
เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 8 การกำหนดค่าให้ตัวแปรทีละหลายตัว
นอกจากการกำหนดค่าให้ตัวแปรทีละตัวตามปกติอย่างที่เราทำอยู่โดยทั่วไปในทุก ๆ ภาษาแล้ว Python ยังอนุญาตให้เราสามารถกำหนดค่าให้กับตัวแปลทีละหลาย ๆ ตัวพร้อมกันได้ โดยการประกาศตัวแปรหลาย ๆ ตัว โดยคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า ,
ตามด้วยเครื่องหมายเท่ากับ ตามด้วยค่าที่ต้องการกำหนดให้ตัวแปรแต่ละตัวตามลำดับ คั่นด้วยคอมม่าเช่นกัน มีรูปแบบดังนี้
var1, var2, var3 = "value 1", "value 2", "value 3"
fruit1, fruit2, fruit3, fruit4 = "Apple", "Papaya", "Banana", "Orange" print(fruit1) print(fruit2) print(fruit3) print(fruit4)
Apple
Papaya
Banana
Orange
ทั้งนี้มีข้อที่ต้องระวังก็คือ จำนวนตัวแปรกับจำนวนค่าที่จะกำหนดให้ตัวแปร ต้องเท่ากัน ไม่เช่นนั้นจะเกิด Error
กำหนดค่าค่าเดียวให้กับตัวแปรหลายตัว
เราสามารถสร้างตัวแปรหลายตัวพร้อมกันและกำหนดค่าเดียวกันให้กับตัวแปรทุกตัวก็ได้ โดยการใช้รูปแบบดังนี้
a = b = c = "Value"
ตัวแปรทุกตัวจะมีค่าเหมือนกัน
fruit1 = fruit2 = fruit3 = fruit4 = "Apple" print(fruit1) print(fruit2) print(fruit3) print(fruit4)
Apple
Apple
Apple
Apple
นำค่าจากคอลเล็คชั่นมากำหนดให้ตัวแปรหลายตัว
ถ้าเรามีข้อมูลที่เก็บไว้ในรูปแบบ Collection เช่น List, Tuple เป็นต้น เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมากำหนดให้กับตัวแปรทีละหลายตัวได้ วิธีนี้เรียกว่า unpacking
fruits = ["Apple", "Papaya", "Banana", "Orange"] a, b, c, d = fruits print(a) print(b) print(c) print(d)
Apple
Papaya
Banana
Orange
ข้อที่ต้องระวังก็คือ จำนวนสมาชิกในคอลเล็กชัน ต้องเท่ากับจำนวนตัวแปร ไม่เช่นนั้นจะเกิด Error