การเขียนบทความ Post ใน WordPress

การเขียนบทความ Post ใน WordPress

การเขียนบทความ Post ใน WordPress

การเขียนบทความ หรือการสร้างเนื้อหาในเว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress ของเราสามารถนำเสนอได้ 2 ช่องทางคือ ทางเพจ (หน้าเว็บเพจ) และทางบทความ Post

บทความ Post ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการทำเว็บไซต์ เพราะเป็นส่วนที่เราจะนำเสนอต่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ว่าเว็บไซต์ของเราเกี่ยวข้องกับอะไร หรือต้องการนำเสนออะไร เป็นต้น เช่น เราจะโพสต์ขายสินค้า หรือนำเสนอแนวคิด จะเผยแพร่ธรรมะ จะแจ้งข่าวสาร เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนต้องทำผ่านการเขียนบทความ Post ทั้งสิ้น

เมื่อต้องการเขียนบทความใน WordPress สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ครับ ในหน้า Dashboard ให้เอาเมาส์ชี้ที่ Posts ในส่วนของไซด์บาร์ด้านซ้ายมือ จะมีเมนูย่อยปรากฏออกมา ให้คลิกที่ Add New

เมนู Posts
สร้างบทความใหม่

หรือเอาเมาชี้ที่เมนู New ที่ด้านบน จะมีเมนูย่อยปรากฏขึ้นมา แล้วคลิกที่ Post ก็ได้เช่นกัน

เขียนบทความใหม่
เขียนโพสต์ใหม่

จะเข้าสู่หน้าสำหรับเขียนบทความใหม่

ตั้งชื่อบทความ

ในหน้าเขียนบทความ จะมีเพียงช่อง Add title มาช่องเดียว ให้เราใส่ชื่อบทความได้ที่นี่ เมื่อใส่ชื่อบทความเรียบร้อยแล้วต้องการเขียนเนื้อหาของบทความ ก็สามารถกดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดได้เลย ระบบจะเพิ่มบล็อกสำหรับเขียนเนื้อหาให้เราทันที โดยบล็อกเริ่มต้นจะเป็นบล็อกประเภท Paragraph สำหรับเขียนเนื้อหาทั่ว ๆ ไป ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนได้

การเพิ่มบล็อก
การเขียนบทความใน WordPress

เมื่อต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่ ให้คลิกที่เครื่องหมาย + ที่มุมซ้ายด้านบน แล้วคลิกเลือก Paragraph

การเขียนพารากราฟ

ระบบจะเพิ่มบล็อกชนิด Paragraph ใหม่ให้ทันที และเราก็สามารถเขียนเนื้อหาลงไปได้เลย

บล็อกที่เพิ่มใหม่

การแทรกรูปภาพในบทความ

WordPress ได้เตรียมบล็อกไว้ให้เราใช้งานได้หลายประเภท เช่น Image สำหรับแทรกรูปภาพในบทความ Audio สำหรับแทรกไฟล์เสียงในบทความ เป็นต้น สิ่งหนึ่งที่เราน่าจะทำเป็นประจำก็คือ การแทรกรูปภาพในบทความ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  1. คลิกที่เครื่องหมาย + ที่มุมซ้ายด้านบน
  2. คลิกเลือก Image
การแทรกรูปภาพในบทความ
การแทรกรูปภาพในบทความ

ระบบจะเพิ่มบล็อกสำหรับแทรกรูปภาพเข้ามาให้ทันที

เลือกอัพโหลดรูปภาพ

โดยเราสามารถแทรกรูปภาพได้ 3 ช่องทางคือ

  • ปุ่ม Upload สำหรับอัพโหลดรูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้ามาใช้งาน
  • ปุ่ม Media Library สำหรับเลือกรูปภาพที่มีอยู่ใน Media Library มาใช้งาน
  • ปุ่ม Insert from URL สำหรับนำ URL ของรูปภาพจากภายนอกหรือในเว็บไซต้ของเราเองมาใช้งาน
รูปภาพที่ได้
ตัวอย่างการแทรกรูปภาพในบทความ

การแทรกรูปภาพในแถวเดียวกันกับข้อความ (Inline Image)

การแทรกรูปภาพในวิธีที่ผ่านมา เป็นการแทรกรูปภาพแบบให้รูปภาพกับข้อความอยู่แยกจากกันเป็นเอกเทศ แต่ถ้าเราอยากจะแทรกรูปภาพให้อยู่ในแถวเดียวกันกับข้อความ สามารถทำได้ดังนี้

Inline Image
การแทรกรูปภาพในแถวเดียวกับข้อความ
แทรกรูปภาพในแถวเดียวกับข้อความ Inline Image
เลือกรูปภาพ
เลือกรูปภาพ
  1. ใช้เมาส์คลิกตรงที่ต้องการแทรกรูปภาพระหว่างข้อความ
  2. คลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยมใน Tool Box ด้านบนบล็อก
  3. คลิกเลือก Inline Image เพื่อแทรกรูปภาพ
  4. เลือกรูปภาพที่ต้องการแทรก
  5. คลิกปุ่ม Select

เพียงแค่นี้เราก็จะได้รูปภาพแทรกอยู่ในแถวเดียวกันกับข้อความแล้วครับ

รูปภาพในบทความ

การกำหนดความเป็นส่วนตัวให้บทความ

เราสามารถกำหนดความเป็นส่วนตัวให้บทความที่เขียนได้ โดยคลิกตัวเลือกหลังหัวข้อ Visibility ในส่วนของ Status & Visibility จะมีตัวเลือกให้เราสามารถเลือกได้ดังนี้

