ดีครับดอทคอม

ดีครับดอทคอม

การเขียนบทความใน WordPress รุ่นใหม่ ด้วยอีดิเตอร์รุ่นเก่า Classic Editor

การเขียนบทความใน WordPress รุ่นใหม่ ด้วยอีดิเตอร์รุ่นเก่า Classic Editor

Classic Editor เป็นอีดิเตอร์ที่ใช้งานมานานใน WordPress จนถึงเวอร์ชัน 4 เป็นอีดิเตอร์ที่ผู้ใช้งาน WordPress รู้จักคุ้นเคยกันดีมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ WordPress 5 เป็นต้นมา ทางเวิร์ดเพรสได้เปลี่ยนอีดิเตอร์มาใช้ Gutenberg แทน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ โดยแยกการทำงานในส่วนต่าง ๆ ออกเป็นบล็อกของใครของมัน เช่น ถ้าจะแทรกรูปภาพก็ต้องใช้บล็อก Image ถ้าจะเขียนพารากราฟก็ต้องใช้บล็อก Paragraph เป็นต้น นับว่าสะดวกสบายอยู่เหมือนกัน แต่สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับอีดิเตอร์ตัวเก่าก็คงจะไม่ชอบใจนัก เพราะมันแลดูงง ๆ อยู่ไม่น้อย การใช้งาน Classic Editor ถึงแม้ว่า WordPress จะเปลี่ยนอีดิเตอร์มาเป็นตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Gutenberg แล้ว…

การตั้งค่าขนาดไฟล์รูปภาพ ใน WordPress

การตั้งค่าขนาดไฟล์รูปภาพ ใน WordPress

ใน WordPress เราสามารถกำหนดขนาดไฟล์รูปภาพที่จะนำมาใช้ในบทความ ว่าจะให้มีขนาดไม่เกินเท่าไหร่ ขณะที่เราทำการอัพโหลดรูปภาพเข้ามาใช้ในเว็บไซต์ WordPress จะทำการปรับขนาดรูปภาพให้เราทันที โดยจะแยกเป็น 3 ขนาด การตั้งค่าขนาดรูปภาพ เราสามารถทำการตั้งค่าขนาดรูปภาพได้โดยการเข้าไปที่หน้า Image Settings โดยการคลิกที่เมนู Settings และคลิกเมนูย่อย Media จะเข้าสู่หน้า Media Settings ซึ่งเราสามารถตั้งค่าขนาดรูปภาพได้ดังนี้ เมื่อตั้งค่าต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม Save Changes เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง

การเติมข้อมูลอัตโนมัติด้วย Auto Fill ใน Excel

การเติมข้อมูลอัตโนมัติด้วย Auto Fill ใน Excel

ใน Excel จะมีจุดจับเติมที่เรียกว่า Fill Handle ซึ่งจะปรากฏอยู่ที่มุมล่างขวาของเซลล์ เป็นเครื่องหมายบวก ➕ ซึ่งจะปรากฏก็ต่อเมื่อเรานำเมาส์ไปวางตรงมุมด้านล่างขวาของเซลล์นั้น ๆ ซึ่ง Fill Handle นี้ มีไว้สำหรับคลิกลากเพื่อคัดลอกข้อความในเซลล์นั้น ๆ ไปยังเซลล์อื่น ๆ และเราสามารถใช้ Fill Handle ที่ว่านี้เติมข้อมูลอัตโนมัติให้เราได้ด้วย การเติมตัวเลขแบบต่อเนื่องใน Excel เราสามารถใช้ Fill Handle เติมตัวเลขแบบต่อเนื่องได้ โดยต้องมีตัวเลขตั้งต้นจำนวน 2 ค่าขึ้นไป เช่น มีตัวเลขตั้งต้นเป็นเลข 1 และ 2 และเราต้องการใช้ Fill Handle กรอกข้อมูลอัตโนมัติจนถึงเลข…

