การเช่าเว็บโฮสติ้ง Web Hosting ทีละขั้นตอน Step by Step

การเช่าเว็บโฮสติ้ง Web Hosting นั้นสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว หรือจะไม่ส่วนตัวก็ตาม แต่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเอง หรือไม่มีทุนพอที่จะเช่าเซิร์ฟเวอร์

เพราะถ้าไม่มีโฮสติ้ง หรือไม่มีเซิร์ฟเวอร์ เว็บไซต์ของเราก็จะไม่สามารถออนไลน์สู่สายตาชาวโลกได้ (จริง ๆ ก็ต้องมีโดเมนเนมด้วยจึงจะสมบูรณ์ แต่ในบทความนี้ขอพูดถึงเฉพาะการเช่าโฮสติ้งนะครับ)

สำหรับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งนั้นก็มีอยู่เยอะแยะมากมายเลยทีเดียว ชอบเจ้าไหนก็ลองศึกษาข้อมูลดูนะครับ ผมเองก็ใช้มาหลายเจ้า แต่ก็ไม่ค่อยถูกใจ เปลี่ยนไปเรื่อย

ขั้นตอนการเช่าเว็บโฮสติ้ง Step by Step

สำหรับขั้นตอนการเช่าเว็บโฮสติ้ง และหน้าตาของระบบของแต่ละเจ้าก็จะไม่เหมือนกัน แต่โดยรวมแล้วก็มีขั้นตอนที่คล้าย ๆ กัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ครับ

  • ตรวจสอบแพคเกจ
  • สั่งซื้อ
  • จำระเงิน
  • ใช้งาน

สำหรับขั้นตอนการเช่าเว็บโฮสติ้งนั้นก็ไม่ยากครับ สนใจเจ้าไหนก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเจ้านั้น ตรวจสอบดูแพคเกจของโฮสติ้งที่มีให้บริการว่าถูกใจหรือเปล่า ตัวอย่างแพคเกจก็ประมาณนี้ครับ มีหลายสเปค หลายราคา

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะเช่าโฮสติ้งกับเจ้าไหน ก็สมัครเป็นสมาชิกของเขาเสียก่อน

กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตามที่ระบบเขาต้องการ แล้วทำการส่งใบสมัครให้เรียบร้อย

เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้วก็ลงชื่อเข้าสู่ระบบเพื่อทำการสั่งซื้อโฮสติ้งต่อไปครับ

การเข้าสู่ระบบผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง

ตรวจสอบรายละเอียดแพคเกจให้ดีว่าต้องการแพคเกจไหน แล้วก็คลิกปุ่มสั่งซื้อเลย (แต่ละเจ้าก็จะมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ก็ดูพอเป็นแนวทางก็แล้วกันนะครับ)

ถ้าเรายังไม่มีโดเมน ก็สามารถสั่งซื้อโดเมนพร้อมเลยก็ได้ (ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนของค่าโดเมน) โดยต้องตรวจสอบก่อนว่าโดเมนที่จะจดใหม่นั้นมีเจ้าของหรือยัง โดยกรอกโดเมนที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม ตรวจสอบ

การจดโดเมนเนมใหม่

ถ้ามีโดเมนอยู่แล้ว แต่เช่ากับผู้ให้บริการรายอื่น และอยากย้ายมาให้ผู้ให้บริการรายใหม่ดูแล ก็สามารถทำได้ โดยกรอกโดเมนที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม โอนย้าย

การแจ้งย้ายโดเมนมาที่ใหม่

หรือกรณีที่เรามีโดเมนอยู่กับผู้ให้บริการรายอื่นอยู่แล้ว และไม่ต้องการย้าย ก็เลือกตัวเลือกตามรูปด้านล่างเลยครับ (เมื่อเช่าโฮสติ้งเรียบร้อยแล้ว ต้องไปทำการแก้ไข namesever ของโดเมนให้ชี้มายังโฮสติ้งใหม่) ใหักรอกโดเมนที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม ใช้โดเมนนี้

