
เขียนโปรแกรมภาษา Python ตอนที่ 130 ใช้งานเมธอด items() กับ Dictionary
เมธอด items()
จะรีเทิร์นค่ากลับมาเป็น view object ซึ่งภายในจะเก็บข้อมูลของ Dictionary แบบจับคู่ key-value ในรูปแบบ tuple ซ้อนอยู่ใน list อีกที มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
dictionary.items()
phone = { "model": "iPhone 14", "year": "2022", "price": "39,000" } myphone = phone.items() print(myphone)
ผลลัพธ์
dict_items([(‘model’, ‘iPhone 14’), (‘year’, ‘2022’), (‘price’, ‘39,000’)])
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ใน Dictionary ก็จะมีผลกับ view object ที่ได้จากเมธอด itmes()
ด้วยเช่นกัน
phone = { "model": "iPhone 14", "year": "2022", "price": "39,000" } myphone = phone.items() phone["price"] = 45000 print(myphone)
- บรรทัดที่ 1-5 สร้าง Dictionary ขึ้นมา 1 ชุด เก็บข้อมูลโทรศัพท์มือถือ
- บรรทัดที่ 4 กำหนดราคาไว้ 39,000
- บรรทัดที่ 7 เรียกใช้เมธอด
items()
โดยเก็บข้อมูลไว้ที่ตัวแปรmyphone
- บรรทัดที่ 9 เปลี่ยนแปลงข้อมูลราคาใน Dictionary ต้นทาง
- บรรทัดที่ 11 สั่งให้แสดงข้อมูลออกมาด้วยฟังก์ชัน
print()
ผลลัพธ์ ข้อมูลใน view object เปลี่ยนแปลงไปตามค่าของ Dictionary ต้นทางที่ถูกเปลี่ยนแปลง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Dictionary จะเกิดขึ้นทีหลังการเรียกใช้เมธอด items()
ก็ตาม
dict_items([(‘model’, ‘iPhone 14’), (‘year’, ‘2022’), (‘price’, 45000)])