การแทรกไฟล์วีดิโอ Video ในบทความ WordPress

การแทรกไฟล์วีดิโอ Video ในบทความ WordPress

WordPress ได้จัดเตรียมบล็อกที่ชื่อว่า Video ไว้ให้เราสามารถนำไฟล์วิดีโอเข้ามาใช้งานในบทความของเราอย่างง่ายดาย อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งการตั้งค่าได้ตามต้องการอีกด้วย การแทรกวิดีโอในบทความ หากต้องการแทรก Video เข้ามาใช้งานในบทความ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ บล็อก Video จะถูกเพิ่มเข้ามาในบทความของเรา ให้เราทำการเลือกไฟล์วิดีโอมาใช้งานตามขั้นตอนดังนี้ ปล. การอัพโหลดไฟล์วิดีโอเข้ามาใช้งานในเว็บไซต์ อาจติดปัญหาเรื่องขนาดไฟล์ ต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วยนะครับ เราสามารถจัดการกับวิดีโอของเราได้เช่นเดียวกับไฟล์รูปภาพหรือไฟล์เสียง เช่น ปรับตำแหน่งชิดซ้าย ชิดขวา กึ่งกลาง และเขียนแคปชั่น นอกจากนั้นเรายังสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ในส่วน Video Settings ดังนี้

การแทรกไฟล์เสียง Audio ในบทความ WordPress

Audio เป็นบล็อกสำหรับนำไฟล์เสียงเข้ามาใช้ในบทความของเรา ทำให้เรานำไฟล์เสียงมาใช้ในบทความได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งการทำงานต่าง ๆ ได้อีก เช่น การเล่นอัตโนมัติ การเล่นวนซ้ำ เป็นต้น การแทรกไฟล์เสียงในบทความ หากต้องการนำไฟล์เสียงเข้ามาใช้ในบทความ สามารถทำได้ดังนี้ บล็อก Audio จะถูกเพิ่มเข้ามาในบทความของเรา สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงในการอัพโหลดไฟล์ Audio เข้ามาใช้งานก็คือ ขนาดไฟล์ ถ้าขนาดไฟล์ใหญ่เกินที่กำหนดไว้จะไม่สามารถอัพโหลดได้ เมื่อเลือกไฟล์ Audio เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราสามารถปรับแต่งการแสดงผลได้คล้ายกับไฟล์รูปภาพ เช่น ปรับตำแหน่งการวาง ชิดซ้าย ชิดขวา กึ่งกลาง เขียนแคปชั่น นอกจากนี้เรายังสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมให้ไฟล์ Audio ของเราได้อีกเล็กน้อย ดังนี้

การทำปุ่มดาวน์โหลดไฟล์ใน WordPress

การทำปุ่มดาวน์โหลดไฟล์ใน WordPress

การสร้างลิงค์สำหรับดาวน์โหลดไฟล์ใน WordPress สามารถทำได้ง่ายมาก เนื่องจาก WordPress ได้เตรียมบล็อกที่ชื่อว่า File ไว้ให้เราเลือกใช้งาน เราสามารถอัพโหลดไฟล์เข้ามาในระบบและสร้างปุ่มให้ผู้ใช้คลิกดาวน์โหลดไฟล์ได้ทันที การสร้างปุ่มดาวน์โหลดไฟล์ สำหรับการอัพโหลดไฟล์เข้ามาในระบบและสร้างปุ่มดาวน์โหลดไฟล์นั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ เมื่อเลือกไฟล์เรียบร้อยแล้ว ที่บล็อก File จะปรากฏชื่อไฟล์ (ตามชื่อไฟล์ต้นฉบับ) และมีปุ่มดาวน์โหลดอยู่ภายใต้ชื่อไฟล์ นอกจากนี้เรายังสามารถตั้งค่าอื่น ๆ ให้กับไฟล์ได้ ดังนี้

