
(‘Intel’, ‘Lenovo’, ‘Acer’, ‘Dell’, ‘HP’, ‘Apple’, ‘Microsoft’, ‘MSI’)
การเพิ่มข้อมูลใน Tuple
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เราไม่สามารถทำการแก้ไข เพิ่ม หรือลบข้อมูลใน Tuple ได้
ถ้าต้องการเพิ่มข้อมูลใน Tuple ต้องแปลง Tuple ให้กลายเป็น List ก่อนแล้วค่อยเพิ่มข้อมูลเข้าไป หลังจากนั้นก็แปลงกลับมาเป็น Tuple เหมือนเดิม ดังตัวอย่าง
myTuple = ("Asus", "Lenovo", "Acer", "Dell", "HP", "Apple", "Microsoft", "MSI") myList = list(myTuple) myList.append("Intel") myTuple = tuple(myList) print(myTuple)
- บรรทัดที่ 1 สร้างข้อมูลประเภท Tuple ขึ้นมา 1 ชุด ชื่อว่า myTuple
- บรรทัดที่ 2 แปลง Tuple ให้กลายเป็น List ด้วยฟังก์ชัน
list()
- บรรทัดที่ 3 เพิ่มข้อมูลเข้าไปในลิสต์ ด้วยเมธอด
append()
- บรรทัดที่ 4 แปลง List กลับมาเป็น Tuple ด้วยฟังก์ชัน
tuple()
และเก็บไว้ในตัวแปร myTuple เหมือนเดิม
ผลลัพธ์ จะได้ Tuple ที่มีการเพิ่มข้อมูลใหม่เข้าไปเรียบร้อยแล้ว
(‘Asus’, ‘Lenovo’, ‘Acer’, ‘Dell’, ‘HP’, ‘Apple’, ‘Microsoft’, ‘MSI’, ‘Intel’)
อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือ การเพิ่มข้อมูลชนิด Tuple เข้าไปใน Tuple ต้นทาง คือสร้างข้อมูลประเภท Tuple ใหม่ขึ้นมา พร้อมกับกำหนดข้อมูลเข้าไปตามที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงนำ Tuple ใหม่ไปรวมกับ Tuple เดิม ดังตัวอย่าง
myTuple = ("Asus", "Lenovo", "Acer", "Dell", "HP", "Apple", "Microsoft", "MSI") newTuple = ("Intel",) myTuple += newTuple print(myTuple)
- บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปรเก็บข้อมูลแบบ Tuple ขึ้นมา 1 ตัว
- บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปรเก็บข้อมูลแบบ Tuple ขึ้นมาอีก 1 ตัว สำหร้บเก็บข้อมูลที่จะเพิ่มเข้าไปยัง Tuple ต้นทาง (ถ้าเก็บข้อมูลเพียงค่าเดียว ให้เพิ่มเครื่องหมายคอมม่า (,) เข้าไปด้านหลังด้วย แต่ถ้าเก็บข้อมูลมากกว่า 1 ค่า ก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มคอมม่าด้านหลัง แต่ต้องเพิ่มระหว่างข้อมูลแต่ละค่า)
- บรรทัดที่ 3 นำข้อมูลจาก Tuple ใหม่ไปเพิ่มให้กับ Tuple ต้นทาง โดยใช้โอเปอเรเตอร์
+=
ผลลัพธ์
(‘Asus’, ‘Lenovo’, ‘Acer’, ‘Dell’, ‘HP’, ‘Apple’, ‘Microsoft’, ‘MSI’, ‘Intel’)
การลบข้อมูลใน Tuple
แน่นอนว่าเราไม่สามารถลบข้อมูลใน Tuple โดยตรงได้ แต่เราสามารถทำวิธีทางอ้อมเหมือนการแก้ไขและการเพิ่มได้โดยการแปลง Tuple ให้เป็น List ก่อน ดังนี้
myTuple = ("Asus", "Lenovo", "Acer", "Dell", "HP", "Apple", "Microsoft", "MSI") myList = list(myTuple) myList.remove("MSI") myTuple = tuple(myList) print(myTuple)
- บรรทัดที่ 2 แปลง Tuple ต้นทางให้กลายเป็น List ด้วยฟังก์ชัน
list()
- บรรทัดที่ 3 ใช้เมธอด
remove()