เลือกใช้โดเมนเดิมที่มีอยู่แล้ว

ระบบจะทำการสรุปให้ว่าเราเลือกแพคเกจไหน ต้องจ่ายเท่าไหร่ เป็นต้น ก็กดปุ่ม ดำเนินการต่อ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปได้เลย

ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งบางเจ้าก็จะกำหนดมาเลยว่า จะให้เราใช้ Control Panel ตัวไหน บางเจ้าก็อาจเปิดโอกาสให้เราเลือก อย่างในตัวอย่างมีให้เลือก 2 ตัว คือ Plesk และ DirectAdmin

เลือก Control Panel

หน้าตาของ DirectAdmin จะเป็นแบบนี้

ส่วนหน้าตาของ Plesk ก็จะประมาณนี้ครับ

ชอบ Control Panel ตัวไหน ก็เลือกได้ตามใจชอบเลยครับ

สำหรับผู้ให้บริการบางเจ้าอาจมีที่ตั้งศูนย์ข้อมูลอยู่ในหลาย ๆ ประเทศให้เราเลือกใช้ อย่างในตัวอย่างมีให้เลือ 4 ประเทศ ก็เลือกได้ตามชอบใจครับ (ควรเลือกโดยพิจารณาว่า ฐานผู้ชมส่วนใหญ่ของเราอยู่ประเทศไหน)

ตำแหน่งที่ตั้งศูนย์ข้อมูล

ขั้นตอนต่อไปคือการสรุปรายละเอียด และจำนวนเงินที่เราต้องชำระ

ระบุรายละเอียดแล้วคลิกปุ่ม ยืนยันการสั่งซื้อ

ระบบจะสรุปรายละเอียดคำสั่งซื้อ จำนวนเงินที่ต้องชำระ และช่องทางการชำระเงิน ให้เราทราบอีกครั้ง

และเมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ โดยปกติผู้ให้บริการจะส่งรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการสั่งซื้อและวิธีการชำระเงินให้เราทราบทางอีเมล์ที่เราได้ลงทะเบียนไว้

หลังจากนี้หน้าที่ของเราก็คือชำระเงินตามจำนวน ช่องทาง และวิธีการ ตามที่ผู้ให้บริการแนะนำ ซึ่งแต่ละเจ้าอาจมีช่องทางการชำระเงินมากน้อยต่างกัน

เมื่อชำระเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับการชำระเงินบางช่องทาง เช่น การโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ ATM เป็นต้น อาจจะต้องแจ้งการชำระเงินให้ผู้ให้บริการทราบ อันนี้ก็ต้องศึกษารายละเอียดแนวทางของผู้ให้บริการแต่ละเจ้า

ทีนี้ก็รอให้ผู้ให้บริการตรวจสอบรายละเอียดการชำระเงินของเรา ระหว่างนี้เว็บโฮสติ้งของเราจะยังใช้งานไม่ได้

เมื่อผู้ให้บริการได้ตรวจสอบการชำระเงินของเราเรียบร้อยแล้ว (ปกติใช้เวลาไม่นาน) ผู้ให้บริการจะตั้งค่าเว็บโฮสติ้งให้เราพร้อมใช้งาน และส่งรายละเอียดการใช้งานให้เราผ่านทางอีเมล์ที่เราได้ลงทะเบียนไว้

เมื่อมาถึงตรงนี้ เว็บโฮสติ้งของเราก็สามารถใช้งานได้เรียบร้อยครับ เราสามารถสร้างเว็บไซต์และไปตั้งค่า nameserver ของโดเมนของเราให้ชี้มาที่โฮสติ้งใหม่นี้ได้ทันที

สำหรับการเพิ่มเว็บไซต์ผ่าน DirectAdmin อ่านได้ที่นี่