จัดการกับหน้าเพจ Page ใน WordPress

จัดการกับหน้าเพจ Page ใน WordPress

เมื่อต้องการจัดการกับเพจต่าง ๆ ที่เราได้สร้างไว้ สามารถทำได้โดยการใช้เมาส์คลิกที่เมนู Pages ในไซต์บาร์ด้านซ้ายมือ จะเข้าสู่หน้า All Pages ให้เราสามารถจัดการกับเพจได้ดังนี้ การสร้างเพจใหม่ เราสามารถสร้างเพจใหม่ได้ง่าย ๆ โดยการคลิกที่ปุ่ม Add New หรือเอาเมาส์ไปชี้ที่เมนู New จะมีเมนูย่อยปรากฏออกมา หลังจากนั้นคลิกที่ Page ระบบจะพาเราเข้าสู่หน้าสำหรับเขียนเพจใหม่ทันที Screen Options เราสามารถกำหนดได้ว่า จะให้โชว์คอลัมน์อะไรบ้างในตารางแสดงรายการเพจ เช่น วันที่เขียนเพจ เจ้าของ การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น โดยการทำดังนี้ การกรองเพจ ในกรณีที่เขียนเพจไว้จำนวนมาก ยากต่อการค้นหา เราสามารถกรองเพจได้ 2 วิธี คือ วิธีที่…

การสร้างหน้าเพจ Page ใน WordPress

การสร้างหน้าเพจ Page ใน WordPress

Page หรือที่เราเรียกว่า หน้าเว็บเพจ เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญในการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ซึ่งเพจหรือหน้าที่ว่านี้ มีไว้สำเสนอข้อมูลที่เป็นแบบ Static เป็นข้อมูลคงที่ เช่น หน้าเกี่ยวกับ ซึ่งอธิบายว่าเว็บไซต์ของเราเกี่ยวกับอะไร หน้าติดต่อ สำหรับเป็นแบบฟอร์มติดต่อสื่อสาร หรือแสดงข้อมูลสำหรับติดต่อ เป็นต้น ซึ่งการเขียนเนื้อหาลงไปในเพจนั้นจะเหมือนกันกับการเขียนเนื้อหาลงไปในโพสต์ทั่วไป แต่ต่างกันที่จุดประสงค์ของการนำไปใช้งานเท่านั้น สำหรับการสร้างเพจ Page ใน WordPress สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้ เมื่อเข้าสู่หน้าสร้างเพจ เราสามารถเพิ่มบล็อกประเภทต่าง ๆ เข้ามาในเพจได้เหมือนในโพสต์ ส่วนการตั้งค่าจะมีแตกต่างกันบ้าง ดังนี้ Visibility ที่แท็บ Document ในไซด์บาร์ด้านขวามือ ในส่วน Status & Visibility คลิกที่ Public ด้านหลัง…

การเขียนข้อความแบบรายการ List ใน WordPress

การเขียนข้อความแบบรายการ List ใน WordPress

ใน WordPress เราสามารถเขียนข้อความแบบรายการ List ได้ง่าย ๆ ทั้งที่เป็นรายการแบบเรียงลำดับ และรายการแบบไม่เรียงลำดับ การสร้างรายการ List แบบไม่มีเลขลำดับ (Unordered List) ใน WordPress เพียงแค่นี้เราก็จะได้บล็อกประเภทรายการ List มาใช้ในบทความ ซึ่งค่าตั้งต้น เมื่อเราเพิ่มบล็อกประเภท List เข้ามาครั้งแรก เราจะได้ List แบบไม่มีหมายเลขลำดับ (Unordered List) การสร้างรายการ List แบบมีเลขลำดับ (Ordered List) ใน WordPress หากต้องการให้ลิสต์ของเราเป็นลิสต์แบบมีเลขลำดับ สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงกดปุ่ม Convert to…