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
  • Public กำหนดให้บทความเป็นบทความสาธารณะ สามารถเห็นได้ทุกคน
  • Private กำหนดให้บทความนั้นสามารถเห็นได้เฉพาะผู้ใช้ระดับ Admin และ Editor เท่านั้น
  • Password Protected กำหนดให้บทความถูกป้องกันด้วยรหัสผ่าน โดยจะดูได้เฉพาะผู้ที่มีรหัสผ่านเท่านั้น

การกำหนดวันเวลาสำหรับเผยแพร่บทความ

เราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้บทความเผยแพร่วันเวลาไหน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการกำหนดวันเผยแพร่บทความล่วงหน้า เช่น ต้องการให้บทความถูกเผยแพร่ในอีก 1 เดือนข้างหน้า เป็นต้น

สำหรับการกำหนดวันเวลาเผยแพร่บทความนั้น สามารถทำได้โดยการคลิกที่ตัวเลือกวันเวลาหลังหัวข้อ Publish จะปรากฏวันเดือนปีและเวลาให้เราเลือกกำหนดได้ตามต้องการ

ตั้งค่าวันเวลาโพสต์

การปักหมุดบทความ

เราสามารถปักหมุดบทความให้แสดงอยู่ด้านบนสุดของโพสต์ในหน้าแรก โดยให้ติ๊กที่เช็กบ๊อกซ์หน้าหัวข้อ Stick to the top of the blog

การปกหมุดบทความ
การปักหมุดบทความ

โดยโพสต์ที่ถูกปักหมุดจะถูกโชว์อยู่ด้านบนสุดของหน้าแรก (กรณีที่เราตั้งค่าให้หน้าแรก (Home page) แสดงโพสต์ล่าสุด) และมีรูปเครื่องหมายหมุด ปรากฏอยู่ด้านหลังชื่อบทความ

บทความที่ถูกปักหมุด
บทความที่ถูกปักหมุด

การกำหนดหมวดหมู่ Category ให้บทความ

สิ่งหนึ่งที่ควรทำทุกครั้งที่เขียนบทความใหม่ก็คือ การเลือกหมวดหมู่ เพื่อจัดเก็บบทความอย่างเป็นระเบียบ ง่ายต่อการกรองบทความเพื่อแก้ไขในอนาคต และเพื่อให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรารู้ว่า บทความนั้น ๆ เกี่ยวข้องกับอะไร เป็นต้น โดยสามารถทำได้ดังนี้

ที่กล่องควบคุมทางด้านขวามือของเรา ให้เลือกที่แท็บ Document แล้วคลิกขยายรายการที่ Categories จะมีหมวดหมู่ต่าง ๆ ที่เราได้สร้างไว้ปรากฏขึ้นมา ต้องการให้บทความอยู่ในหมวดหมู่ไหน ก็ติ๊กที่หมวดหมู่นั้น ๆ ได้เลย

การตั้งหมวดหมู่บทความ

หรือจะคลิกที่ Add New Category เพื่อเพิ่มหมวดหมู่ใหม่ทันทีก็ได้เช่นกัน

การพรีวิวบทความ

การดูตัวอย่างบทความก่อนเผยแพร่

เมื่อเขียนบทความไปแล้วต้องการดูตัวอย่างก่อนที่จะเผยแพร่บทความนั้น ๆ สามารถทำได้โดยการคลิกที่ปุ่ม Preview ที่มุมขวาด้านบน ระบบจะเปิดไปยังหน้า Preview บทความ ให้เราสามารถดูตัวอย่างได้ทันทีว่าบทความที่เราเขียนนั้นจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรเมื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้ว

การบันทึกบทความเป็นฉบับร่าง

เมื่อเขียนบทความไปได้ประมาณหนึ่งแต่ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ หรือเขียนเสร็จแล้วแต่ยังไม่ต้องการเผยแพร่ต่อสาธารณชน เราสามารถบันทึกบทความนั้น ๆ เป็นฉบับร่างไว้ก่อน เพื่อที่จะกลับมาตรวจสอบ หรือมาเขียนเพิ่มเติมในภายหลังก่อนที่จะเผยแพร่ออกไปได้ โดยการคลิกที่ Save Draft ที่มุมขวาด้านบน ระบบจะบันทึกบทความของเราเป็นฉบับร่างทันที

การเผยแพร่บทความ

เมื่อเขียนบทความเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว พร้อมที่จะเผยแพร่สู่สายตาสาธารณชนแล้ว มาถึงตรงนี้ก็ไม่ต้องรออะไรแล้วครับ เราสามารถคลิกปุ่ม Publish… ที่มุมขวาด้านบน เพื่อเผยแพร่บทความของเราสู่สายตาสาธารณชนได้ทันที

การตั้ง Featured Image ให้บทความ

การตั้งค่า Featured image

เราสามารถตั้ง Featured Image หรือเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า รูปประจำบทความ ได้โดยการคลิกที่ Set Featured Image ในส่วน Featured Image ทางฝั่งขวามือ แล้วเลือกรูปภาพที่ต้องการทำเป็น Featured Image ได้เลย