การจัดการกับบทความ Posts ใน WordPress

การจัดการกับบทความ Posts ใน WordPress สามารถทำได้ง่ายและสะดวกสบาย เพราะเวิร์ดเพรสมีระบบจัดการบทความที่ใช้งานง่าย เราจึงจัดการกับบทความได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

สำรวจหน้าบทความ (Posts)

เมื่อเข้าสู่หน้าบทความ (Posts) เราจะเห็นกับรายการบทความต่าง ๆ ที่เราได้เคยเขียนไว้ และสามารถเลือกจัดการกับบทความได้อย่างง่ายดาย

การเขียนบทความใหม่

ถ้าต้องการเขียนบทความใหม่ สามารถทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม Add New หลังคำว่า Posts ที่มุมซ้ายด้านบนของหน้า

การตั้งค่าการแสดงผลของหน้าบทความ (Posts)

ถ้าต้องการตั้งค่าการแสดงผลของหน้าบทความ ว่าต้องการให้แสดงอะไรบ้าง สามารถทำได้โดยคลิกที่ Screen Options จะมีส่วนการตั้งค่าปรากฏขึ้นมาด้านบน ให้เลือกเลือกตั้งค่าได้ตามต้องการ

การตั้งค่า Screen Options
  • คลิกที่ Screen Options จะมีส่วนการตั้งค่าปรากฏขึ้นมา
  • ส่วน Columns สามารถติ๊กเลือกได้ว่าจะให้แสดงอะไรในตารางแสดงบทความบ้าง
  • ส่วน Pagination สามารถตั้งค่าจำนวนบทความที่ต้องการให้แสดงในแต่ละหน้าได้
  • ส่วน View Mode ตั้งค่ามุมมองในหน้าบทความ
  • เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Apply

การกรองบทความ

การกรองบทความในเวิร์ดเพรส

ถ้ามีบทความเป็นจำนวนมาก เราสามารถกรองบทความให้แสดงตามที่เราต้องการได้

  • All คือจำนวนบทความทั้งหมดที่มีในระบบ
  • Published คือจำนวนบทความที่เผยแพร่แล้ว
  • Draft คือจำนวนบทความที่เป็นฉบับร่าง
  • Trash คือจำนวนบทความที่ถูกลบ
  • เราสามารถกรองบทความตามเดือนและปีที่เขียนบทความโดยคลิกที่ All Dates แล้วจะมีรายการเดือนและปี ให้เราเลือกกรองบทความ แล้วคลิกปุ่ม Filter
  • เราสามารถกรองบทความตามหมวดหมู่ได้โดยคลิกที่ All Categories จะมีหมวดหมู่ปรากฏออกมาให้เราเลือก แล้วคลิกปุ่ม Filter

การค้นหาบทความ

การค้นหาบทความในเวิร์ดเพรส
การค้นหาบทความในเวิร์ดเพรส

เราสามารถค้นหาบทความได้โดยการกรอกชื่อบทความที่ช่องหน้าปุ่ม Search Posts แล้วคลิกที่ปุ่ม Search Posts ระบบก็จะแสดงบทความตามที่เราระบุ

การเรียกดูบทความ

ถ้าต้องการดูว่าบทความที่เราเขียนแสดงผลอย่างไร สามารถทำได้โดยการนำเมาส์ไปชี้ในบริเวณแถวของบทความ จะมีตัวเลือกปรากฏขึ้นมาภายใต้ชื่อบทความ ให้คลิกที่ Preview

การแก้ไขบทความ

เราสามารถเข้าไปแก้ไขบทความที่เคยเขียนไว้ได้โดยการคลิกที่ชื่อบทความ หรือนำเมาส์ไปชี้ในบริเวณแถวของบทความ จะมีตัวเลือกปรากฏขึ้นมาภายใต้ชื่อบทความ ให้คลิกที่ Edit ได้เลย

การแก้ไขบทความอย่างรวดเร็ว

การแก้ไขบทความอย่างรวดเร็ว

ถ้าไม่ได้ต้องการแก้ไขเนื้อหาในบทความ แต่ต้องการแก้ไขส่วนอื่น ๆ เราสามารถทำได้โดย การนำเมาส์ไปชี้ในบริเวณแถวของบทความ จะมีตัวเลือกปรากฏขึ้นมาภายใต้ชื่อบทความ ให้คลิกที่ Quick Edit จะปรากฏส่วนให้เราแก้ไข โดยเราสามารถแก้ไขได้ดังนี้

  • Title แก้ไขชื่อบทความ
  • Slug แก้ไข URL ของบทความ
  • Date แก้ไขวันเดือนปี
  • Password กำหนดให้ใส่รหัสผ่านหรือต้องค่าเป็น Private
  • Category กำหนดหมวดหมู่ให้บทความ
  • Tag แก้ไขแท็ก
  • อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แสดงความคิดเห็น
  • Status กำหนดสถานะให้บทความเช่น ตั้งเป็นฉบับร่าง หรือเผยแพร่ เป็นต้น
  • Make this post sticky ปัดหมุดให้บทความ

เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Update

การลบบทความ

เราสามารถลบบทความได้โดยการนำเมาส์ไปชี้ในบริเวณแถวของบทความ จะมีตัวเลือกปรากฏขึ้นมาภายใต้ชื่อบทความ ให้คลิกที่ Delete ได้เลย

การลบหลายบทความพร้อม ๆ กัน

เราสามารถลบบทความที่ละหลาย ๆ บทความพร้อม ๆ กันได้ โดยทำดังนี้

  1. ติ๊กเลือกเช็คบ๊อกซ์หน้าชื่อบทความ
  2. คลิกที่ Bulk Actions แล้วเลือก Move to Trash
  3. คลิกปุ่ม Apply

เพียงเท่านี้บทความที่เราเลือกก็จะถูกย้ายไปที่ถังขยะแล้วครับ

การลบบทความแบบถาวร

การลบบทความดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่ใช่การลบบทความออกจากระบบจริง ๆ แต่เป็นการย้ายบทความไปที่ถังขยะ ถ้าเราต้องการลบบทความเหล่านั้นออกจากระบบไปเลย สามารถทำได้ดังนี้

  1. คลิกที่ Trash จะเข้าสู่หน้าถังขยะ และแสดงรายการบทความที่มีอยู่ในถังขยะ
  2. คลิกปุ่ม Empty Trash เพื่อลบบทความทั้งหมดแบบถาวร

การคืนค่าบทความที่ถูกลบ

ถ้าเราได้ลบบทความไปแล้วและต้องการคืนค่าคือนำบทความนั้นกลับมาใช้เหมือนเดิม สามารถทำได้ดังนี้

  1. คลิกที่ Trash เพื่อเข้าสู่หน้าถังขยะ
  2. ติ๊กเลือกบทความที่ต้องการคืนค่า
  3. คลิกที่ Bulk Actions แล้วเลือก Restore (ถ้าเลือก Delete Permanently จะเป็นการลบแบบถาวร)
  4. คลิกปุ่ม Apply