ดีครับดอทคอม

จัดการกับไฟล์สื่อ Media ใน WordPress

จัดการกับไฟล์สื่อ Media ใน WordPress

จัดการกับไฟล์สื่อ Media ใน WordPress

จัดการกับไฟล์สื่อ Media ใน WordPress ให้อยู่หมด ด้วย Media Library ที่เวิร์ดเพรสจัดเตรียมไว้ให้เราจัดการกับไฟล์สื่อได้อย่างสะดวกสบาย

WordPress มีระบบจัดการกับไฟล์สื่อ ที่มีประสิทธิภาพ เราสามารถนำสื่อต่าง ๆ เข้ามาใช้งานในระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ไฟล์เอกสาร ไฟล์เสียง เป็นต้น ซึ่งเราสามารถจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านหน้า Media Library

เมื่ออยู่ในหน้า Dashboard ให้คลิกที่ Media หรือเอาเมาส์ไปลอยเหนือเมนู Media แล้วคลิกที่ Library ก็ได้เช่นกัน จะเข้าสู่หน้า Media Library

หน้า Media

การเพิ่มไฟล์สื่อเข้ามาในระบบ

ถ้าต้องการเพิ่มไฟล์สื่อใหม่เข้ามาใช้ในระบบ ให้คลิกที่ปุ่ม Add New จะมีส่วนเพิ่มเติมเข้ามาให้เราลากไฟล์ที่ต้องการเพิ่มมาวางในบริเวณกรอบเส้นประได้เลย หรือจะคลิกที่ปุ่ม Select Files ก็ได้เช่นกัน

การอัพโหลด Media

ถ้าเราคลิกลากไฟล์มาวางในบริเวณกรอบเส้นประ ระบบจะทำการอัพโหลดไฟล์เข้ามาให้เราทันที แต่ถ้าคลิกที่ Select Files เราจะต้องทำการเลือกไฟล์ก่อนแล้วค่อยอัพโหลดเข้ามา

เลือกไฟล์สื่อที่ต้องการอัพโหลด

เมื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการเรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม Open หลังจากนั้นระบบจะทำการอัพโหลดไฟล์เข้ามาสู่เว็บไซต์ของเรา

อัพโหลดไฟล์

เพียงแค่นี้เราก็จะได้ไฟล์สื่อต่าง ๆ มาใช้งานในเว็บของเราแล้วครับ

ไฟล์ในหน้าจอ Media

การแก้ไขรายละเอียดของไฟล์สื่อ

ไฟล์สื่อที่เราเพิ่มเข้ามาในระบบ เราสามารถแก้ไขรายละเอียดบางอย่างได้ โดยให้คลิกที่ไฟล์ที่ต้องการแก้ไข ในตัวอย่างเป็นไฟล์รูปภาพนะครับ

จัดการกับไฟล์สื่อ

จะเข้าสู่หน้าแสดงรายละเอียดของไฟล์นั้น ๆ ให้เราสามารถแก้ไขได้

การระบุ Alternative Text ให้ไฟล์รูปภาพ

ในตัวอย่างเป็นไฟล์รูปภาพ จะมีสิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ดังนี้

  1. Alternative Text ข้อความแทนรูปภาพในกรณีที่หน้าเว็บเพจไม่สามารถโหลดรูปภาพนั้นมาแสดงได้ Alternative Text จะปรากฏขึ้นมาแทน อย่างน้อยให้รู้ว่าส่วนนี้เป็นรูปอะไร
  2. Title เป็นชื่อของรูปภาพ ตั้งให้สื่อความหมายไว้ก็ดีครับ เพื่อผลทางด้าน SEO
  3. Caption เป็นคำอธิบายภาพสั้น ส่วนนี้จะแสดงผลอยู่ใต้รูปภาพ
  4. Description คำอธิบายเพิ่มเติม ว่ารูปนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง

เมื่อแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ตามต้องการแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม กากบาท ที่มุมขวาด้านบนได้เลย ระบบจะทำการบันทึกการแก้ไขให้เราโดยอัตโนมัติ

ในตัวอย่างเป็นไฟล์รูปภาพ จะสามารถแก้ไขรายละเอียดได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ถ้าเป็นไฟล์ประเภทอื่น ๆ ก็จะสามารถแก้ไขรายละเอียดได้มากบ้างน้อยบาง ต่าง ๆ กันไป เช่น ถ้าเป็นไฟล์ประเภท MP3 ก็จะสามารถแก้ไขชื่อศิลปินและชื่ออ้ลบั้มได้ เป็นต้น

การลบไฟล์สื่อ

ถ้าต้องการลบไฟล์สื่อใด ๆ สามารถทำได้โดยคลิกที่ไฟล์สื่อนั้น ๆ เหมือนที่กล่าวแล้วข้างต้น จะเปิดไดอะล๊อกสำหรับแก้ไขไฟล์ขึ้นมา

การลบไฟล์สื่อ

ให้คลิกที่ Delete Permanently เพื่อลบไฟล์อย่างถาวร ระบบจะให้เรายืนยันอีกครั้งว่าต้องการลบหรือไม่ ให้คลิกที่ปุ่ม OK เพื่อยืนยันการลบ

ยืนยันการลบ

เพียงแค่นี้ไฟล์ก็จะถูกลบออกจากระบบของเราแล้วครับ

การแก้ไขไฟล์รูปภาพ

สำหรับไฟล์รูปภาพ เรายังสามารถทำการแก้ไขอย่างอื่น ๆ นอกจากรายละเอียดได้อีก เช่น หมุนภาพ พลิกภาพ เป็นต้น โดยให้คลิกที่ไฟล์รูปภาพที่ต้องการแก้ไข แล้วระบบจะเปิดไดอะล๊อกสำหรับแก้ไขภาพขึ้นมา

การแก้ไขรูปภาพ

ให้คลิกที่ปุ่ม Edit Image เพื่อแก้ไขภาพ จะเข้าสู่หน้าสำหร้บแก้ไขภาพ

แก้ไขเสร็จแล้ว

โดยเราสามารถแก้ไขได้ดังนี้

  1. ครอปตัดภาพ
  2. หมุนภาพไปทางซ้าย
  3. หมุนภาพไปทางขวา
  4. พลิกภาพในแนวตั้ง
  5. พลิกภาพในแนวนอน
  6. Undo
  7. Redo

เมื่อทำการแก้ไขเรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม Save เพื่อบันทึกได้เลยครับ