จัดการกับรูปภาพในบทความ WordPress

จัดการกับรูปภาพในบทความ WordPress

เราสามารถแทรกรูปภาพเข้ามาในบทความได้ง่าย ๆ ดังนี้ จะปรากฏบล็อกสำหรับแทรกรูปภาพเข้ามาทันที ซึ่งเราสามารถจัดการได้ดังนี้ เมื่อแทรกรูปภาพเข้ามาในบล็อกแล้ว เราสามารถย่อหรือขยายรูปภาพได้อย่างรวดเร็วด้วยการเอาเมาส์ไปชี้ที่จุดวงกลมสีฟ้าที่ปรากฏอยู่ด้านซ้าย ขวา หรือด้านล่าง ของรูปภาพ แล้วดึงออกเพื่อขยาย หรือดึงเข้าเพื่อย่อรูปภาพได้ทันที การจัดการกับรูปภาพในบทความ เมื่อได้แทรกรูปภาพเข้ามาในบทความแล้ว เราสามารถจัดการกับรูปภาพได้ดับนี้ อันดับแรกให้คลิกที่รูปภาพที่ต้องการจัดการก่อน ในส่วนของ Image Settings เราสามารถจัดการได้ดังนี้ นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดขนาดรูปภาพตามที่เราต้องการ หรือกำหนดให้แสดงผลตามเปอร์เซ็นต์ได้อีกด้วย ที่ส่วน Image Dimensions สามารถกำหนดขนาดของรูปภาพได้ดังนี้ เมื่อเราเพิ่มรูปภาพเข้ามาในบทความ เรายังสามารถเขียน Caption (คำบรรยายใต้ภาพ) ได้อีกด้วย การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรูปภาพ เมื่อเราได้แทรกรูปภาพเข้ามาในบทความแล้ว ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นภาพอื่น สามารถทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม Edit Image ที่ด้านบนของบล็อก เพื่อเข้าไปเลือกรูปภาพอื่นมาแทนรูปภาพเดิมได้ทันที การแทรกรูปภาพในแถวเดียวกับข้อความ…

การกำหนดลิงก์ Link ในบทความ WordPress

การกำหนดลิงก์ Link ในบทความ WordPress

เมื่อเราเขียนบทความใน WordPress บางทีอาจมีความจำเป็นต้องมี การกำหนดลิงก์ ไปยังบทความอื่น ๆ ในเว็บไซต์ ลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น หรือแม้กระทั่ง ลิงก์ไปยังส่วนต่าง ๆ ในหน้าเดียวกัน เราก็สามารถทำได้ง่าย ๆ การกำหนดลิงก์ ไปยังหน้าอื่นหรือเว็บไซต์อื่น เมื่อเราต้องการทำข้อความบางข้อความให้ลิงก์ไปยังหน้าอื่น ๆ หรือเว็บไซต์อื่น ๆ สามารถทำได้ดังนี้ จะปรากฏข่องให้ใส่ URL ที่ต้องการลิงก์ไป ให้ทำดังนี้ ถ้าเป็นการลิงก์ไปยังบทความในเว็บไซต์ของเราเอง สามารถระบุชื่อบทความที่ช่อง URL ได้เลย ระบบจะแสดงบทความที่มีชื่อตรงกับคำค้น ให้เราคลิกเลือกบทความที่ต้องการได้เลย สะดวกไปอีก เพียงแค่นี้เราก็จะได้ข้อความที่มีการลิงก์ไปยัง URL อื่น ๆ แล้วครับ การแก้ไข URL ถ้าต้องการแก้ไข…

การตั้งค่า Slug ให้บทความ ใน WordPress ทำให้ URL สวยงามและสื่อความหมาย

การตั้งค่า Slug ให้บทความ ใน WordPress ทำให้ URL สวยงามและสื่อความหมาย

การตั้งค่า Slug ให้กับบทความ คือการกำหนด URL ที่จะปรากฏต่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา การตั้งค่า Slug ให้สื่อความหมายย่อมได้เปรียบทางด้าน SEO ใน WordPress ถ้าเราได้ตั้งค่าลิงค์ถาวร (Permalinks) ให้เป็นแบบมีชื่อบทความ (Post Name) อยู่ในลิงค์ด้วย (ดู การตั้งค่าลิงค์ถาวร Permalinks ใน WordPress) สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการกำหนด Slug ให้สวยงาม สื่อความหมาย ซึ่งโดยปกติแล้ว WordPress จะนำชื่อบทความของเราไปตั้งเป็น Slug ให้โดยอัตโนมัติ ซึ่ง Slug ที่ว่านี้ จะถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของลิงค์ถาวร (Permalinks) การแก้ไข Slug ให้บทความ…