ลบข้อมูลที่ต้องการออกจากลิสต์ - บรรทัดที่ 4 ใช้ฟังก์ชัน tuple() แปลงลิสต์กลับมาเป็น Tuple เหมือนเดิม
ผลลัพธ์ จะได้ Tuple ที่ถูกลับข้อมูลบางรายการออกไปแล้ว
(‘Asus’, ‘Lenovo’, ‘Acer’, ‘Dell’, ‘HP’, ‘Apple’, ‘Microsoft’)
การลบ Tuple
ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถ เพิ่ม ลบ หรือแก้ไขข้อมูลใน Tuple ได้ แต่ถ้าจะลบ Tuple ทิ้งไปเลย สามารถทำได้โดยใช้คีย์เวิร์ด del
ดังนี้
myTuple = ("Asus", "Lenovo", "Acer", "Dell", "HP", "Apple", "Microsoft", "MSI") del myTuple
Tuple จะถูกลบทิ้งอย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก
เขียนโปรแกรมภาษา Python
- ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับภาษาไพธอน Python
- ตอนที่ 2 เตรียมเครื่องมือ
- ตอนที่ 3 Python Syntax
- ตอนที่ 4 การเขียนคอมเม้นต์
- ตอนที่ 5 การใช้ฟังก์ชัน print
- ตอนที่ 6 ตัวแปร
- ตอนที่ 7 การตั้งชื่อตัวแปร
- ตอนที่ 8 การกำหนดค่าให้ตัวแปรทีละหลายตัว
- ตอนที่ 9การแสดงค่าจากตัวแปร
- ตอนที่ 10 ตัวแปรประเภท Global
- ตอนที่ 11 ชนิดข้อมูล
- ตอนที่ 12 ข้อมูลชนิดตัวเลข
- ตอนที่ 13 การแปลงชนิดข้อมูล
- ตอนที่ 14 ข้อมูลชนิด String
- ตอนที่ 15 slice syntax
- ตอนที่ 16 การเปลี่ยนแปลงข้อมูล String
- ตอนที่ 17 การต่อข้อมูลชนิด String
- ตอนที่ 18 การจัดรูปแบบ String
- ตอนที่ 19 Escape Character
- เตอนที่ 20 เมธอด zfill()
- ตอนที่ 21 เมธอด upper()
- ตอนที่ 22 เมธอด title()
- ตอนที่ 23 เมธอด swapcase()
- ตอนที่ 24 เมธอด strip()
- ตอนที่ 25 เมธอด startswith()
- ตอนที่ 26 เมธอด splitlines()
- ตอนที่ 27 เมธอด split()
- ตอนที่ 28 เมธอด rstrip()
- ตอนที่ 29 เมธอด rsplit()
- ตอนที่ 30 เมธอด rpartition()
- ตอนที่ 31 เมธอด rjust()
- ตอนที่ 32 เมธอด rindex()
- ตอนที่ 33 เมธอด rfind()
- ตอนที่ 34 เมธอด replace()
- ตอนที่ 35 เมธอด partition()
- ตอนที่ 36 เมธอด lstrip()
- ตอนที่ 37 เมธอด lower()
- ตอนที่ 38 เมธอด ljust()
- ตอนที่ 39 เมธอด join()
- ตอนที่ 40 เมธอด isupper()
- ตอนที่ 41 เมธอด istitle()
- ตอนที่ 42 เมธอด isspace()
- ตอนที่ 43 เมธอด isprintable()
- ตอนที่ 44 เมธอด isnumeric()
- ตอนที่ 45 เมธอด islower()
- ตอนที่ 46 เมธอด isidentifier()
- ตอนที่ 47 เมธอด isdigit()
- ตอนที่ 48 เมธอด isdecimal()
- ตอนที่ 49 เมธอด isalpha()
- ตอนที่ 50 เมธอด isalnum()
- ตอนที่ 51 เมธอด index()
- ตอนที่ 52 เมธอด format()
- ตอนที่ 53 เมธอด find()
- ตอนที่ 54 เมธอด expandtabs()
- ตอนที่ 55 เมธอด endswith()
- ตอนที่ 56 เมธอด encode()
- ตอนที่ 57 เมธอด count()
- ตอนที่ 58 เมธอด center()
- ตอนที่ 59 เมธอด casefold()
- ตอนที่ 60 เมธอด capitalize()
- ตอนที่ 61 เมธอด format_map()
- ตอนที่ 62 เมธอด maketrans()
- ตอนที่ 63 เมธอด translate()
- ตอนที่ 64 ข้อมูลชนิด Boolean
- ตอนที่ 65 ตัวดำเนินการ