การจัดการกับบทความ Posts ใน WordPress

การจัดการกับบทความ Posts ใน WordPress

การจัดการกับบทความ Posts ใน WordPress สามารถทำได้ง่ายและสะดวกสบาย เพราะเวิร์ดเพรสมีระบบจัดการบทความที่ใช้งานง่าย เราจึงจัดการกับบทความได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สำรวจหน้าบทความ (Posts) เมื่อเข้าสู่หน้าบทความ (Posts) เราจะเห็นกับรายการบทความต่าง ๆ ที่เราได้เคยเขียนไว้ และสามารถเลือกจัดการกับบทความได้อย่างง่ายดาย การเขียนบทความใหม่ ถ้าต้องการเขียนบทความใหม่ สามารถทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม Add New หลังคำว่า Posts ที่มุมซ้ายด้านบนของหน้า การตั้งค่าการแสดงผลของหน้าบทความ (Posts) ถ้าต้องการตั้งค่าการแสดงผลของหน้าบทความ ว่าต้องการให้แสดงอะไรบ้าง สามารถทำได้โดยคลิกที่ Screen Options จะมีส่วนการตั้งค่าปรากฏขึ้นมาด้านบน ให้เลือกเลือกตั้งค่าได้ตามต้องการ การกรองบทความ ถ้ามีบทความเป็นจำนวนมาก เราสามารถกรองบทความให้แสดงตามที่เราต้องการได้ การค้นหาบทความ เราสามารถค้นหาบทความได้โดยการกรอกชื่อบทความที่ช่องหน้าปุ่ม Search Posts…

บล็อกประเภทต่าง ๆ ใน Gutenberg Editor อีดิเตอร์ตัวใหม่ของ WordPress

บล็อกประเภทต่าง ๆ ใน Gutenberg Editor อีดิเตอร์ตัวใหม่ของ WordPress

Gutenberg Editor คืออีดิเตอร์ตัวใหม่ของ WordPress บล็อกประเภทต่าง ๆ ใน Gutenberg Editor มีให้เลือกใช้เป็นจำนวนมาก และแต่ละบล็อกถูกสร้างมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เราโดยแท้ เมื่อ WordPress เปลี่ยนมาใช้ Editor ตัวใหม่ ที่มีชื่อว่า กูเต็นเบิร์ก Gutenberg แนวทางการเขียนบทความในเวิร์ดเพรสจึงเปลี่ยนไป ทุกอย่างจะทำผ่านบล็อกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเขียนย่อหน้า (Paragraph) การใส่หัวข้อเรื่อง (Heading) การแทรกรูปภาพ (Image) ในบทความ หรืออื่น ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี จะต้องทำผ่านการแทรกบล็อกประเภทนั้น ๆ เข้ามาในบทความทั้งสิ้น วันนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับบล็อกประเภทต่าง ๆ ที่มีให้ใช้ใน Gutenberg Editor กันครับ…

การจัดการกับบล็อกใน Gutenberg Editor อีดิเตอร์ตัวใหม่ของ WordPress

การจัดการกับบล็อกใน Gutenberg Editor อีดิเตอร์ตัวใหม่ของ WordPress

การจัดการกับบล็อกใน Gutenberg Editor อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสับสน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดใช้ WordPress ในการทำเว็บไซต์ แต่รับรองได้ว่า ใช้ไม่ยากแน่นอน ใน WordPress 5 เป็นต้นมา WordPress ได้เปลี่ยนตัวจัดการเนื้อหา Editor เป็นแบบใหม่ เรียกว่า กูเต็นเบิร์ก Gutenberg ซึ่งอาจจะใช้ยากบ้างในช่วงแรก ๆ เพราะความไม่คุ้นเคย แต่เมื่อได้ลองใช้ไปสักพัก จะเห็นได้ว่าตัว Editor ตัวใหม่นี้ก็มีความน่าใช้ และมีความสะดวกมากทีเดียว การเพิ่มบล็อกใหม่ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็แล้วแต่ในบทความของเรา เราจะต้องเพิ่มบล็อกใหม่เสมอๆ เช่น จะเขียนย่อหน้า ก็ต้องเพิ่มบล็อก Paragraph จะแทรกรูปภาพ ก็ต้องเพิ่มบล็อก Image จะทำเฮดดิ้ง (หัวเรื่อง)…

การจัดการกับตัวอักษร ในบทความ WordPress

การจัดการกับตัวอักษร ในบทความ WordPress

การจัดการกับตัวอักษร เช่น การทำตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ เป็นต้น เป็นสิ่งที่เราทำอยู่เป็นประจำ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ เมื่อเราเขียนบทความใน WordPress เราสามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรในบทความได้ เช่น ขนาดตัวอักษร ตัวหนา ตัวเอียง เป็นต้น การทำตัวอักษรเป็นตัวหนา เราสามารถทำตัวอักษรให้เป็นตัวหนาได้ง่าย ๆ ดังนี้ เพียงแค่นี้ตัวอักษรหรือข้อความที่เราเลือกก็จะเปลี่ยนเป็นตัวหนาตามที่เราต้องการ ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นตัวธรรมดาก็สามารถทำซ้ำขั้นตอนเดิมได้เลย การทำตัวอักษรเป็นตัวเอียง ถ้าต้องการทำตัวอักษรหรือข้อความให้เป็นตัวเอียง สามารถทำได้ดังนี้ เพียงเท่านี้ตัวอักษรหรือข้อความที่เราเลือกก็จะกลายเป็นตัวเอียงแล้วครับ การขีดเส้นใต้ตัวอักษร ถ้าต้องการขีดเส้นใต้ตัวอักษร สามารถทำได้ดังนี้ เพียงเท่านี้ตัวอักษรหรือข้อความที่เราเลือกก็จะถูกขีดเส้นใต้แล้วครับ การขีดทับตัวอักษร Strike through ถ้าต้องการขีดทับตัวอักษรหรือข้อความ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้งนี้ เพียงแค่นี้ตัวอักษรหรือข้อความที่เราเลือกก็จะถูกขีดทับแล้วครับ การจัดข้อความชิดซ้าย กึ่งกลาง…

Dashboard สำรวจหน้าแดชบอร์ดใน WordPress

Dashboard สำรวจหน้าแดชบอร์ดใน WordPress

Dashboard คือหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการทำงานใน WordPress ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องมาที่หน้า Dashboard นี้ก่อนเสมอ เพราะหน้านี้จะเป็นหน้าที่รวบรวมเมนูหรือส่วนทำงานต่าง ๆ ที่จะส่งเราไปจัดการกับส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ หน้า Dashboard จะประกอบไปด้วยเมนูบาร์ ซึ่งอยู่ด้านบนสุด ไซด์บาร์ (แถบเมนูทางด้านซ้ายมือของเรา) ซึ่งเป็นที่รวบรวมเมนูสำหรับการจัดการกับส่วนต่าง ๆ และด้านขวามือจะเป็นที่รวบรวมทางลัดให้เราจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เมนูบาร์ เมนูบาร์ ประกอบไปด้วยเมนูต่าง ๆ ดังนี้ ไซด์บาร์ Sidebar ไซด์บาร์ คือแถบเมนูด้านซ้ายมือของเรา ประกอบไปด้วยเมนูต่าง ๆ ดังนี้ Get Started Next Steps More Actions…

การเขียนบทความ Post ใน WordPress

การเขียนบทความ Post ใน WordPress

การเขียนบทความ หรือการสร้างเนื้อหาในเว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress ของเราสามารถนำเสนอได้ 2 ช่องทางคือ ทางเพจ (หน้าเว็บเพจ) และทางบทความ Post บทความ Post ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการทำเว็บไซต์ เพราะเป็นส่วนที่เราจะนำเสนอต่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ว่าเว็บไซต์ของเราเกี่ยวข้องกับอะไร หรือต้องการนำเสนออะไร เป็นต้น เช่น เราจะโพสต์ขายสินค้า หรือนำเสนอแนวคิด จะเผยแพร่ธรรมะ จะแจ้งข่าวสาร เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนต้องทำผ่านการเขียนบทความ Post ทั้งสิ้น เมื่อต้องการเขียนบทความใน WordPress สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ครับ ในหน้า Dashboard ให้เอาเมาส์ชี้ที่ Posts ในส่วนของไซด์บาร์ด้านซ้ายมือ จะมีเมนูย่อยปรากฏออกมา ให้คลิกที่ Add New…