- ตอนที่ 66 ข้อมูลประเภท List
- ตอนที่ 67 การเข้าถึงสมาชิกใน List
- ตอนที่ 68 การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน List
- ตอนที่ 69 การเพิ่มข้อมูลใน List
- ตอนที่ 70 การลบข้อมูลใน List
- ตอนที่ 71 การเข้าถึงข้อมูลใน List ด้วย loop
- ตอนที่ 72 List Comprehension
- ตอนที่ 73 การเรียงข้อมูลใน List
- ตอนที่ 74 การคัดลอก List
- ตอนที่ 75 การรวม List เข้าด้วยกัน
- ตอนที่ 76 เมธอด append()
- ตอนที่ 77 เมธอด clear()
- ตอนที่ 78 เมธอด copy()
- ตอนที่ 79 เมธอด count()
- ตอนที่ 80 เมธอด extend()
- ตอนที่ 81 เมธอด index()
- ตอนที่ 82 เมธอด insert()
- ตอนที่ 83 เมธอด pop()
- ตอนที่ 84 เมธอด remove()
- ตอนที่ 85 เมธอด reverse()
- ตอนที่ 86 เมธอด sort()
- ตอนที่ 87 ข้อมูลชนิด Tuple
- ตอนที่ 88 การเข้าถึงข้อมูลใน Tuple
- ตอนที่ 89 การแก้ไขข้อมูลใน Tuple
- ตอนที่ 90 การแยกข้อมูลใน Tuple
- ตอนที่ 91 เข้าถึงข้อมูลใน Tuple ด้วยลูป
- ตอนที่ 92 การรวม Tuple เข้าด้วยกัน
- ตอนที่ 93 เมธอด count()
- ตอนที่ 94 เมธอด index()
- ตอนที่ 95 ข้อมูลประเภท Set
- ตอนที่ 96 การเข้าถึงข้อมูลใน Set
- ตอนที่ 97 การเพิ่มข้อมูลใน Set
- ตอนที่ 98 การลบข้อมูลใน Set
- ตอนที่ 99 การเข้าถึงข้อมูลใน Set ด้วยลูป for
- ตอนที่ 100 การจอย Join ข้อมูลใน Set
- ตอนที่ 101 เมธอด add()
- ตอนที่ 102 เมธอด clear()
- ตอนที่ 103 เมธอด copy()
- ตอนที่ 104 เมธอด difference()
- ตอนที่ 105 เมธอด difference_update()
- ตอนที่ 106 เมธอด discard()
- ตอนที่ 107 เมธอด intersection()
- ตอนที่ 108 เมธอด intersection_update()
- ตอนที่ 109 เมธอด isdisjoint()
- ตอนที่ 110 เมธอด issubset()
- ตอนที่ 111 เมธอด issuperset()
- ตอนที่ 112 เมธอด pop()
- ตอนที่ 113 เมธอด remove()
- ตอนที่ 114 เมธอด symmetric_difference()
- ตอนที่ 115 เมธอด symmetric_difference_update()
- ตอนที่ 116 เมธอด union()
- ตอนที่ 117 เมธอด update()
- ตอนที่ 118 ข้อมูลประเภท Dictionary
- ตอนที่ 119 การเข้าถึงข้อมูลใน Dictionary
- ตอนที่ 120 การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Dictionary
- ตอนที่ 121 การเพิ่มข้อมูลใน Dictionary
- ตอนที่ 122 การลบข้อมูลใน Dictionary
- ตอนที่ 123 การวนลูปเข้าถึงสมาชิกใน Dictionary
- ตอนที่ 124 การคัดลอก Dictionary
- ตอนที่ 125 Dictionary ซ้อนกัน
- ตอนที่ 126 เมธอด clear()
- ตอนที่ 127 เมธอด copy()
- ตอนที่ 128 เมธอด fromkeys()
- ตอนที่ 129 เมธอด get()
- ตอนที่ 130 เมธอด items()
- ตอนที่ 131 เมธอด keys()
- ตอนที่ 132 เมธอด pop()
- ตอนที่ 133 เมธอด popitem()
- ตอนที่ 134 เมธอด setdefault()
- ตอนที่ 135 เมธอด update()
- ตอนที่ 136 เมธอด values()
- ตอนที่ 137 การตรวจสอบเงื่อนไขด้วย If statement
- ตอนที่ 138 การใช้ while loop