การตั้งค่าเมนูภาษาไทย/อังกฤษ ใน Word, Excel, Microsoft Office

การตั้งค่าเมนูภาษาไทย/อังกฤษ ใน Word, Excel, Microsoft Office

ชุดโปรแกรม Microsoft Office เป็นโปรแกรมยอดนิยมใช้กันทั่วโลก โปรแกรมที่เราใช้งานบ่อย ๆ ในชุดโปรแกรมนี้ก็เช่น Word, Excel, Powerpoint, Access เป็นต้น ซึ่งชุดโปรแกรม Microsoft Office นี้สนับสนุนการทำงานหลายภาษา มี Language Pack ให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้หลายภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วย ดังนั้น เราจึงสามารถใช้งานชุดโปรแกรม Microsoft Office ในรูปแบบเมนูภาษาไทยได้ด้วย ซึ่งมีการตั้งค่าง่าย ๆ การเปลี่ยนเมนูชุดโปรแกรม Microsoft Office เป็นภาษาไทย เมื่อเราต้องการเปลี่ยนภาษาของเมนูในชุดโปรแกรม Microsoft Office เป็นภาษาใด ๆ ก็ตาม ให้เราทำการติดตั้งชุดภาษา Language…

จัดการกับหมวดหมู่ Category ใน WordPress

จัดการกับหมวดหมู่ Category ใน WordPress

หมวดหมู่ Category คือระบบจัดการบทความในเว็บไซต์ของเราให้เป็นระเบียบ ช่วยแยกแยะว่าบทความนั้น ๆ เป็นบทความประเภทไหน เกี่ยวข้องกับอะไร เป็นต้น ซึ่งใน WordPress เวลาเราสร้างบทความ เราต้องเลือกด้วยว่าจะให้บทความนั้น ๆ อยู่ในประเภทไหน และใน WordPress มีระบบจัดการกับหมวดหมู่ Category ที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ การจัดการกับหมวดหมู่ Category ใน WordPress ในหน้า Dashboard เมื่อต้องการจัดการกับหมวดหมู่ Category ให้นำเมาส์วางเหนือเมนู Posts จะมีเมนูย่อยเพิ่มขึ้นมา ให้คลิกที่ Categories จะเข้าสู่หน้าจัดการหมวดหมู่ ด้านซ้ายเป็นส่วนสำหรับเพิ่มหมวดหมู่ใหม่ ส่วนด้านขวาเป็นรายการหมวดหมู่ที่ได้สร้างไว้ การสร้างหมวดหมู่ใหม่ เมื่อต้องการสร้างหมวดหมู่ Category ใหม่ ให้กรอกรายละเอียดต่าง…

วิธีดาวน์โหลดและติดตั้ง WordPress

วิธีดาวน์โหลดและติดตั้ง WordPress

วิธีดาวน์โหลดและติดตั้ง WordPress เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เพียงแค่ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งของเวิร์ดเพรสมาไว้ในเซิร์ฟเวอร์และทำตามขั้นตอนอีกไม่กี่ขั้นตอนก็เป็นอันเรียบร้อย สิ่งหนึ่งที่จะต้องเตรียมก่อนการติดตั้ง WordPress ก็คือการสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของระบบ การสร้างฐานข้อมูลด้วย PhpMyAdmin การสร้างฐานจ้อมูลสามารถทำได้โดยการเข้าไปยังหน้าจัดการฐานข้อมูลของโฮสติ้งที่เราเช่าอยู่ หรือถ้าเราจำลองเซิร์ฟเวอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง เช่น ใช้โปรแกรม XAMPP (ในตัวอย่างใช้ตัวนี้) เปิดเว็บบราวเซอร์ขึ้นมาแล้วไปที่ http://localhost/phpmyadmin/ เพื่อเข้าสู่หน้า PhpMyAdmin เพื่อสร้างฐานข้อมูลต่อไป ในหน้า PhpMyAdmin ให้ทำดังนี้ เพียงแค่นี้เราก็จะได้ฐานข้อมูลเปล่า ๆ มาหนึ่งก้อน พร้อมสำหรับการติดตั้ง WordPress แล้วครับ การดาวน์โหลดและติดตั้ง WordPress ก่อนที่จะทำการติดตั้ง WordPress เราต้องไปดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้ง WordPress มาก่อน โดยให้เข้าไปที่ …

จัดการกับแท็ก Tags ใน WordPress

จัดการกับแท็ก Tags ใน WordPress

แท็ก Tag เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ค่อนข้างมีความสำคัญและมีประโยชน์กับบทความที่เราเขียนไปใน WordPress เพราะแท็กสามารถบ่งบอกได้ว่า ในบทความนั้น ๆ มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับอะไรบ้าง นอกจากนี้ เมื่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราคลิกที่แท็ก จะทำให้ผู้เยี่ยมชมได้เห็นบทความอื่น ๆ ที่มีแท็กเดียวกันนี้อยู่ ทำให้ผู้เยี่ยมชมได้อ่านบทความอื่น ๆ ในเว็บไซต์ของเรามากขึ้นอีกด้วย เป็นการโปรโมทบทความไปในตัวครับ ถ้าต้องการจัดการกับ แท็ก เช่น เพิ่มแท็กใหม่ แก้ไขแท็ก ลบแท็ก เป็นต้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ครับ ในหน้า Dashboard ให้เลื่อนเมาส์ไปชี้ที่ Posts แล้วคลิกที่ Tags แค่นี้ระบบก็จะมาเราเข้าสู่หน้าจัดการกับแท็ก ในหน้าแท็ก Tags ด้านซ้ายมือจะมีช่องอยู่ 3 ช่อง สำหรับให้เราเพิ่มแท็กใหม่เข้าไปในระบบได้…

จัดการกับไฟล์สื่อ Media ใน WordPress

จัดการกับไฟล์สื่อ Media ใน WordPress

จัดการกับไฟล์สื่อ Media ใน WordPress ให้อยู่หมด ด้วย Media Library ที่เวิร์ดเพรสจัดเตรียมไว้ให้เราจัดการกับไฟล์สื่อได้อย่างสะดวกสบาย WordPress มีระบบจัดการกับไฟล์สื่อ ที่มีประสิทธิภาพ เราสามารถนำสื่อต่าง ๆ เข้ามาใช้งานในระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ไฟล์เอกสาร ไฟล์เสียง เป็นต้น ซึ่งเราสามารถจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านหน้า Media Library เมื่ออยู่ในหน้า Dashboard ให้คลิกที่ Media หรือเอาเมาส์ไปลอยเหนือเมนู Media แล้วคลิกที่ Library ก็ได้เช่นกัน จะเข้าสู่หน้า Media Library การเพิ่มไฟล์สื่อเข้ามาในระบบ ถ้าต้องการเพิ่มไฟล์สื่อใหม่เข้ามาใช้ในระบบ…

Permalinks การตั้งค่าลิ้งค์ถาวรในเวิร์ดเพรส

Permalinks การตั้งค่าลิ้งค์ถาวรในเวิร์ดเพรส

Permalinks หรือลิงค์ถาวร คืออีกส่วนที่สำคัญมาก ๆ ในการพัฒนาเว็บไซต์ เพราะลิงค์ที่ว่านี้คือ URL ที่จะชี้ไปยังบทความหรือเพจที่เราได้เขียนไว้ การปร้บลิงค์ให้สื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกันกับเนื้อหาในบทความก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องใส่ใจด้วยเช่นกัน วิธีตั้งค่าลิ้งค์ถาวร Permalinks สำหรับการตั้งค่าลิงค์ถาวร Permalinks นั้น สามารถทำได้ดังนี้ครับ ในหน้า Dashboard ให้เอาเมาส์ไปชี้ที่ Settings แล้วจะมีเมนูย่อยปรากฏออกมา ให้คลิกที่ Permalinks จะเข้าสู่หน้าสำหรับการตั้งค่า Permalinks เราสามารถตั้งค่าได้โดยการติ๊กที่ Radio Button หน้าตัวเลือกนั้น ๆ แล้วคลิกที่ปุ่ม Save Changes ได้เลย และเราสามารถดูตัวอย่างของลิงค์ที่เราจะได้ จากตัวอย่างด้านหลังตัวเลือกนั้น ๆ ครับ ซึ่งรายละเอียดของแต่ละตัวเลือกมีดังนี้ครับ 1. Plain…